ประเด็นสำคัญ
- งานหัตถกรรมคือสายใยที่เชื่อมไว้ระหว่างผู้สร้างสรรค์งาน ผืนแผ่นดิ และบรรพบุรุษเข้าไว้ด้วยกัน
- การทำงานหัตถกรรมถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฝึกจิตใจและเข้าหาสังคม
- ช่างหัตถกรรมจะมีสไตล์การสร้างสรรค์ผลงานเฉพาะตัวที่สามารถบอกความเป็นตัวตนของเจ้าของได้
- ทักษาด้านหัตถกรรมนั้นสำคัญทั้งกับชายและหญิง
งานหัตถกรรมของชนกลุ่มแรกของชาตินั้นมีหลากหลายไม่น้อยไปกว่าจำนวนช่างที่สร้างสรรค์ผลงาน งานทุก ๆ คือเครื่องหมายสำคัญที่ถักทอรวมเอาผู้ทำ ผืนแผ่นดิน และบรรพบุรุษเข้าไว้เป็นผืนแผ่นเดียวกัน
ภูมิปัญญาด้านงานหัตถกรรมนี้เริ่มต้นจากการที่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ลงมือเก็บเกี่ยวและจัดเตรียมวัสดุท้องถิ่นที่หาได้ในพื้นที่ อาทิ ใบไม้ เปลือกไม้และส่วนต่าง ๆ ของพืช ซึ่งจะนำมาทอเข้าด้วยกันให้เกิดเป็นลายพิมพ์เพื่อสร้างเป็นของใช้ เช่น ตะกร้าสาน ชาม เชือก และตาข่ายเพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
“คำว่างานหัตถกรรม (หรือ weaving) นั้น เป็นเพียงคำเดียวในภาษาอังกฤษ แต่ในภาษาดั้งเดิมของกลุ่มคนเหล่านี้นั้น มีคำศัพท์หลากหลายมากถึงแม้จะให้ความหมายเดียวกัน” คุณเชอร์รี จอห์นสัน ศิลปินและนักวิชาการชาวโกเมรอย (Gomeroi) ที่ปัจจุบันอยู่อาศัยในตอนเหนือของรัฐนิว เซาท์ เวลส์ เล่าให้เราฟัง
“สิ่งที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับคำที่พวกเราใช้เรียกของใช้แต่ละประเภทนั้น คือการที่มันสะท้อนภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมซึ่งอยู่เบื้องหลังของใช้แต่ละชิ้น เพราะมันบอกได้ถึงชนิดของพืชที่เราใช้ บอกช่วงเวลาในปีนั้น ๆ และยังบอกใบ้ได้อีกว่าในช่วงเวลานั้น มีอะไรให้เราได้เก็บเกี่ยวมากินได้อีกด้วย”
บรรยากาศงานเวิร์กช็อปงานหัตถกรรมของชนพื้นเมืองที่จัดขึ้นที่ The Precinct Village เมืองแอดิเลด ออสเตรเลีย Credit: Kelly Barnes/AFL Photos/via Getty Images
งานหัตถกรรมที่สานคนทั้งหมู่บ้านเข้าไว้ด้วยกัน
งานหัตถกรรมที่เป็นมากกว่าแค่การเย็บปักถักร้อย
หนุ่มสาววัยที่ต่างกัน ต่างมาใช้เวลาร่วมกันและแบ่งปันเรื่องราวในระหว่างที่กำลังเรียนรู้การทำงานฝีมือ
“ความสำคัญที่แท้จริงของการทำงานหัตถกรรมของกลุ่มคนชาวพื้นเมืองในสมัยนั้น คือการที่ได้ทำความเข้าใจวิถีชีวิต ผ่านการเลือกใช้ประเภทวัสดุ เทคนิกการทอ จุดประสงค์การนำไปใช้ หรือแม้แต่วิธีการใช้งานให้ถูกต้อง ซึ่งมันมีเป็นมากกว่าเพียงแค่มานั่งทำงานเย็บปักถักร้อยด้วยกัน” คุณจอห์นสันกล่าว
งานหัตถกรรมที่ไม่แบ่งเพศ
คุณลูค รัสเซลล์ ชาววอรีมี (Worimi) ที่ปัจจุบันนอกจากเขาจะประกอบอาชีพเป็นผู้ดูแลและรับฝากทรัพย์สิน ในย่านนิวคาสเซิล รัฐนิว เซาท์ เวลส์ แล้ว เขายังมีหน้าที่ให้ความรู้ของบรรพบุรุษของเขาในเรื่องการประดิษฐ์เครื่องมือ ทั้งการสร้างเรือแคนูแบบดั้งเดิม การประดิษฐ์หอกจับปลา และเครื่องมือชนิดอื่น ๆ
สำหรับผล ทักษะการถัดเชือกนั้นสำคัญมากในการประดิษฐ์เครื่องมือของผู้ชายคุณลุค รัสเซลล์กล่าว
