เร่งประชาสัมพันธ์ความสำเร็จผู้หญิงวงการ STEM หวังเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ในออสเตรเลีย

Female student looking through a microscope at the university lab

นักศึกษากำลังส่องกล้องจุลทรรศน์ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยในขณะที่เรียนสาขาSTEM Credit: andresr/Getty Images

ในประวัติศาสตร์ผู้หญิงไม่ค่อยมีบทบาทในวงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ มากเท่าไหร่นักต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันที่สาขา STEM ยังคงมีความแตกต่างทางเพศที่เห็นได้ชัด


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

แพทย์หญิง คลารา โชว จากนครซิดนีย์ เป็นหนึ่งในแพทย์โรคหัวใจชั้นนำของออสเตรเลีย

แพทย์หญิง โชว ยังเป็นผู้บุกเบิก เรื่องการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในสตรีด้วย

ความสำเร็จและรางวัลการันตี ความสำเร็จมากมายของ แพทย์หญิงโชว ถูกบันทึกไว้บนเว็บไซต์ Wikipedia เว็บไซต์ดาตาเบส ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลก

"มันรู้สึกแปลกนิดๆ ฉันไม่เคยคิดเลยว่า ประวัติของฉันจะไปปรากฎใน Wikipedia ซึ่งฉันหวังว่ามันอาจเป็นสิ่งที่อาจช่วยสนับสนุนและเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงคนอื่นๆ ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วยเช่นกัน"

Most Australians trust scientists (Getty)
ในวิกิพีเดียมี ชีวประวัติของผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จ สาขาSTEM ที่เป็นภาษาอังกฤษน้อยกว่า 20 เปอร์เซนต์ Source: Getty

ในวิกิพีเดียมี ชีวประวัติของผู้หญิงที่เป็นภาษาอังกฤษน้อยกว่า 20 เปอร์เซนต์

จากสถิติดังกล่าว จึงเกิดการคลื่อนไหวระดับนานาชาติ ที่ต้องการให้มีชีวปรัวัติผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในสายงาน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

ซีอีโอของ Cicada Innovations คุณ แซลลี แอนน์ วิลเลียมส์ ซึ่งเป็นสถาบันบ่มเพาะสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมในซิดนีย์

นอกจากนั้น คุณ วิลเลียมยังเป็นประธานรายงาน Pathway to Diversity หรือ รายงานโครงการเส้นทางสู่ความหลากหลายในสาขา STEM ที่รัฐบาลจัดทำขึ้น

คุณ วิลเลียมส์กล่าวในประเด็นนี้ว่า

"เรื่องนี้เป้นสิ่งสำคัญมาก เพราะจากประวัติศาสตร์จะเห็นว่าเราแทบจะไม่ค่อยเห็น ความสำเร็จของผู้หญิง โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ และเมื่อหันมามองในแบบเรียนของเรา ก็แทบจะไม่เห็นการพูดถึงนักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ ที่เป็นผู้หญิง จนมันทำให้ดูเหมือนว่าวงการนี้มีแต่ผู้ชายเท่านั้น ซึ่งมันไม่เป็นความจริง"


จนถึงขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม เมลานี เซปเเปล เข้ามาช่วยสร้างโปรไฟล์สำหรับ นักวิทยาศาสตร์หญิงที่ประสบความสำเร็จของออสเตรเลียแล้วกว่า 100คน

รวมถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คนล่าสุด แซม มอสติน และนักวิจัยมะเร็งผิวหนัง และชาวออสเตรเลียดีเด่น จอร์จินา ลอง ด้วย คุณเซปเปล เปิดเผยว่า

"เป้าหมายคือเราจะต้องการยกระดับผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ สิ่งที่ฉันสังเกตเห็นตั้งแต่มาเขียนประวัติใน Wikipedia จะเห็นว่า"

ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะได้รับรางวัล ได้รับทุน และเลื่อนตำแหน่ง มากขึ้น ซึ่งน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงคนอื่นๆ ได้
นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม เมลานี เซปเเปล

นักพันธุศาสตร์ชาวโคลอมเบียที่เกิดในบริสเบน ดร.แอสตริด โรดริเกซ ก็เป็นอีกคนหนึ่งซึ่งได้สร้างเพจในหลายภาษาเพื่อยกระดับโปรไฟล์ของผู้หญิงที่อยู่ในวงการวิทยาศาสตร์ ซึ่งเธอกล่าวว่าผู้ทำการวิจัยมักถูกมองข้ามหรือถูกเพิกเฉย

ซึ่ง ดร. โรดริเกซ อธิบายว่าภาษาเป็นอุปสรรคสำคัญ

"ขณะนี้วารสารวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ซึ่งถ้าคุณไม่มีความเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษมันก็เป็นอุปสรรคในการเผยแพร่งานวิจัยของคุณ ซึ่งทำให้นักวิจัยจำนวนมากถูกปฎิเสธผลงาน"


ในปี 2020 ดร. โรดริเกซก่อตั้ง องค์กร เวทากา (Huitaca)

ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่มุ่งช่วยเหลือสตรีในละตินอเมริกาเผยแพร่งานวิจัยของตนผ่าน โดยการช่วยเหลือให้คำปรึกษาและบริการตรวจแก้ภาษาอังกฤษ และจากความช่วยเหลือขององค์กรนี้เองทำให้ คุณ โจฮานนา เทยาดา จากโคลอมเบีย [[Te-yah-dah]] สามารถเผยแพร่งานวิจัยของเธอเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการกลายพันธุ์ของยีนกับโรคอัลไซเมอร์ได้ คุณ โจฮานนา เทยาดา เปิดเผยว่า

"โครงการ Huitaca เวทากาถือเป็นโอกาสที่ยอดเยี่ยมมากสำหรับฉัน ฉันรอโอกาสนี้มานานแล้ว โครงการนี้ใช้เวลาสองปี แต่ในที่สุดเราก็ประสบความสำเร็จ"

คุณ เทยาดา ยังกล่าวต่อไปอีกว่า

การตีพิมพ์ผลงานวิจัยของเธอทำให้ เธอก้าวเข้ามาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ยิ่งไปกว่านั้น นักเรียนคนหนึ่งของเธอกำลังอยู่ในระหว่างการตีพิมพ์งานวิจัยของเธอผ่านองค์กร เวทากา ด้วย

ผู้หญิงที่สร้างแรงบันดาลใจเหล่านี้ กำลังทำให้ การเห็นความสำเร็จของผู้หญิงในแวดวง STEAM เป็น กุญแจสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นต่อไป



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 



บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่  



Share