หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในออสเตรเลียกำลังวิตกเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมการค้ามนุษย์โดยบังคับให้เหยื่อเดินทางออกนอกประเทศ หรือที่เรียกว่า exit human trafficking ซึ่งเหยื่อถูกบังคับให้เดินทางออกจากออสเตรเลีย ผ่านการข่มขู่และหลอกลวง
กรณีแรกที่ถูกศาลตัดสินลงโทษดังกล่าว ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะในเดือนมกราคม 2021 ที่ผ่านมา เมื่อชายสัญชาติอินเดียผู้หนึ่งถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดและถูกตัดสินลงโทษจำคุก 21 เดือน จากการที่เขาส่งภรรยาและลูกสาววัย 2 เดือนจากซิดนีย์ไปยังอินเดีย โดยซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินขาเดียวให้เดินทางไป ในเดือนมีนาคม 2017
เนื้อหาสำคัญของเรื่อง
- ชายชาวอินเดียผู้หนึ่งถูกตัดสินจำคุก จากการบังคับให้ภรรยาและลูกเดินทางออกนอกออสเตรเลีย
- กรณีการค้ามนุษย์โดยบังคับให้เหยื่อเดินทางออกนอกประเทศ หรือที่เรียกว่า exit human trafficking กำลังเพิ่มขึ้น ตำรวจสหพันธรัฐเผย
- การค้ามนุษย์เป็นอาชญากรรมในทั่วทุกรัฐและมณฑลของออสเตรเลีย และมีโทษจำคุกสูงถึง 12 ปี
human trafficking เปรียบเทียบกับ exit human trafficking
human trafficking การค้ามนุษย์เกี่ยวข้องกับการนำคนเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย ขณะที่ exit human trafficking หมายถึงการส่งคนออกจากประเทศอย่างผิดกฎหมาย
ตำรวจสายสืบ นาวินเดอร์ ซิงห์ พันด์เฮอร์ (Navinder Singh Pandher) ของตำรวจสหพันธรัฐ (เอเอฟพี) บอกกับ เอสบีเอส ฮินดี ว่า การค้ามนุษย์เป็นอาชญากรรมในทุกรัฐและมณฑลของออสเตรเลีย ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุด 12 ปี
เอเอฟพี เป็นองค์กรหลักในการสืบสวนกรณีการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบและกรณีการใช้แรงงานทาสสมัยใหม่ในออสเตรเลีย
กลไกของอาชญากรรมประเภทนี้
เอเอฟพีได้สืบสวนกรณีดังกล่าว หลัง ซึ่งเป็นองค์กรไม่มุ่งหวังผลกำไรที่มีสำนักงานใหญ่ในซิดนีย์ ได้แจ้งกับเอเอฟพีเกี่ยวกับหญิงที่ตกเป็นเหยื่อในกรณีนี้
“จากนั้น หญิงคนดังกล่าวได้บอกกับตำรวจว่า ขณะนั้นเธอกลัวว่าชีวิตของเธอจะตกอยู่ในอันตราย และเธอถูกขู่ฆ่า หากไม่ยอมทำตาม” ตำรวจสายสืบ พันด์เฮอร์ กล่าว
เขากล่าวต่อไปว่า หลังจากหญิงผู้นี้ได้เดินทางออกจากออสเตรเลียไปแล้ว ชายผู้ต้องหาได้ติดต่อหน่วยงานราชการและแจ้งข้อมูลเท็จ
“เขานำข้อมูลอัตลักษณ์ส่วนบุคคลของหญิงผู้นี้ไปใช้ เพื่อพยายามถอนสถานะวีซ่าที่ถูกกฎหมายของเธอ โดยพยายามกีดขวางเธอไม่ให้เดินทางกลับมายังออสเตรเลียได้” ตำรวจสายสืบ พันด์เฮอร์ กล่าว
แต่จากนั้นสองเดือน หญิงคนดังกล่าวได้เดินทางกลับมายังออสเตรเลีย และได้ติดต่อ
ตำรวจสายสืบของเอเอฟพีได้รับวิดีโอจากกล้องวงจรปิดของสนามบิน ที่แสดงให้เห็นหญิงผู้นี้ “กำลังเป็นทุกข์อย่างเห็นได้ชัด” ขณะกำลังอุ้มทารกและโต้เถียงกับชายคนดังกล่าว ที่บริเวณสำหรับผู้โดยสารเครื่องบินขาออก ก่อนขึ้นเครื่องเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจค้นที่พักในซิดนีย์ของชายผู้ต้องหาวัย 29 ปีคนดังกล่าวในเดือนกันยายน 2017 และทำการจับกุมตัวเขาในอีกสองเดือนต่อมา ขณะที่เขาพยายามหลบหนีออกนอกประเทศ