คุณลุคใช้เทคนิกการทอที่ซับซ้อนเพื่อให้ได้เชือกที่สามารถผูกปลายเรือแคนูให้อยู่กับที่ หรือใช้มัดเครื่องมือสำคัญ ๆ ได้อย่างแข็งแรง
โดยหนุ่มพื้นเหมืองในอดีตนั้นจะใช้เวลาในช่วงวัยเด็กจนถึงวัยรุ่นไปกับการเรียนรู้การทำงานหัตถกรรมไปพร้อมๆ กับเด็กผู้หญิง
“คนในอดีตนั้นจะพูดกันเสมอว่าเด็กผู้ชายจะเป็นผู้ใหญ่ได้ ก็ต่อเมื่อวันที่เขาใช้ทักษะเหล่านี้เป็น และทักษะเหล่านี้นั้นจะเรียนรู้จากไหนไปไม่ได้เลยถ้าไม่เรียนรู้จากเหล่าผู้หญิงเป็นคนถ่ายทอดความรู้ให้” คุณรัสเซลล์กล่าว
Australia Explained: งานหัตถกรรมของชนกลุ่มแรกของชาติ - เสื่อจากเส้นใยปาล์ม Credit: Richard I'Anson/Getty Images
ฝึกสมาธิด้วยการถักทอ
คุณเชอร์รี จอห์นสัน ไม่เพียงสร้างสรรค์งานหัตถกรรมเพื่อแทนการจดบันทึกความคิดของเธอให้ออกมาเป็นภาพ แต่เธอยังใช้ช่วงเวลาของการทำงานฝีมือเหล่านี้ในการฝึกสมาธิอีกด้วย
“การทำงานฝีมือนั้นคือการที่พวกเราได้ใช้เวลาร่วมกันในการคิดทบทวนสิ่งต่าง ๆ ด้วยความรัก ความเคารพซึ่งกันและกันฉันท์ครอบครัว” เธอกล่าว
“เพราะมันได้พาผู้คนได้มาล้อมวงนั่งอยู่ด้วยกัน แบ่งปันเรื่องราวและร่วมดื่มชาด้วยกัน ซึ่งนั่นคือความหมายของการทำงานฝีมือในวัฒนธรรมของเรา"
สไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร
พืชพันธุ์จำพวกหญ้าและเปลือกไม้นั้นมีความแตกต่างกันทั่วทุกพื้นที่ในประเทศ ดังนั้นรูปแบบการถักทอก็จะต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาค อีกทั้งชาวบ้านในแต่ละพื้นที่นั้นก็มีวิธีการเฉพาะตัวในการประดิษฐ์ของพวกเขาอีกด้วย ซึ่งเทคนิกที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือการใช้สีสันจากดอกไม้ เปลือกไม้ ยางไม้ และรากของพืชชนิดต่าง ๆ
“ผู้ทำงานหัตถกรรมนั้นต่างมีความเป็นศิลปินในตัวเองเมื่อต้องทำการแต่งแต้มสีสันให้กับผ้าทอ อีกทั้งมันยังมีความหมายทั้งต่อตัวคนทำและต่อชุมชนนั้น ๆ” คุณเชอร์รี เล่าให้เราฟัง
โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีความรอบรู้นั้นจะสามารถบอกได้ด้วยว่าชิ้นงานแต่ละชิ้นนั้นมาจากใครหรือพื้นที่ใดได้จากการสังเกตุลักษณะของฝีด้าย รอยปัก และเทคนิกการปัก ไปจนถึงประเภทวัสดุที่เลือกใช้ในชิ้นงานCherie Johnson, artist and educator
คุณนาพี เด็นแฮม (Nephi Denham) ศิลปินชาวเกอราเม (Girramay) ที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในย่านคาร์ดเวลล์ ตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์เล่าให้เราฟังถึงความทรงจำที่คุณลุงได้สอนเขาให้ทำงานฝีมือ
“ศิลปินหลายคนหรือแม้แต่ผมเองนั้น ต่างก็มีมาเริ่มต้นทำงานฝีมือด้วยวิธีต่างกันออกไป ซึ่งสังเกตได้หลายอย่าง เช่น เป็นเทคนิกการทำแบบใช้มือซ้ายหรือมือขวาเป็นหลัก มันจึงบอกได้ว่าใครเป็นคนทำชิ้นงานชิ้นนั้น” คุณเด็นแฮมกล่าว
Australia Explained: งานหัตถกรรมของชนกลุ่มแรกของชาติ - ช่างหัตถกรรมหญิงกำลังสานตะกร้าด้วยเส้นใยปาล์ม Credit: Richard I'Anson/Getty Images
เราจะมีส่วนร่วมด้วยได้อย่างไร?
