วันสตรีสากล ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี และมีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศทั่วโลก ด้วยเป็นวันที่ผู้หญิงทุกคนได้รับการยอมรับในบทบาทและความสำเร็จของพวกเธอ
นับตั้งแต่มีการกำหนดวันสตรีสากลขึ้นเป็นครั้งแรก วันสำคัญนี้ได้เติบโตขึ้นอย่างโดดเด่น การยอมรับบทบาทและสิทธิสตรีได้แพร่หลายเข้าถึงผู้หญิงทั่วทุกมุมโลก การเคลื่อนไหวของสตรีสากลที่เพิ่มขึ้นช่วยให้วันสตรีสากลเป็นจุดศูนย์กลางในการดำเนินการ เพื่อสร้างการสนับสนุนสิทธิสตรีและการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในทุกๆ ด้าน
ปีนี้ เอสบีเอส ไทย ได้มีโอกาสพูดคุยกับสตรีไทย ที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในจำนวนหญิงแกร่งที่มาใช้ชีวิตในออสเตรเลีย มีสิทธิ มีบทบาทและทำหน้าสตรีได้อย่างน่าชื่นชม
คุณ ชลพร เอ้งฉ้วน Source: Supplied / Chonlaporn Aengchuan
ชลพร เอ้งฉ้วน (Chonlaporn Aengchuan) หรือคุณเดียร์
“บริษัทหลายๆ บริษัทได้ออกนโยบายเพื่อให้มีปริมาณผู้หญิงและคนต่างเชื้อชาติในที่ทำงานมากขึ้น แต่นโยบายนี้ก็เหมือนกับดาบสองคม บางครั้งนโยบายนี้ก็ทำให้ผู้หญิงถูกมองว่า ได้รับตำแหน่งมาอย่างง่ายดาย เพียงเพราะเธอเป็นผู้หญิง โดยที่ไม่ได้ดูเลยว่าจริงๆ แล้วเธอมีความสามารถด้านนั้นจริงๆ หรือเปล่า คำกล่าวพวกนี้บางครั้งก็บั่นทอนจิตใจของผู้หญิงที่ตั้งใจทำงาน เดียร์จึงขอให้ข้อคิดแก่ผู้หญิงว่า ให้ตั้งใจทำงานของเราให้ออกมาดีที่สุด วันเวลาก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์ผลงานของเราเอง”
เมื่อเราเห็นคุณค่าของตัวเอง เราก็จะเชื่อมั่นและมั่นใจที่จะเรียกร้องสิทธิที่เราควรมีชลพร เอ้งฉ้วน
“เราต้องเห็นคุณค่าของตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อเราเห็นคุณค่าของตัวเอง เราก็จะมีความเชื่อมั่นและมั่นใจที่จะเรียกร้องสิทธิที่เราควรจะมี และสิทธิที่เราควรจะได้รับ ในทุกๆ ที่ที่เราอยู่ ขอเป็นกำลังใจให้ผู้หญิงไทยทุกคนค่ะ”
คุณ กัลยา เวครี่ย์ Source: Supplied / Kanlaya Wakeley
เราไม่ต้องแบ่งแยกว่าผู้ชายต้องทำงานนอกบ้าน และผู้หญิงต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูก เหมือนสมัยก่อนอีกต่อไป แต่เปลี่ยนเป็นการให้สิทธิ์ซึ่งกันและกันกัลยา เวครี่ย์
กัลยา เวครี่ย์ (Kanlaya Wakeley) หรือคุณเล็ก
“ในมุมมองโดยรวมของเล็ก ผู้หญิงไทยมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้หญิงและผู้ชายออสเตรเลีย ทั้งในด้านความคิดและการกระทำทั้งในบ้านและนอกบ้าน ในเรื่องของการทำงานนอกบ้าน เราก็มีสิทธิ์ที่จะแสดงความสามารถและแสดงความคิดเห็นในที่ทำงาน หรือในบ้านที่เราเป็นภรรยาและคุณแม่ของลูก เราก็มีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็นกับคู่ครองของเราว่า เราจะจัดการวางแผนให้ครอบครัวออกมาในรูปใด โดยที่เราไม่ต้องแบ่งแยกว่าผู้ชายต้องทำงานนอกบ้าน และผู้หญิงต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูกเหมือนสมัยก่อนอีกต่อไป แต่เปลี่ยนเป็นการให้สิทธิ์ซึ่งกันและกัน และคอยสนับสนุนกันในทุกๆ ด้าน”
คุณ ชาภา ธนรัตนาบดี Source: Supplied / Shapa Thanarattanabodee
หากมีใครละเมิดสิทธิ์เรา เราต้องช่วยกันตรวจสอบ ร้องเรียนแก้ไข ปรับปรุง เพื่อให้สังคมดีขึ้นชาภา ธนรัตนาบดี
ชาภา ธนรัตนาบดี (Shapa Thanarattanabodee) หรือคุณเปิ้ล
“ทุกคนที่เป็นผู้หญิงหรือว่าเพศใดก็ตาม อยากให้ทุกคนเชื่อมั่น มั่นใจ เเละอยากให้ทุกคนคิดเสมอว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนเราก็มีสิทธิ์ สิทธิ์ของเรา สิทธิ์ของผู้หญิง สิทธิ์ของสตรี สิทธิ์ของทุกเพศ มีความเท่าเทียมกัน จงใช้สิทธิ์ของเราบนพื้นฐาน ของความถูกต้อง ตามกฎกติกามารยาท ไม่ละเมิดสิทธิ์ใคร หากมีใครละเมิดสิทธิ์เรา เราต้องช่วยกันตรวจสอบ ร้องเรียนแก้ไข ปรับปรุงเพื่อให้สังคมดีขึ้น สิทธิ์ของผู้หญิงเรามีมากกว่าแค่ความเป็นแม่ ความเป็นน้องสาวความเป็นพี่สาวเราสามารถ เราสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้หลายอย่าง ทำอะไรได้หลายอย่าง ถ้าเราร่วมมือกัน เราก็จะเห็น power (พลัง) ของผู้หญิงจากสิทธิสตรีของเรานี่ล่ะค่ะ”
ฟังสัมภาษณ์เต็มๆ ได้ที่นี่
กด ▶ เพื่อฟังสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
ผู้หญิงไทยคิดอย่างไรต่อสิทธิสตรีในออสเตรเลีย
SBS Thai
08/03/202316:06
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ช่องว่างไม่ลด ผู้หญิงในออสฯ รายได้น้อยกว่าผู้ชาย $2.6 หมื่น