ออสเตรเลียให้สัญญาต่อเงินจำนวน $80 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ($55 ดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อต่อสู้กับการค้ามนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้คำมั่นที่จะแก้ไขปัญหา “ทาสยุคใหม่” ที่เป็นกับดักผู้คนซึ่งมีความเปราะบางในภูมิภาค ตั้งแต่ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างต่ำ เจ้าสาวอายุน้อย และผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
รัฐมนตรีกิจการต่างประเทศของออสเตรเลีย นางมารีส เพย์น กล่าวในการประชุมอาเซียน (ASEAN, Association of Southeast Asian Nations) ที่กรุงเทพมหานคร ว่าเงินก้อนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระยะเวลา 10 ปีอันจะรวมไปถึงการอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้พิพากษา เพื่อเจาะลึกเข้าไปถึงเครือข่ายของอาชญากรเธอกล่าวว่า “แนวคิดริเริ่มดังกล่าวยังจะช่วยสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนร่วมกันระดับนานาชาติเพื่อนำตัวผู้ตกเป็นเหยื่อออกมา และพยายามเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ค้ามนุษย์นั้นถูกตั้งข้อหา”
Australia's Foreign Minister Marise Payne greets Vietnam's Foreign Minister Pham Binh Minh and Thailand's Minister of Foreign Affairs Don Pramudwinai. Source: AAP
ความต้องการแรงงานราคาถูกที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมประมงและก่อสร้าง ได้กระตุ้นให้เกิดเครือข่ายการค้ามนุษย์ขึ้นทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อันมีพรมแดนที่ทะลุถึงกันซึ่งทำให้การเคลื่อนย้ายของผู้คนเป็นไปได้โดยสะดวก
ความต้องการเจ้าสาวชาวภูมิภาคริมแม่น้ำโขงโดยประเทศจีนได้เร่งให้เกิดการค้าหญิงอายุน้อยอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งก็เกี่ยวเนื่องไปถึงนโยบายที่ยาวนานหลายทศวรรษเรื่องการให้มีบุตรชคนเดียวของจีนและความต้องการที่จะมีบุตรชายมากกว่า
นางเพย์นกล่าวเสริมว่า “มีปัจจัยที่ฝังรากลึกหลายปัจจัย ที่เอื้อต่ออาชญากรรมข้ามชาติ ตั้งแต่การทุจริตไปจนถึงสถานภาพของเด็กๆ และกลุ่มคนซึ่งเปราะบางอื่นๆ ผู้ขาดความเท่าเทียม”
การจองล้างจองผลาญชาวมุสลิมโรฮิงญาในแคว้นยะไข่ของเมียนมาร์ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ก็ยังก่อให้เกิดเครือข่ายใหม่ๆ ที่เป็นอันตรายเพิ่มมากขึ้น
มีชาวมุสลิมโรฮิงญาไร้สัญชาติจำนวนประมาณ 740,000 คนที่หลบหนีไปยังประเทศบังกลาเทศ หลังเกิดการจู่โจมโดยทหารเมื่อปี ค.ศ. 2017 ทว่าอีกจำนวนมากก็อยู่อาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยอันทุรกันดาร โดยหวังจะเดินทางไปยังประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเพื่อหางานทำ แต่ในประเทศเหล่านั้นพวกเขาก็เสี่ยงต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบ
เมื่อปี ค.ศ. 2015 ได้มีการเปิดโปงการค้ามนุษย์ซึ่งซับซ้อนและมีผลประโยชน์ดึงดูดใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อประเทศไทยได้ยับยั้งเส้นทางค้ามนุษย์ชาวมุสลิมโรฮิงญาออกจากประเทศเมียนมาร์ ซึ่งมีผลประโยชน์นับล้านดอลลาร์
เมื่อมีการพบหลุมฝังศพผู้ย้ายถิ่นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เส้นทางค้ามนุษย์ดังกล่าวจึงถูกค้นพบ
วิดิโอ: 20 มี.ค. ที่เมียนมาร์: ผู้หญิงและเด็กหญิงถูกขายเพื่อเป็น ‘เจ้าสาว’ที่ประเทศจีน
เมื่อวานนี้ (1 ส.ค.) นางเพย์นได้ชี้ไปถึงชะตากรรมของชาวโรฮิงญา
โดยเธอกล่าวว่า “เรารู้สึกวิตกกังวลต่อสถานการณ์ในรัฐยะไข่ เราผูกมัดที่จะทำงานร่วมกับเมียนมาร์ กับบังกลาเทศ กับกลุ่มประเทศอาเซียน และภาคีอื่นๆ เพื่อมุ่งสู่หนทางแก้ปัญหาระยะยาวที่ยั่งยืน”
นายจอห์น ควินลีย์ จากองค์กรฟอร์ติฟายไรตส์ (Fortify Rights) ซึ่งบันทึกการค้ามนุษย์ในภูมิภาคดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้เรียกร้องต่อประเทศสมาชิกอาเซียนให้เพิ่มความร่วมมือกันเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด
เขากล่าวว่า “การค้ามนุษย์เป็นอาชญากรรมข้ามชาติซึ่งก็จำเป็นต้องมีหนทางแก้ไขข้ามชาติ”
หากอ้างอิงจากดัชนีทาสทั่วโลก (Global Slavery Index) คาดว่ามีคนจำนวน 25 ล้านคนที่ติดอยู่ในระบบทาสยุคใหม่ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2016
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
Settlement Guide: วิธีสอนเด็กให้ปลอดภัยในโลกออนไลน์