กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
ผู้สำเร็จราชการแทนกษัตริย์แห่งเครือจักรภพ เดวิด เฮอร์ลีย์ (David Hurley) ได้ลงนามออกคำสั่งให้มีการลงประชามติ (referendum) แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งออสเตรเลีย (Australian Electoral Commission) กับการลงประชามติ Voice to Parliament ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ ซึ่งการลงประชามตินับว่าเป็นภาคบังคับและกฎหมายการเลือกตั้งของออสเตรเลียไม่อนุญาตให้มีการลงคะแนนเสียงออนไลน์
หากคุณไม่สามารถไปลงประชามติที่ศูนย์เลือกตั้งได้ในวันนั้น คุณสามารถลงคะแนนทางไปรษณีย์ได้ที่ศูนย์เลือกตั้งทั่วอออสเตรเลีย
รวมทั้งศูนย์เลือกตั้งล่วงหน้าของรัฐนอร์เทิร์น เทอร์ริทอรี แทสเมเนียและเวสเทิร์น ออสเตรเลียจะเปิดตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคมเป็นต้นไป ขณะที่รัฐอื่นจะเปิดตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคมเป็นต้นไป
ในขณะนี้กลุ่มที่สนับสนุนทั้งโหวตผ่าน (yes) และไม่ให้ผ่าน (no) ได้รณรงค์หาเสียงทั่วออสเตรเลียเช่นกัน
วุฒิสมาชิกที่สนับสนุนการรณรงค์ให้โหวต โน แมตต์ คานาวาน (Matt Canavan) กล่าวว่าขณะนี้ประชากรออสเตรเลียยังไม่ได้รับข้อมูลที่ควรได้รับเพื่อตัดสินใจเลือก
“หากรัฐบาลจริงจังกับการลงประชามติที่จะมีขึ้นในอีก 5-6 สัปดาห์หน้านี้ พวกเขาควรบอกว่าแผนการณ์ที่แท้จริงคืออะไร พวกเขาปิดบังรายละเอียดไว้เพราะกลัวว่าหากประชาชนออสเตรเลียทราบถึงรายละเอียดเหล่านั้น พวกเขาจะโหวต โน”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
การลงประชามติ วอยซ์ คืออะไร? และทำไมออสเตรเลียถึงทำ?
ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม ทันย่า พลิเบอร์เซค (Tanya Plibersek) กล่าวกับแชนเนล เซเว่น (Channel 7) ว่าเธอเชื่อว่าประชากรออสเตรเลียจะโหวต เยส
“นี่เป็นวิธีประหยัดงบและจะได้ผลลัพธ์ที่ดี"
แนวคิดนี้เป็นของชนพื้นเมืองซึ่งเกิน 80% สนับสนุนเรื่องนี้ นี่ไม่ใช่คณะกรรมการที่จะยับยั้งรัฐสภา ไม่ได้จะขวางไม่ให้ดำเนินการ หรือโครงการต่างๆ
"จะเป็นคณะกรรมการที่จะให้คำแนะนำ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่กลุ่มรณรงค์ให้โหวต โน บางกลุ่มพยายามทำให้เหมือนเป็นเช่นนั้น"
นักรณรงค์ เยส ทเวนตี้ทรี (Yes23) โนเอล เพียร์สัน (Noel Pearson)กล่าวที่งานรณรงค์หาเสียงในรัฐแทสเมเนียว่ายังคงต้องทำงานต่อไปเพื่ออธิบายกับประชาชนออสเตรเลียว่าการลงประชามติ Voice to Parliament จะดำเนินการอย่างไร
“ภาระรับผิดชอบอยู่ที่กลุ่มสนับสนุนให้โหวต เยส ที่จะพูดคุยกับประชาชนออสเตรเลียเกี่ยวกับข้อกังวลและตอบคำถามต่างๆ ต้องปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความเคารพ และต้องทำเช่นนั้นในระยะเวลา 5 สัปดาห์ต่อจากนี้ ผมพบว่า เมื่อเครื่องบินผมลงที่สนามบินโฮบาร์ต ผมได้เปลี่ยนใจคนหนึ่งคนที่ยืนรอกระเป๋าโดยเพียงแค่ตอบเรื่องที่เธอกังวล โดยที่เราพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
การลงประชามติเรื่อง The Voice คืออะไรกันแน่?
ในทางกลับกันวุฒิสมาชิกจากพรรคเสรีนิยม เจมส์ แพตเทอร์สัน (James Paterson) ผู้สนับสนุนให้โหวต โน คาดว่าผลของการทำประชามติในครั้งนี้จะเฉียดฉิวกัน
“ผู้รณรงค์ให้โหวต เยส มีข้อได้เปรียบหลายประการ พวกเขาได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ทุกๆ รัฐและมณฑลในประเทศนี้ บริษัทมหาชนหลายแห่ง และผู้สนับสนุนที่สำคัญและมีอิทธิพลกับสื่อ พวกเขามีข้อได้เปรียบจากเม็ดเงินหลายสิบล้านดอลลาร์ เรารู้ดีว่าจะมีผลอย่างมากกับการหาเสียงรณรงค์ ผมกับคนอื่นๆ ที่ทำงานเพื่อรณรงค์ให้โหวต โน ไม่ได้วางใจ และเราเชื่อว่าผลจะออกมาใกล้กันมาก”
คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งออสเตรเลียแนะนำให้สมัครลงประชามติทางไปรษณีย์ หากคุณไม่สามารถเดินทางไปหน่วยเลือกตั้งได้ คุณต้องดูแลผู้ที่ไม่สามารถเดินทางได้ หรือหากคุณอยู่ห่างจากศูนย์ลงคะแนนมากกว่า 8 กิโลเมตรในวันจริง
จากนั้นต้องกรอกและปิดผนึกเอกสารลงประชามติของคุณภายในเวลา 18.00 น. ของวันลงประชามติ (14 ตุลาคม) และส่งเอกสารให้ AEC ภายในวันที่ 27 ตุลาคม
หากคุณจะไปต่างประเทศในวันลงประชามติ คุณสามารถลงประชามติได้ที่สถานทูตออสเตรเลีย สถานกงสุลและสำนักงานข้าหลวงใหญ่ที่มีอยู่ 108 แห่งทั่วโลก
การลงประชามติทางโทรศัพท์เปิดให้ผู้ที่ประสงค์จะโหวตที่อาศัยอยู่ที่ทวีปแอนตาร์กติกาและผู้ที่ตาบอดหรือมองเห็นไม่ชัด
หากคุณจะไม่อยู่ในเขตที่คุณอาศัยอยู่ประจำในวันที่ลงประชามติ คุณสามารถโหวตที่ศูนย์เลือกตั้งที่ใดก็ได้ในรัฐหรือมณฑลที่คุณอยู่ในวันนั้น คุณสามารถหาข้อมูลได้จาก
ผู้ที่ลงประชามติจะต้องเขียนเพียง 1 คำลงในบัตรลงคะแนนคือ YES หรือ NO และหย่อนลงในกล่องลงคะแนน
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ความคิดเห็นของชุมชนไทยกับการลงประชามติ Voice to Parliament