องค์กรดูแลผู้บริโภคของออสเตรเลียออกคำเตือนอย่างเร่งด่วนด้านความปลอดภัยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (4 ต.ค.) สำหรับถุงลมนิรภัยทาคาตะว่าเข้าขั้นอันตราย หลังมีคำบริษัทผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่อย่างบีเอ็มดับเบิลยู และฮอนด้า ได้มีคำเตือนออกมาเช่นกัน
“เอทริปเปิลซี (ACCC หรือคณะกรรมาธิการด้านการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย) เตือนให้ผู้บริโภคอย่าขับรถยนต์เหล่านี้เลย จนกว่ารถยนต์เหล่านี้จะได้รับการเปลี่ยนถุงลมนิรภัยให้ใหม่” องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคระบุในคำแถลงจากองค์กร
บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งรวมไปถึงบริษัทมิตซูบิชิ และโตโยต้า ได้เตือนว่ามีขณะนี้มีรถยนต์ 20,000 คันในออสเตรเลีย ที่กำลังถูกเรียกคืนเนื่องจากมีถุงลมนิรภัยทาคาตะที่บกพร่องติดตั้งอยู่ภายในรถ ซึ่งขณะนี้รถยนต์เหล่านั้นถูกระบุว่าเข้าขั้น “อันตราย”
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ออสเตรเลียบังคับเรียกคืนรถยนต์กว่า 2 ล้านคัน
เอทริปเปิลซีเสริมว่า ยังคงมีรถยนต์ในออสเตรเลีย 425,971 คันที่ยังไม่ได้รับการเปลี่ยนถุงลมนิรภัยใหม่ให้ภายใต้การเรียกคืนสินค้าแบบภาคบังคับครั้งนี้
ในแถลงการณ์ นางดีเลีย ริคคาร์ด รองประธานเอทริปเปิลซี กล่าวว่า “การระเบิดของถุงลมนิรภัยทาคาตะอาจส่งผลให้มีการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บร้ายแรง หรือแม้แต่ก่อให้เกิดรถยนต์ชนกันได้”
“ไม่ควรขับขี่รถยนต์ที่มีถุงลมนิรภัยซึ่งถูกระบุว่าอยู่ในขั้นอันตราย (Critical) ติดตั้งอยู่” นางริคคาร์ด ย้ำ
“ภายใต้การเรียกคืนสินค้าอย่างเร่งด่วนครั้งนี้ ผู้ขับขี่มีสิทธิขอให้ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์จัดการลากรถยนต์เหล่านั้นไปรับการเปลี่ยนถุงลมนิรภัยให้ใหม่ได้ฟรี ผู้ขับขี่อาจมีสิทธิใช้รถสำรองระหว่างที่มีการเปลี่ยนถุงลมนิรภัยได้”
“เราขอให้ผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคนตรวจสอบดูว่ารถยนต์ของตนได้รับผลกระทบหรือไม่ แม้ว่าพวกเขาจะเคยตรวจสอบไปแล้วก่อนหน้านี้ก็ตาม และขอให้ดำเนินการให้มีการเปลี่ยนถุงลมนิรภัยในรถทันที”
จากข้อมูลของเอทริปเปิลซี ของวันที่ 31 สิงหาคม มีการเปลี่ยนถุงลมนิรภัยไปแล้ว 3.36 ล้านถุง (ร้อยละ 82.4 ของจำนวนถุงลมนิรภัยทาคาตะที่บกพร่องทั้งหมด) ในรถยนต์ 2.41 ล้านคน (ในรถบางคันมีถุงลมทั้งสำหรับคนขับและผู้โดยสาร)
Source: AAP-SBS
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
เห็ดราที่มีพิษที่สุดในโลกพันธุ์หนึ่งถูกพบในออสเตรเลีย