รัฐบาลกลางเตรียมจัดระเบียบแอปหาคู่ออนไลน์ให้ผู้ใช้ปลอดภัยมากขึ้น

A woman using mobile phone at night, under colorful LED lights at a pub / bar

จากสถิติล่าสุดดังกล่าวเผยว่าผู้หญิงหนึ่งในห้ารายงานว่าถูกคุกคาม และประมาณหนึ่งในแปดคนรายงานว่าพวกเขาถูกถ่ายภาพหรือคลิปโดยไม่ได้รับความยินยอมเมื่อออกเดทกับคนที่เจอในแอปหาคู่ออนไลน์ Source: Moment RF / Photographer, Basak Gurbuz Derma/Getty Images

รัฐบาลกลางเตรียมออกข้อบังคับให้บริษัทหาคู่ออนไลน์ต้องดำเนินการปฏิรูปหลักจริยธรรมทางอุตสาหกรรมเพื่อสามารถปกป้องผู้ใช้แอปพลิเคชันดังกล่าว จากการล่วงละเมิดทางเพศอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน


การวิจัยล่าสุดระบุว่า ในช่วงปี 2016 ถึงปี 2021 มีผู้คนเกือบสามในสี่ ที่ประสบปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศทางออนไลน์ จากบุคคล ที่พวกเขาพบในแอปหาคู่

ปัจจุบันแอพหาคู่เป็นวิธีที่ผู้คนใช้เพื่อเจอคู่เดทมากที่สุดในออสเตรเลีย แต่ไม่ใช่ทุกคนจะมีแต่เรื่องราวดีๆ ในการหาคู่ออนไลน์

คุณ อลิตา ไบรดอน ชาวเมลเบิร์น เปิดเผยว่า เธอเริ่มแบ่งปันประสบการณ์การออกเดตโดยผ่านแอปหาคู่ของตัวเองทางออนไลน์ เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว

"หลายปีที่ฉันออกเดตมา จะบอกว่าเจอมาสารพัดรูปแบบ ไม่ว่าแบบแย่สุด หรือ แบบขำกลิ้ง ฉันก็เลยตั้งเพจ Facebook ขึ้นมาเล่นๆ ฉันแค่อยากจะแบ่งปันประสบการณ์ของตัวเองในการออกเดต แต่พอเวลาผ่านไป ก็มีคนเริ่มออกมาแชร์ประสบการณ์ของตัวเอง แล้วเพจนี้ก็เริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ มันทำให้ฉันตระหนักว่าไม่ใช่แค่ฉันคนเดียวที่เจอเดตแย่ๆ แต่มีผู้คนมากมายที่เจอแบบเดียวกัน"

เพจที่คุณ อนิตา ตั้งขึ้นมา ชื่อว่าา Bad Dates of Melbourneและปัจจุบัน มีผู้ติดตาม 171,000 คนบน Facebook และอีก 26,000 คนบน Instagram

การออกเดทออนไลน์ปลอดภัยแค่ไหน

จากข้อมูลล่าสุดที่ยืนยันว่าการออกเดทออนไลน์ มีแนวโน้มที่อาจเกิดประสบการณ์ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ แล้วเดตที่แย่ๆ ยังจะกลายเป็นเรื่องเลวร้ายไปกว่านี้ได้อีกหรือ คุณ ไบรดอน เปิดเผยว่า

"เดทที่แย่อาจกลายเป็นเรื่องตลก ขบขัน ได้ เช่นเรื่องกลิ่นปากหรือว่า สถานการณ์ลืมกระเป๋าเงินโดยไม่ตั้งใจ แต่นี่ยังน้อย มัรนมีเรื่องเลวร้ายกว่านี้มาก ผู้หญิงที่ปัดแอพหาคู่คงรู้ดี เพราะคุณคงเคยได้รับข้อความบางประเภท หรือเคยมีประสบการณ์เลวร้ายในการออกเดต"

คุณ ไบรดอนประเมินว่าร้อยละ 20 ของเรื่องที่แฟนเพจของเธอแชร์นั้น เป็นเรื่องที่น่าตกใจ


และเรื่องราวเหล่านี้ ที่เป็นเพียงแค่น้ำจิ้มเท่านั้น เช่นเรื่องแรก

"แฟนเพจผู้นี้ เล่าประสบการณ์ออกเดตครั้งหนึ่งของเธอว่า เขาบอกให้ฉันไปพบที่บ้านเขา พอฉันบอกว่า 'ไม่ เราจะไปเจอกันที่สถานีรถไฟตามที่ตกลงกันไว้ จากนั้นเขาก็ตอบกลับมารัวๆ อีกสี่ครั้งว่า ฉันควรจะไปที่บ้านของเขา ฉันปฎิเสธ"

เรื่องที่ 2 ผู้หญิงคนหนึ่งแชร์ประสบการณ์ว่า

"ฉันเพิ่งทราบว่ามันมีการโพสต์รูปภาพส่วนตัวของฉันทางออนไลน์ พร้อมด้วยชื่อจริงของฉันด้วย ฉันไม่รู้จักกับคนที่โพสต์ภาพนั้นมาก่อน ฉับเชื่อว่าคนรู้จักของฉันเอาภาพเหล่านั้นไปโพสต์แล้วมันก็ถูกแชร์ว่อนไปหมด"

 เรื่องที่สาม

"ฉันรู้สึกกังวลตลอดเวลาและไม่กล้าออกไปไหน ฉันมีอาการตื่นตระหนกเล็กน้อยในที่ทำงาน หรือตอนไปออกกำลังกาย ไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต มันกระทบกับงานของฉัน ฉันยกเลิกนัดกับเพื่อน ๆ เป็นประจำเพราะวันนั้นเขาไม่คุยกับฉัน"

และเรื่องที่ 4

"ระหว่างที่เรานั่งดริงค์กันอยู่ เขาค่อยๆ ใช้มือมาลวนลามฉัน ฉันบอกให้เขาหยุดการกระทำประเจิดประเจ้อ เขาบอกว่าเขาหยุดไม่ได้ เมื่อเขาถามว่าฉันจะกลับบ้านยังไง ฉันบอกว่ากลับกับ Uber เขาก็ยืนกรานจะขับรถไปส่ง ฉันต้องยืนยันว่า ฉันกลับเองได้"

การวิจัยจากสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย ระบุว่ามีคนเกือบสามในสี่ ประสบปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ความก้าวร้าว หรือความรุนแรงทางออนไลน์โดยบุคคลที่พวกเขาพบผ่านแพลตฟอร์มหาคู่ออนไลน์ ในช่วงปี2015 -2021 และโดยมากเป็นผู้หญิง

รัฐบาลมีมาตรการอย่างไร

จากสถิติดังกล่าว เผยว่า ผู้หญิงหนึ่งในห้ารายงานว่าถูกคุกคาม และประมาณหนึ่งในแปดคนรายงานว่าพวกเขาถูกถ่ายภาพหรือคลิปโดยไม่ได้รับความยินยอม

ข้อมูลดังกล่าว เป็นเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการปฎิรูป กฎข้อบังคับใหม่ของอุตสาหกรรมนี้ ตามคำขอของรัฐบาล เพื่อทำให้ผู้ใช้แอปหาคู่มีความปลอดภัยมากขึ้น รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสาร มิเชล โรแลนด์ ให้สัมภาษณ์กับ ABC News ว่า

"สิ่งที่เราทำในฐานะรัฐบาลคือการรวมความคิดเห็นจากอุตสาหกรรมแอปหาคู่ กลุ่มผู้รอดชีวิต ผู้เชี่ยวชาญด้านความรุนแรงในครอบครัวและครอบครัว การบังคับใช้กฎหมาย หน่วยงานกำกับดูแล เพื่อพยายามหาวิธีที่จะแก้ปัญหานี้ รัฐบาลมีสิ่งจูงใจเพื่อให้อุตสาหกรรมนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น คณะกรรมาธิการความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ตรวจสอบรหัสแล้วและพบว่ารหัสดังกล่าวเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว"

แอปยอดนิยมอย่าง Bumble, Grindr และ Tinder and Hinge ของ Match Group ต่างก็สมัครใช้การตั้งรหัสนี้แล้ว


ซึ่งหมายความว่าพวกเขาต้องวางมาตรการเพื่อตรวจจับอันตรายทางออนไลน์ที่อาจเกิดขึ้น และสามารถดำเนินการกับผู้กระทำความผิดเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาไม่สามารถสร้างบัญชีใหม่หรือข้ามไปยังแอปอื่นได้ และมีกลไกการรายงานที่ชัดเจนเพื่อช่วยเหลือเหยื่อ พวกเขายังจำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายให้ดียิ่งขึ้น และจัดหาทรัพยากรด้านต่างๆ เพื่อที่ส่งเสริมการสนับสนุนในเรื่องนี้

รองศาสตราจารย์ ลอเรน โรสวาน จากคณะสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าวว่าบริษัทต่างๆ เลือกที่จะเข้าร่วมการปฎิรูปนี้ เพราะมีแรงกดดันด้านการแข่งขันตลาด

"พวกเขาอาจไม่ต้องสนใจก็ได้ หากมีแค่บริษัทเดียวในตลาดนี้ แต่นี่เป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง ถ้าคุณไม่เลือกเข้าร่วม ลุกค้าก็จะหันไปเลือกบริษัทอื่น"

พิมพ์เขียวของการปฏิรูปโครงการนี้ ถูกร่างขึ้นโดยความร่วมมือจากบริษัทแอพหาคู่รายใหญ่ ๆ

โฆษก Match Group กล่าวว่าพวกเขา มุ่งเป้าไปที่เครื่องมือด้านความปลอดภัย เช่น ภาพถ่ายและการยืนยันตัวตน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้กระทำผิดย้ายข้ามแพลตฟอร์ม

นอกจากนี้ยังจะมีการพิสูจน์ตัวตนโดยใช้เสียง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการแชร์หมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัวหรือโซเชียลมีเดีย

หรือ แอปรายใหญ่อีกเจ้า เช่น Bumble กล่าวว่าข้อมูลจะถูกเก็บรักษาไว้ทันทีที่มีการร้องเรียนเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินการตามคำขอทางกฎหมายจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายได้

แอปหาคู่ เป็นแพะรับบาป?

รองศาสตราจารย์โรสวาร์นกล่าวว่าแอปหาคู่กำลังกลายเป็นแพะรับบาปสำหรับปัญหาสังคมที่ไม่ได้รับการวิเคราะห์ถึงต้นตอปัยหาอย่าางจริงจัง

"เราก็ทำแบบนี้กับอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ต้น เรามักจะตำหนิว่าเป้นความผิดของอินเทอร์เน็ต แต่แท้จริงแล้วมนุษย์ต่างหากที่เป็นคนใช้ เช่นเดียวกับ การออกเดต ซึ่งแอปเปิดโอกาสให้คนที่เป็นคนไม่ดีอยู่แล้ว มีโอกาสทำสิ่งที่ไม่ดีมากขึ้นและมีเหยื่อเพิ่มมากขึ้น มันเป็นปัญหาสังคมที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะออฟไลนฺหรือออนไลน์"

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการ e-Safety จะประเมินประสิทธิภาพของการตั้งรหัสในช่วงเก้าเดือนนี้


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


 

Share