ทั้งอุปสรรคขนส่งวัคซีนล่าช้า ระบบนัดหมายติดขัด ตลอดจนข้อกังวลความปลอดภัย เมื่อเดือนที่แล้วรัฐบาลสหรัฐจึงตัดสินใจประกาศ “ปรับเปลี่ยน” ยุทธศาสตร์กระจายวัคซีนของประเทศ
ผ่านมากว่าสองเดือนหลังจากนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน เป็นหนึ่งในชาวออสเตรเลียกลุ่มแรกที่ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ปัจจุบัน
ตัวเลขนี้ต่ำกว่าแผนเดิมของรัฐบาลที่ตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ผู้ใหญ่ 4 ล้านคนภายในเดือนมีนาคม และครบทุกคน (ผู้ใหญ่ราว 20 ล้านคน ใช้วัคซีน 40 ล้านโดส) ภายในเดือนตุลาคม
กำหนดการเดิมนี้พับแผนลงหลังจากยกเลิกคำแนะนำให้ใช้วัคซีนแอสตราเซเนกากับผู้มีอายุน้อยว่า 50 ปี ซึ่งเดิมวางแผนให้วัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนหลักของออสเตรเลีย
ภายใต้แนวทางใหม่ ผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไปที่ไม่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์รับวัคซีนระยะ 1เอ สามารถรับวัคซีนได้ก่อนกำหนดเดิม เพื่อระบายสต็อกวัคซีนแอสตราเซเนกา พร้อมกับสงวนวัคซีนไฟเซอร์ที่มีไม่มากไว้สำหรับกลุ่มเสี่ยงสูงและผู้มีอายุน้อยกว่า ตั้งแต่สัปดาห์นี้ ผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไปสามารถเข้าฉีดวัคซีนได้ที่คลินิกระบบทางเดินหายใจ (GP respiratory clinics) และคลินิกฉีดวัคซีนของรัฐและมณฑล
ในวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ โครงการฉีดวัคซีนระยะ 2บี จะขยายไปยังสถานพยาบาลจีพี (GP surgeries) โดยเตรียมวัคซีนสำหรับระยะดังกล่าวไว้ 15.8 ล้านโดส นับรวมโดสสำหรับชาวออสเตรเลียจากระยะก่อนหน้าที่ยังไม่เข้ารับการฉีดวัคซีนด้วย
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
มีกี่คนแล้วที่ได้ฉีดวัคซีนโควิดในออสเตรเลีย?
นายกรัฐมนตรีมอร์ริสันกล่าวว่า ข้อเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยให้แผนกระจายวัคซีนกลับมาคืบหน้าอีกครั้ง ออสเตรเลีย “[ยอดฉีดวัคซีน]ขยับเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงสม่ำเสมอ” เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทว่า นายมอร์ริสันเลือกไม่กำหนดเป้าหมายใหม่ชัดเจน
คำถามใหญ่ที่ยังไร้คำตอบคือ เมื่อไรออสเตรเลียจะฉีดวัคซีนครบถ้วนหน้า จากข้อมูลเมื่อไม่นานมานี้ คำตอบคาดว่าอาจล่าช้าถึงเดือนเมษายน 2023
แผนภาพข้างต้นแสดงให้เห็นว่าออสเตรเลียฉีดวัคซีนได้เท่าไรแล้ว และต้องฉีดสัปดาห์ละกี่โดสถึงจะครอบคลุมผู้ใหญ่ในออสเตรเลียทั้งกว่า 20 ล้านคนครบทั้งหมด เด็กและวัยรุ่นอายุต่ำว่า 18 ปีไม่ต้องรับวัคซีนจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
วัคซีนไฟเซอร์และวัคซีนแอสตราเซเนกาที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในออสเตรเลีย ทั้งสองชนิดต้องฉีดสองโดสจึงจะมีประสิทธิผล หมายความว่าออสเตรเลียต้องฉีดวัคซีนรวมประมาณ 40 ล้านโดส
หากตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ประชากรทุกคนภายในสิ้นปี 2021 ต้องฉีดวัคซีนมากกว่า 1 ล้านโดสต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่ผ่านมาดำเนินการฉีดวัคซีนได้เพียง 370,000 โดส
กระทรวงสาธารณสุขปฏิเสธตอบคำถามที่ว่า เมื่อไรผู้มีอายุน้อยกว่า 50 ปีในออสเตรเลียจะคาดหวังวัคซีนได้
‘ใช้เวลานานมาก’
ศาสตราจารย์แมรี-ลูอีส แมกลอวส์ (Mary-Louise McLaws) หนึ่งในนักระบาดวิทยาแถวหน้าของออสเตรเลียและที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก เตือนว่าอาจใช้เวลาสองสามปีกว่าออสเตรเลียจะฉีดวัคซีนได้ครบถ้วน แม้ในช่วงแรกรัฐบาลจะคาดการณ์ในแง่ดีก็ตาม
“ถ้าเรายังดำเนินการด้วยอัตราเท่านี้ต่อไป ก็จะใช้เวลานานมาก” ศาสตราจารย์แมกลอวส์กล่าว
“ด้วยความเร็วตอนนี้ แค่กับกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป เราฉีดวัคซีนได้ประมาณ 40,000 โดส บางครั้งก็ 60,000 โดส [ต่อวัน] ดิฉันเข้าใจว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 10-12 เดือน... โดยที่ยังไม่ได้แตะกลุ่มอายุ 20-49 ปีด้วยซ้ำ”
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ประกาศทราเวลบับเบิล
แผนฉีดวัคซีนช่วงแรกของรัฐบาลครอบคลุมกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง อาทิ ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าด้านสุขภาพ การกักโรค และพรมแดน เจ้าหน้าที่และผู้อาศัยในสถานดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุ ชนพื้นเมืองออสเตรเลียอายุ 50 ปีขึ้นไป และประชาชนทั่วไปที่อายุ 70 ปีขึ้นไป
แต่เมื่อเดือนที่แล้วปรากฏว่า โดยพบว่ามีบ้านพักผู้พิการที่ได้รับวัคซีนโดสแรกแล้วไม่ถึง 100 แห่งจากกว่า 6,000 ทั่วประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลให้คำมั่นว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในช่วงหลายสัปดาห์ต่อจากนี้
ตอนนี้เป็นอย่างไร
ศาสตราจารย์แมกลอวส์มองว่า โครงวัคซีนของออสเตรเลียเผชิญปัญหาหลายประการถาโถมเข้ามาพร้อมกัน ทำให้แผนกระจายวัคซีนระดับประเทศที่เป็นภารกิจใหญ่อยู่แล้วยิ่งท้าทายขึ้นอีก
“มีหลายปัจจัยเหลือเกินที่อาจช่วยเร่งหรือล้มแผนฉีดวัคซีน” ศาสตราจารย์แมกลอวส์กล่าว
“ดิฉันไม่แปลกใจเลย[กับความล่าช้า] เพราะการดำเนินโครงการฉีดวัคซีนมวลชนต้องอาศัยประสบการณ์อย่างมาก แล้วก็ผ่านมานานมากแล้วที่เราได้เห็นเด็ก ๆ เข้าแถวรอฉีดวัคซีนโปลิโอ”
ศาสตราจารย์แมกลอวส์กล่าวว่า ยังมีวิธีที่รัฐบาลสามารถเร่งกระบวนการให้ได้ตามเป้าหมาย 100,00 โดสต่อวัน เช่น เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนมวลชนเพิ่มเติมตามสนามกีฬาขนาดใหญ่ และควรให้กองทัพช่วยสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ด้านนายกรัฐมนตรีมอร์ริสัน กล่าวชื่นชมการดำเนินการปัจจุบัน โดยบอกว่าออสเตรเลียอยู่ในระดับเดียวกันหรือนำหน้าประเทศอื่น ๆ เช่น ฝรั่งเศส แคนาดา เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์
Source: AFP
นอกจากนี้ ออสเตรเลียไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ปริมาณมากเท่าสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ช่วยให้ทั้งสองชาติดำเนินการฉีดวัคซีนได้รวดเร็วกว่า
“นั่นทำให้พวกเขาดำเนินโครงการฉีดวัคซีนขนานใหญ่ได้อย่างที่คุณเห็น แต่นั่นไม่ใช่โอกาสที่ประเทศส่วนใหญ่มี รวมถึงออสเตรเลียด้วย” นายมอร์ริสันกล่าวเมื่อเดือนที่แล้ว
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ไขคำถามคาใจว่าด้วยวัคซีนโควิด-19 ในออสเตรเลีย
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงล้มเลิกความพยายามตั้งเป้าหมายที่อาจ “โดนล้มได้ด้วยความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศ” และหันมาวางแผนมุ่งประชากรกลุ่มเสี่ยงก่อนฤดูหนาวมาถึง
“ที่ออสเตรเลียนี้ ความท้าทายของเราคือให้ออสเตรเลียเปิดต่อไปนานที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อให้การดำเนินชีวิตกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง... ขณะเดียวกันก็ปกป้องออสเตรเลียจากผลกระทบของโควิด-19 ที่อาจเข้ามาในประเทศของเราด้วย” นายมอร์ริสันกล่าว
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
กู้ยืมเงินอย่างไรให้มีความรับผิดชอบ