รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ในเดือนหน้า คาดว่าชาวมุสลิมจำนวนกว่าสองล้านคนจากทั่วโลกจะเดินทางไปยังนครมักกะฮ์และนครมะดีนะฮ์ ในช่วงพิธีแสวงบุญฮัจญ์ประจำปี
แต่ก็มีชาวมุสลิมจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงผู้ซึ่งอยู่อาศัยในประเทศออสเตรเลีย ที่หันหลังให้กับสิ่งซึ่งเรียกว่าเป็นหนึ่งในเสาหลักของศาสนาอิสลาม และเรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรพิธีดังกล่าว
นายฟาราซ ระห์มาน ผู้ผลิตภาพยนตร์จากนครซิดนีย์กล่าวว่า การไปพิธีฮัจญ์ในขณะนี้นั้นถือว่าเป็นความไม่รับผิดชอบในแง่ศีลธรรม
“การไปพิธีฮัจญ์ก็จะเป็นการให้การสนับสนุนทางการเงินกับรัฐบาลซาอุดิฯ ซึ่งขณะนี้กำลังก่อวินาศกรรมอย่างใหญ่หลวงในประเทศเยเมนต่อชาวมุสลิมด้วยกันเอง ซึ่งนี่ไม่ใช่สิ่งที่พิธีฮัจญ์เป็นตัวแทน” นายระห์มานวัย 31 ปี กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์หลายคนมองว่า สำหรับผู้ซึ่งไม่มีความพิการและมีเงินเพียงพอที่จะไปได้ การไปร่วมพิธีฮัจญ์อย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำตามหลักศาสนา
Sydney man Faraaz Rahman won't be going to the Hajj this year. Source: SBS News
ทว่าเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา แกรนด์มัฟติแห่งนิกายซุนนีย์ผู้เป็นที่รู้จักกันดีจากประเทศลิเบีย ซาดิค อัล-การาวานี ได้เรียกร้องชาวมุสลิมทั่วโลกให้คว่ำบาตรการแสวงบุญพิธีฮัจญ์ เนื่องจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยซาอุดิอาระเบีย เขาเป็นหนึ่งในเหล่าผู้นำซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของชาวมุสลิมนิกายซุนนีย์ ที่ได้ออกมาเรียกร้องให้มีการคว่ำบาตร โดยนอกจากเขาแล้วก็ยังมีคนอื่นๆ อีก
แฮชแทกบอยคอตฮัจญ์ #BoycottHajj ทางโซเชียลมีเดีย ได้ขึ้นเป็นที่นิยมติดเทรนด์ของทวิตเตอร์ในหลายประเทศที่มีชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่
“ก่อนหน้านี้ก็อาจมีแค่กลุ่มชายขอบย่อยๆ ตรงนั้นทีตรงนี้ที โดยไม่มีกระแสผลักดัน... แต่ว่าในตอนนี้เหล่าผู้นำที่โด่งดังก็เรียกร้องในเรื่องดังกล่าว[การคว่ำบาตร]” ผมหวังว่ามันจะนำไปสู่การที่เจ้าหน้าที่ทางศาสนาต่างๆ นั้นเห็นพ้องและเรียกร้องในลักษณะเดียวกัน” นายระห์มานกล่าวชาวมุสลิมจากนครเมลเบิร์นผู้ไม่ประสงค์จะออกนามอีกคนหนึ่งกล่าวว่า แม้การเรียกร้องให้คว่ำบาตรพิธีฮัจญ์นั้นจะดูสุดโต่ง แต่มันก็เป็นเรื่องจำเป็น
(Source: Twitter) Source: Twitter
(Source: Twitter) Source: Twitter
“ผมเชื่อว่าไม่มีทางเลือกอื่นเหลืออีกแล้วสำหรับชาวมุสลิมทั่วโลก นอกเสียจากจะคว่ำบาตรซาอุดิอาระเบีย เพื่อส่งสารว่าความบ้าคลั่ง[ในเยเมน]นั้นควรจะยุติลง” เขากล่าว
“หากมีเม็ดเงินไหลเข้าสู่เศรษฐกิจของซาอุดิฯ และเงินนั้นถูกใช้เพื่อกระทำให้เกิดความทุกข์ยากอย่างต่อเนื่องกับประชาชนชาวเยเมนแล้วล่ะก็ ผู้ซึ่งมีพันธะผูกพันด้านศีลธรรม (และ)ศาสนา จำเป็นจะต้องยืนหยัดขึ้น” เขากล่าว
“ทั่วทั้งโลกมีความรับผิดชอบที่จะต้องยืนหยัดขึ้น โดยเฉพาะชาวมุสลิม” เขากล่าวเสริม
การตอบโต้จากทั่วโลก