คุณเคสซี ลีแธม ช่างหัตถกรรมและศิลปินชาวทอนกูรุง (Taungurung) ของชาติคูลิน (Kulin) ในรัฐวิกตอเรียได้จัดงานเวิร์กช็อปซึ่งนำโดยชนกลุ่มแรกของชาติ ซึ่งจะเปิดรับผู้เข้าร่วมที่ไม่ใช่ชาวพื้นเมืองให้สามารถมาร่วมงานได้อีกด้วย
โดยผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อปนั้นจะได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาการทำงานหัตถกรรมของชนกลุ่มแรกของชาติซึ่งมีที่มาจากบรรพบุรุษหลายกลุ่ม
“มันเป็นเรื่องสำคัญที่พวกเขาจะได้มาทำความเข้าใจเวิร์กช็อปนี้ถ่ายทอดออกมาโดยผู้ที่เป็นชนกลุ่มแรกของชาติ ผู้เข้าร่วมจะได้เข้าใจถึงความสำคัญของสินทรัพย์ทางปัญญาของวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เป็นของดินแดนออสเตรเลีย” คุณลีแธมกล่าว
มันคือการให้เคารพซึ่งกันและกัน เราสามารถแบ่งปันความรู้ที่เรามีให้กันได้ แต่ไม่ควรที่จะหานำไปเสาะหากำไรจากสิ่งเหล่านี้ และเราควรจะระลึกถึงครูชาวชนกลุ่มแรกของชาติผู้ถ่ายทอดความรู้อยู่เสมอ
งานกิจกรรมด้านหัตถกรรมของชนกลุ่มแรกของชาตินี้เปิดต้อนรับทุกคนให้มาเข้าร่วมได้ โดยคุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสภาท้องถิ่นในพื้นที่อยู่อาศัยของคุณผ่านทางโซเชียลมีเดียได้
ศิลปะที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน
งานหัตถกรรมนี้จะถูกจัดแสดงและจำหน่ายที่แกลอรีทั่วออสเตรเลีย คุณจะพบเจอได้ทั้งในนิทรรศการส่วนตัว พื้นที่สาธารณะ ไปจนถึงรันเวย์แฟชัน
งานหัตถกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถมองย้อนประวัติศาสตร์ไปในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน และพวกเราซึ่งเป็นช่างหัตถกรรมนั้นจะยังคงดำรงรักษามันไว้เพื่อถ่ายทอดให้กับรุ่นถัด ๆ ไปคุณเคสซี ลีแธมทิ้งท้าย
"ดังนั้นเมื่อผู้ที่สนใจได้เข้ามาสัมผัสและชมงานฝีมือเหล่านี้ที่แกลอรีล่ะก็ พวกเขาจะตระหนักได้ว่างานฝีมือเหล่านี้นั้นเป็นการสะท้อนวัฒนธรรมของออสเตรเลียทั้งผืนแผ่นดิน ผ่านเส้นด้ายและภูมิปัญญาที่หลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกัน”