ออสเตรเลียมองแคนาดาเป็นตัวอย่างดึงแรงงานย้ายถิ่นสู่ภูมิภาค

NEWS: นายอลัน ทัดจ์ รัฐมนตรีด้านประชากร ได้แรงบันดาลใจจาก “แคนาดา โมเดล” ที่จะเพิ่มขีดความสามารถให้พื้นที่ภูมิภาคต่างๆ สามารถรับจำนวนผู้ย้ายถิ่นที่ตนเองต้องการได้

Alan Tudge during a press conference.

Alan Tudge during a press conference. Source: AAP

รัฐมนตรีผู้นี้ซึ่งที่รับผิดชอบในเรื่องจำนวนประชากรของออสเตรเลีย กำลังดูตัวอย่างจากแคนาดา เพื่อหาทางดึงดูดผู้ย้ายถิ่นไปยังพื้นที่ส่วนภูมิภาคต่างๆ มากขึ้น

นายอลัน ทัดจ์ ต้องการเจริญรอยตามความสำเร็จของแคนาดา ที่มอบหมายในพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ มีบทบาทมากขึ้นในการดึงดูดผู้ย้ายถิ่นหน้าใหม่เข้าไปตั้งรกรากในพื้นที่นั้นๆ นอกเหนือจากการเลือกอยู่อาศัยในเมืองใหญ่ทั้งหลาย
เขาเปิดเผยในการประชุมในนครซิดนีย์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า

 “ขณะนี้ ไม่มีข้อกำหนดให้ผู้ย้านถิ่นฐานใหม่ต้องอยู่ต่อในพื้นที่ที่เสนอชื่่อพวกเขาให้ได้วีซ่า แต่มีมันมีหลักฐานยืนยันว่า ผู้ย้ายถิ่นส่วนใหญ่จะยังคงอาศัยในพื้นที่นั้นต่อไป” นายอลัน ทัดจ์ กล่าว

ในช่วงใกล้การเลือกตั้งสหพันธรัฐเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  รัฐบาลได้พุ่งเป้าไปยังประเด็นของจำนวนผู้ย้ายถิ่นและสัญญาว่าจะแก้ปัญหาความแออัดตามเมืองใหญ่ต่างๆในออสเตรเลีย
Government introduce visas for migrants to move to regional Australia.
รัฐบาลส่งเสริมแรงงานแบบมีทักษะให้ย้ายไปอยู่ในเขตภูมิภาคของออสเตรเลีย Source: Mega Pixels
และด้วยเหตุนี้เองรัฐบาลได้ลดจำนวนผู้ย้ายถิ่นลงจากที่ตั้งไว้ 190,000 คน เหลือเพียง 160,000 คน  พร้อมทั้งกำหนดมาตรการที่จะเชิญชวนให้ผู้ย้ายถิ่นแบบมีทักษะแรงงาน (skilled migrants) และนักเรียนต่างชาติให้อาศัยในพื้นที่ภูมิภาคต่างๆมากขึ้น

แคนาดา โมเดล

ก่อนที่แคนาดาจะเปลี่ยนนโยบายในช่วงต้นปี 1990  มีผู้ย้ายถิ่นทักษะแรงงานเพียง 10 เปอร์เซนต์เท่านั้น ที่อาศัยอยู่นอกเมืองใหญ่  แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา อัตราของผู้ย้ายถิ่นที่อาศัยในส่วนภูมิภาคได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งสูงถึง 34 เปอร์เซนต์

เมื่อเปรียบเทียบกับออสเตรเลีย ในจำนวนผู้ย้ายถิ่น 1.4 ล้านคนที่ย้ายมาอยู่ในออสเตรเลียในระหว่างปี 2011 ถึง 2016  มีเพียง 14 เปอร์เซนต์เท่านั้นที่อาศัยอยู่นอกเมืองใหญ่

นายทัดจ์อธิบายถึงความสำเร็จของแคนาดาว่า มาจากการมีโครงการต่างๆ ที่แข็งขันในการให้การต้อนรับและสนับสนุนผู้ย้ายถิ่นให้เข้ามาอาศัยในเขตภูมิภาค พร้อมทั้งมีเครือข่ายชุมชน และให้ความช่วยเหลือเรื่องการหางานทำด้วย
นายทัดจ์ กล่าวว่า “แคนาดาเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจยิ่ง ในการที่เราจะสามารถใช้นโยบายด้านการย้ายถิ่น เพื่อกระจายการเติบโตของประชากรให้มีประสิทธิภาพมากกว่าได้อย่างไร” 

เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า

“โครงการนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้วิธีการวิเคราะห์จากล่างขึ้นบนของนโยบายการย้ายถิ่น”

นายทัดจ์ยังพิจารณาวิธีการที่ประเทศในทวีปยุโรปต่างๆ เช่น เยอรมัน และฝรั่งเศส ใช้รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อเมืองใหญ่ต่างๆ กับส่วนภูมิภาค

เขากล่าวว่าประชาชนที่อาศัยเขตภูมิภาคเหล่านั้น สามารถขึ้นรถไฟมาทำงานในเมืองทุกวันได้

ด้านรัฐบาลสหพันธรัฐต้องการเชื่อมต่อเมืองบริวารส่วนใหญ่รอบๆ เมืองใหญ่เช่น นครซิดนีย์ เมลเบิร์น และบริสเบน ให้ได้ภายใน 20 ปีนี้

ในขณะที่รูปแบบใหม่สำหรับวีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวร จะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้  ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้ย้ายถิ่นที่มีทักษะแรงงานสามารถทำงานในพื้นที่ส่วนภูมิภาคได้เป็นระยะเวลาอย่างน้อยสามปี

แม้ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้ายถิ่นจะสนับสนุนมาตรการจูงใจนี้ แต่ขณะเดียวกันพวกเขาเตือนว่าความพยายามที่ส่งเสริมให้ผู้ย้ายถิ่นไปตั้งรกรากในเขตภูมิภาคก่อนหน้านี้ล้มเหลวในระยะยาว เพราะว่าผู้ย้ายถิ่นหลายคนลงเอยด้วยการย้ายกลับมาเมืองใหญ่อีก หลังจากอยู่ครบเวลาขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในเขตภูมิภาค

Source: AAP-SBS

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can check out the full version of this story in English

Share
Published 23 September 2019 11:10pm
Updated 24 September 2019 11:28am
By SBS News
Presented by Chayada Powell
Source: SBS

Share this with family and friends