ชายชาวอินเดียผู้หนึ่งถูกตัดสินจำคุก จากการข่มขู่และบังคับให้ภรรยาและลูกเดินทางออกนอกออสเตรเลีย Source: Supplied by the AFP
ตำรวจสายสืบ พันด์เฮอร์ กล่าวว่า เหยื่อมักประสบความยากลำบากในการแจ้งความอาชญากรรมในทำนองนี้
“ผู้ที่กำลังเอารัดเอาเปรียบพวกเขา หรือผู้ที่ลักลอบนำพวกเขาเข้าหรือออกจากประเทศ อาจเป็นญาติหรือเพื่อนสนิท ดังนั้น จึงยากลำบากที่พวกเขาจะออกมาเปิดเผยเรื่องนี้”
“เราต้องการให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่า มีทางออกให้พวกเขาสำหรับสถานการณ์ที่เลวร้ายเหล่านี้ และเราสามารถช่วยเหลือได้” ตำรวจสายสืบ พันด์เฮอร์ ย้ำ
“บุคคลนั้นอาจได้รับบาดเจ็บ บุคคลนั้นอาจต้องอยู่กับนายจ้างหรือบุคคลอื่น ที่ไม่ยอมให้พวกเขาสุงสิงกับใครได้อย่างอิสระ เหยื่ออาจไม่มีหนังสือเดินทางอยู่กับตัว หรือไม่มีเอกสารแสดงอัตลักษณ์ในรูปแบบอื่นอยู่กับตัว บุคคลนั้นอาจมีสภาพความเป็นอยู่หรือสภาพการทำงานที่เลวร้าย หรือบุคคลนั้นอาจไม่เคยได้ออกจากบ้านด้วยเหตุผลอื่นที่ไม่ใช่การทำงาน”
“บุคคลนั้นอาจมีเงินไม่มากหรือไม่มีเลย หรือไม่สามารถเข้าถึงเงินของตนได้” ตำรวจสายสืบ พันด์เฮอร์
Image
มีความช่วยเหลือให้เสมอ
ตำรวจสายสืบ พันด์เฮอร์ กล่าวว่า ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อสามารถขอรับความช่วยเหลือได้จากตำรวจสหพันธรัฐ (เอเอฟพี) ด้วยการโทรศัพท์ไปที่
“เราสามารถพยายามดำเนินคดีอาชญากรรมได้ และช่วยให้เหยื่อได้เข้าร่วม ซึ่งดำเนินการโดยกาชาดออสเตรเลีย (Australian Red Cross) ซึ่งโครงการนี้ให้ความช่วยเหลือทั้งระยะยาวและระยะสั้นแก่ผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์”
“เราต้องการให้ผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อทราบว่า เรามีเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ที่ไม่เพียงแต่ได้รับการอบรมในการสืบสวนเรื่องอ่อนไหวเหล่านี้ แต่ยังเป็นผู้ที่มีความเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ และยินดีจะคำนึงถึงความต้องการของเหยื่อเป็นอย่างแรก” ตำรวจสายสืบ พันด์เฮอร์ เผย
เขากล่าวด้วยว่า ชุมชนสามารถช่วยเหลือในเรื่องนี้ได้ด้วยการเฝ้าสังเกตสิ่งที่อาจบ่งบอกถึงกรณีเหล่านี้และแจ้งให้เอเอฟพีทราบ
แต่ตำรวจสายสืบ พันด์เฮอร์ ย้ำว่า หากมีบุคคลใดตกอยู่ในอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน ควรโทรศัพท์ติดต่อไปที่หมายเลข 000 ทันที
ประชาชนสามารถโทรศัพท์ติดต่อ ได้ที่ (03) 93451800 เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาโดยเจ้าหน้าที่จะเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ
สำหรับบริการแปลและล่ามฟรี ให้โทรศัพท์ไปที่ 131 450
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
อุปสรรควีซ่า-วัฒนธรรมฉุดรั้งผู้หญิงย้ายถิ่นฐานในความสัมพันธ์รุนแรง