พ่อครัวที่ชนะคดีนายจ้าง แต่ยังไม่ได้เงินชดเชยจนป่านนี้

พ่อครัวชาวอินเดีย 2 คน กำลังรอคอยเงินชดเชย แม้ว่าจะชนะคดีความที่ฟ้องร้องต่ออดีตนายจ้างของพวกเขา

Representative image of a chef in a restaurant.

Source: Pixabay

การกระทำอันน่ารังเกียจของการขโมยค่าจ้างนั้น ส่งผลให้พ่อครัวชาวอินเดีย 2 คน ต้องตกงาน และยังไม่ได้รับเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายอีกหลายพันดอลลาร์ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าคงไม่มีทางได้รับ แม้จะฟ้องร้องชนะอดีตนายจ้างของพวกเขาก็ตาม
นายตากูร์ และนายพาเทล ผู้ที่ไม่ต้องการเปิดเผยชื่อจริง เคยทำงานอยู่ในร้านอาหารทางตะวันออกเฉียงใต้ของนครเมลเบิร์น

เมื่อนายจ้างของพวกเขาไม่ยอมจ่ายเงินให้พวกเขาตามสิทธิ์ที่พึงได้รับ ทั้งคู่ยื่นฟ้องคดีแพ่งดำเนินคดีกับนายจ้างในศาลสหพันธ์กลาง (Federal Circuit Court)

ในเดือนสิงหาคม 2019 พวกเขาได้รับชัยชนะเล็กๆ ที่มีความหมาย เมื่อศาลมีคำตัดสินเข้าข้างพวกเขา และสั่งให้บริษัทที่เป็นเจ้าของร้านอาหารดังกล่าว จ่ายเงินให้กับนายตากูร์ กว่า 12,000 เหรียญจากค่าแรงที่ไม่ได้รับและจากสิทธิวันลาพักร้อนประจำปี และจ่ายเงินให้แก่นายพาเทลราว 7,000 เหรียญจากค่าจ้างที่ค้างจ่าย

แต่ขณะนี้ กำหนดการจ่ายเงินตามคำสั่งศาลได้ผ่านไปนานแล้ว และเมื่อเร็วๆ นี้บริษัทได้ยื่นขอชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการ  นายตากูร์ และนายพาเทลบอกว่าพวกเขารู้สึกหมดหวังที่จะได้รับเงินนั้นคืน

“พูดจริงๆ นะ ผมยอมแพ้แล้ว ตอนนี้พอผมมองย้อนกลับไป ผมน่าจะใช้เวลาและเงินที่หมดไปกับการดำเนินการในศาล มาให้กับครอบครัวของผมมากกว่า” นายพาเทล วัย 35 ปีกล่าวกับเอสบีเอส ปัญจาบี

ในขณะเดียวกัน นายตากูร์ได้ยื่นคำร้องภายใต้โครงการ Fair Entitlements Guarantee (FEG) ของรัฐบาลสหพันธรัฐ โดยเป็น “ที่พึ่งสุดท้าย” ซึ่งโครงการดังกล่าวให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ ลูกจ้างที่ไม่ได้รับการจ่ายเงินตามสิทธิ์ อันเนื่องมาจากบริษัทล้มละลาย

จากเว็บไซต์ของรัฐบาลออสเตรเลีย การร้องเรียนภายใต้ FEG โดยปกติจะใช้เวลาดำเนินการ 16 สัปดาห์ แต่อาจนานกว่านั้นในรายที่มีความซับซ้อน หรือช่วงที่มีคำร้องเข้ามาเยอะ

“พูดตามจริงแล้ว นี่คือวงจรอุบาทว์ ผมไม่คิดว่ามันจะมีประโยชน์อะไรที่จะไล่ตามเรื่องต่อ เมื่อบริษัทแจ้งขอเลิกกิจการแล้ว” นายตากูร์กล่าว
Unrecognizable people at a restaurant cooking meals
Unrecognizable people at a restaurant cooking meals and each person working on different things Source: Getty Images
จาก ระบุว่าธุรกิจด้านการให้บริการต้อนรับ (hospitality) ถือว่าเป็นธุรกิจที่ได้รับการรายงานเข้ามามากที่สุด เป็นจำนวนถึง 36 เปอร์เซ็นต์ของรายงานแบบไม่ระบุชื่อที่ได้รับ และ1 ใน 4 ของคดีความทั้งหมด