ซาอุดิอาระเบียเป็นผู้นำกองกำลังกลุ่มประเทศพันธมิตรซึ่งเข้าร่วมกับสงครามกลางเมืองในประเทศเยเมน โดยสหประชาชาติได้อธิบายถึงวิกฤตด้านมนุษยธรรมในเยเมนว่าเลวร้ายที่สุดในโลก
ห้ากอ้างอิงจากสหประชาชาติ มีชาวเยเมนจำนวน 3.2 ล้านคน รวมถึงเด็กๆ ด้วยจำนวนสองล้านคน ที่ต้องการการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วนเนื่องจากมีภาวะขาดอาหารเฉียบพลันจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวอานิ ซอนเนอเวลด์ เป็นประธานขององค์กรชาวมุสลิมเพื่อค่านิยมหัวก้าวหน้า (Muslims for Progressive Values)ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกาโดยมีสมาชิกประมาณ 10,000 คน เธอกล่าวว่าทางองค์กรนั้นสนับสนุนให้ชาวมุสลิมร่วมคว่ำบาตร
ชาวมุสลิมผู้มาสักการะที่มัสยิด Grand Mosque ในนครมักกะฮ์อันศักดิ์สิทธิ์ของประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อปี ค.ศ. 2017 (Image source: AFP) Source: BANDAR ALDANDANI/AFP/Getty Images
“สำหรับชาวมุสลิมนั้น การไปร่วมพิธีฮัจญ์ เป็นการชำระล้างจิตใจและเชื่อมโยงสู่พระผู้เป็นเจ้าอีกครั้ง (แต่)หากทำเช่นนั้นพวกเขาก็จะทำการสนับสนุนรัฐบาลซึ่งทำแต่การกดขี่และก่อให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงที่เยเมน มันยากมากที่จะทำใจได้” เธอกล่าว
มุมมองที่แตกต่าง
รองประธานสภาอิสลามแห่งรัฐวิกตอเรีย (The Islamic Council of Victoria) นายอเดล ซาลมาน กล่าวว่าเขาเข้าใจว่าทำไมชาวมุสลิมจำนวนมากจึงเรียกร้องให้มีการคว่ำบาตร แต่โดยส่วนตัวแล้วเขาไม่สนับสนุนในเรื่องนี้
“มันสามารถเข้าใจได้ไม่ยากว่าผู้คนนั้นมีความรู้สึกที่รุนแรง และก็เข้าใจได้ไม่ยากว่าผู้คนต้องการให้ซาอุดิอาระเบียมีความรับผิดชอบต่อความทุกข์ยากและอาชญากรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศนั้น[เยเมน]” เขากล่าว
“การทำพิธีฮัจญ์ ก็ชัดเจนว่าคุณจำเป็นจะต้องไปเยือนซาอุดิอาระเบีย (เพื่อที่)จะไปยังสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งก็ชัดเจนว่านั่นหมายความว่าคุณจะไปใช้จ่ายเงินในซาอุดิอาระเบีย”
“แต่ชาวมุสลิมเกือบทั้งหมดก็มองว่ามันเป็นการทำตามหน้าที่ทางศาสนาให้ครบถ้วน และพวกเขาก็สามารถแยกแยะประเด็นต่างๆ ออกจากเรื่องการเมืองของรัฐบาลซาอุดิฯ ได้”
(Source: Twitter) Source: Twitter
คุณระห์มานกล่าวว่า เขาไม่ได้ตัดสินใจไปแล้วว่าจะไม่ไปร่วมพิธีฮัจญ์อีกในอนาคต ถ้าหากสิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปในเยเมนและซาอุดิอาระเบีย แต่มันไม่เหมาะสมที่จะไปในตอนนี้
“มีเรื่องของจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องเกี่ยวกับเสาหลักต่างๆ ของศาสนาอิสลาม พิธีฮัจญ์นั้นมีขึ้นเพื่อบ่มเพาะภราดรภาพและการแบ่งปันความเป็นมนุษย์ให้กันและกัน” เขากล่าว
“ในตอนนี้ รัฐบาลซาอุดิฯ กำลังมีส่วนร่วมกับโศกนาตกรรมที่มนุษย์ก่อขึ้นในเยเมน เมื่อคุณพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ คุณก็จำเป็นต้องถามว่า แล้วพิธีฮัจญ์นั้นมีข้อผู้มัดทางจริยธรรมด้วยหรือไม่”
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
ชายวัยเกษียณพบทองคำก้อนหนัก 2 กก.ใกล้บัลลาแรต