ออสเตรเลียบังคับเรียกคืนรถยนต์กว่า 2 ล้านคัน

This aerial photo shows Japanese airbag maker Takata Corp.'s Echigawa Plant in Aisho Town, Shiga prefecture on June 26, 2017. Takata files for bankruptcy protection under Japan's civil rehabilitation law.( The Yomiuri Shimbun via AP Images )

This aerial photo shows Japanese airbag maker Takata Corp.s Echigawa Plant in Aisho Town. Source: AAP

รัฐบาลสหพันธรัฐประกาศ การบังคับเรียกคืนรถยนต์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย สำหรับรถยนต์กว่า 2 ล้านคันทั่วประเทศ ที่มีถุงลมนิรภัย Takata ซึ่งเสี่ยงก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ติดตั้งอยู่ในรถ


มีรถยนต์ 4 ล้านคันในออสเตรเลีย ที่ได้รับผลกระทบจากการเรียกคืนรถยนต์ ที่มีถุงลมนิรภัยทาคาตะ ที่อาจมีความบกพร่อง ติดตั้งอยู่ในรถ ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนรถยนต์จำนวน 2 ใน 7 คัน ในออสเตรเลีย

ความบกพร่องดังกล่าวสามารถทำให้ถุงลมนิรภัยระเบิด และมีสะเก็ดกระเด็นออกไปทำอันตรายแก่คนขับและผู้โดยสารได้

ความบกพร่องของถุงลมนิรภัยทาคาตะนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 23 รายทั่วโลก รวมทั้งรายหนึ่งในออสเตรเลีย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน

หลังจากรัฐบาลได้ประกาศเรียกคืนรถยนต์ตามความสมัครใจเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่ได้รับความร่วมมือดีเท่าที่ควร และเมื่อได้รับคำแนะนำถึงความรุนแรงของเรื่องนี้อย่างเป็นทางการจากองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ACCC รัฐบาลสหพันธรัฐจึงได้ออกคำสั่งเรียกคืนรถยนต์ แบบภาคบังคับในครั้งนี้

นายไมเคิล ซุกคา รัฐมนตรีช่วยด้านการคลัง บอกกับผู้สื่อข่าวว่า นี่เป็นมาตรการที่จำเป็น

“เราเชื่อว่ามาตรการที่เราใช้ในวันนี้ ได้ลดความเสี่ยงการเกิดความเสียหายในวงกว้าง การเรียกคืนถุงลมนิรภัยในรถยนต์ 2.3 ล้านคัน และให้เปลี่ยนถุงลมนิรภัยให้ใหม่ภายในระยะเวลาที่เรากำหนดนั้น แม้จะดูท้าทายไปสักหน่อย แต่เราคิดสามารถทำสำเร็จได้” นายซุกคา ระบุ

รถยนต์ที่เคยอยู่ในรายชื่อรถยนต์ที่ถูกเรียกคืนตามความสมัครใจเพื่อเปลี่ยนถุงลมนิรภัยใหม่ และมาคราวนี้ถูกเรียกคืนแบบภาคบังคับได้แก่ Toyota, Mazda, Honda, BMW, Chrysler, Lexus, Mitsubishi, Nissan, Subaru

ส่วนรถยนต์ที่ไม่เคยอยู่ในรายชื่อการเรียกคืนตามความสมัครใจ และคราวนี้จะรวมอยู่ในรายชื่อที่ต้องเรียกคืนมาเปลี่ยนถุงลมนิรภัยแบบภาคบังคับได้แก่ Ford, GM Holden, Mercedes Benz, Tesla, Jaguar, Land Rover, Volkswagen, Audi และ Skoda

รวมทั้งหมดแล้ว มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 25 บริษัท ที่ได้รับผลกระทบ

นายปีเตอร์ คอยรี จากสมาคมถนนและผู้ขับรถยนต์แห่งชาติ กล่าวว่า เจ้าของรถยนต์ควรติดต่อไปยังบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ด้วยตนเอง

“ขอให้จัดการเชิงรุกด้วยการโทรศัพท์ไปหาบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของคุณเพื่อตรวจสอบดู นี่เป็นปัญหาด้านความปลอดภัยร้ายแรงอย่างหนึ่งสำหรับการเรียกคืนรถยนต์ ซึ่งเราอยากกระตุ้นให้ประชาชนอย่าเพิกเฉย และให้จองช่วงเวลาที่จะนำรถยนต์ของคุณไปยังบริษัทรถโดยด่วน” นายคอยรี แนะนำ

การประกาศเรียกคืนครั้งนี้นั้นจะทะยอยประกาศทีละระลอก โดยตัดสินจากระดับความเร่งด่วน

รถยนต์ที่เก่ากว่า 6 ปี มีความเสี่ยงสูงกว่า เช่นเดียวกับรถยนต์ของผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนและชื้น เช่นใน Northern Territory และในพื้นที่ทางเหนือสุดของรัฐควีนสแลนด์ ส่วนที่ตั้งถุงลมนิรภัยภายในรถเป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน

นายรอด ซิมส์ ประธานของ ACCC กล่าวว่า รถยนต์ที่มีถุงลมนิรภัยทาคาตะ รุ่นอัลฟา (Alpha) ติดตั้งอยู่นั้น มีความเสี่ยงอันตรายมากที่สุด

“พวกนั้นเป็นส่วนน้อย แต่สำคัญยิ่งที่จะต้องนำถุงลมนิรภัยเหล่านั้นออกไปเสีย และหากใครมีถุงลมนิรภัยอัลฟา ให้หยุดขับรถยนต์คันดังกล่าวทันที เพราะมีโอกาสถึง 1 ใน 2 ทีเดียว ที่ถุงลมนิรภัยที่มีความบกพร่องเหล่านั้นอาจระเบิดขึ้นมาได้” นายซิมส์ ประธาน ACCC ย้ำ

ถุงลมนิรภัยที่บกพร่องเหล่านั้นทั้งหมด จะต้องถูกเปลี่ยนใหม่ภายในเดือนธันวาคม ปี 2020 โดยที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะต้องเป็นผู้แบกรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากการเรียกคืนรถยนต์ครั้งนี้

หากรถยนต์ที่มีถุงลมนิรภัยที่บกพร่องติดตั้งอยู่ และไม่สามารถได้รับการเปลี่ยนถุงลมใหม่ให้ได้ ภายในเวลา 24 ชั่วโมงที่นำรถไปยังบริษัทผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย เจ้าของรถมีสิทธิได้รับรถเช่าให้ไปใช้ในระหว่างนั้น

ทั้งสหรัฐและประเทศเอเชียต่างออกมาตรการเช่นเดียวกันนี้ โดยมีการเรียกคืนรถยนต์กว่า 100 ล้านคัน ทั่วโลก

คุณสามารถตรวจสอบดูว่ารถยนต์ของคุณถูกเรียกคืนหรือไม่ ให้โทรศัพท์ไปสอบถามยังบริษัทผู้ผลิตและตัวจำหน่ายรถยนต์ของคุณ จะได้ข้อมูลที่แน่ชัดที่สุด แต่สำหรับข้อมูลเบื้องต้น สามารถไปค้นหาได้ที่เว็บไซต์ของ

Share