รายงานยังเปิดเผยต่ออีกว่า อัตราสูงสุดของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงานถูกพบในภาคอุตสาหกรรมร้านอาหารจานด่วน ภัตตาคารและร้านกาแฟ
Ad Astra
According to FWO's 2018-19 annual report, the highest rates of non-compliance were found in the fast food, restaurants and cafes sector. Source: Getty Images
นายกิริ สิวาระมัน หัวหน้าทนายความด้านกฎหมายการจ้างงาน จากสำนักงานทนายความ Maurice Blackburn กล่าวว่า การเอารัดเอาเปรียบ รวมไปถึงการจ่ายค่าแรงต่ำกว่ากฎหมาย และการให้ทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานอย่างอันตราย คือสิ่งที่พบบ่อย ไม่เฉพาะแต่ในธุรกิจการให้บริการต้อนรับในประเทศนี้เท่านั้น แต่การเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างนั้นระบาด “ทั่วไปหมด” นั้นค่อนข้างจะระบาดไป “ทั่วประเทศ”

เขากล่าวว่าโดยเฉพาะกลุ่มผู้อพยพย้ายถิ่นคือกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุด

“มันค่อนข้างแพร่หลาย และอย่างที่คุณทราบคือ จากหลักฐานบางส่วน ชี้ว่าแรงงานผู้อพยพย้ายถิ่นบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนต่างชาติ ได้รับค่าแรงต่ำกว่ากฎหมายกำหนด ทั่วไปหมด” นายสิวาระมันกล่าว

เขาเสริมว่า ต้องมีการลงโทษทางอาญา สำหรับการกระทำผิดประเภที่ร้ายแรงที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่มีหลักฐานชัดเจนของการยังกระทำผิดอย่างต่อเนื่อง หรือการกระทำผิดซ้ำๆ

“เหตุใดหากลูกจ้างขโมยของนายจ้าง เขาอาจติดคุกได้นานถึง 10 ปี แต่หากนายจ้างขโมยจากลูกจ้างล่ะ ไม่มีการไล่เบี้ยคืนได้เลยหรือ? ผมคิดว่านี่มันไม่ยุติธรรมเลย”
“ผมคิดว่าคนที่จงใจขโมยค่าจ้าง ควรได้รับบทลงโทษทางอาญา นั่นแตกต่างจากความไม่รู้หรือการทำพลาดโดยบริสุทธิ์ใจ” นายสิวาระมัน กล่าว
เขาแนะนำว่าแรงงานควรตระหนักถึงสิทธิของตน เก็บหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้างของพวกเขาไว้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และพยามยามทำให้มั่นใจได้ว่าพวกเขาไม่ได้รับค่าแรงเป็นเงินสด เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการถูกเอารัดเอาเปรียบในที่ทำงาน

“และสำหรับใครที่คิดว่าพวกเขาได้รับเงินต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด สามารถติดต่อ FWO และขอให้พวกเขาสอบสวนข้อร้องเรียนนั้น พวกเขาจะสามารถดำเนินการให้ได้โดยไม่คิดเงินหากพวกคิดว่าข้อร้องเรียนมีเหตุมีผล หรือคุณสามารถฟ้องร้องดำเนินดคี ได้ด้วยตนเองในศาล” นายสิวาระมันกล่าว

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถไปอ่านได้

ลูกจ้างที่วิตกเกี่ยวกับปัญหาการจ้างงาน สามารถโทรศัพท์ไปปรึกษาได้ที่สายด่วน Fair Work Infoline ที่หมายเลข 13 13 94.

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 




Share
Published 13 February 2020 5:51pm
Updated 13 February 2020 6:09pm
By Avneet Arora
Presented by Narissara Kaewvilai


Share this with family and friends