ผลการวิจัยล่าสุดชี้นมเด็ก Toddler ขาดสารอาหารแถมน้ำตาลสูง

Bottle feeding

I thought back to my horrific manic episodes in my twenties. In my thirties, I have so much more to lose. Source: Digital Vision

ผลวิจัยล่าสุดพบว่านมและผลิตภัณฑ์อาหารของเด็กวัยหัดเดินไม่เพียงแต่จะมีปริมาณน้ำตาลสูงเท่านั้น แต่ยังมีราคาแพงเกินจริงและไม่มีสารอาหารที่สำคัญอย่างเพียงพอ องค์กรด้านสุขภาพต่างๆ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลสหพันธรัฐออกกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ประเภทดังกล่าว


LISTEN TO
TODDLER MILK image

ผลการวิจัยล่าสุดชี้นมเด็ก Toddler ขาดสารอาหารแถมน้ำตาลสูง

SBS Thai

05/11/202007:17
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยดีกิน ได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่าผลิตภัณฑ์นมของเดินวัยหัดเดินบางยี่ห้อในปริมาณเกือบหนึ่งถ้วยนั้นมีปริมาณน้ำตาลมากกว่านมสดธรรมดาถึง 8 กรัม

การวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก VicHealth ผลการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งในการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของคุณเจนนิเฟอร์ แมคแคน ซึ่งได้ชี้แจงว่านมของเด็กวัยหัดเดินนั้นแตกต่างจากนมผงของเด็กทารกซึ่งบุคลากรทางการแพทย์แนะนำให้เป็นนมที่ใช้แทนนมแม่

คุณ เจนนิเฟอร์ แมคแคน ซึ่งเป็นนักโภชนาการและเป็นนักศึกษาปริญญาเอก อธิบายว่าการรับประทานนมสำหรับเด็กวัยหัดเดินแค่เพียงปริมาณน้อยกว่า 1 ถ้วยต่อวัน จะทำให้ใน 1 ปีคุณจะได้รับปริมาณน้ำตาลถึง 3 กิโลกรัมเลยทีเดียว 

เธอกล่าวต่อไปว่าผลิตภัณฑ์นี้ใช้ช่องโหว่ของข้อบังคับใช้ทางการตลาด  และจากผลการศึกษาพบว่านมของเด็กวัยหัดเดินนั้นไม่จำเป็นต่อเด็กที่อายุมากกว่า 1 ปี ยิ่งไปกว่านั้นนมประเภทนี้ยังมีประโยชน์น้อยกว่านมวัวธรรมดา

"นมของเดินวัยหัดเดินนั้นเพิ่งมีมาในตลาดไม่ถึงช่วง 10 ปี  มันมีปริมาณน้ำตาลสูง มีโปรตีน และแคลเซียมน้อยกว่านมธรรมดาด้วยซ้ำ จริงๆแล้วเด็กในวัยนี้ควรจะรับประทานอาหารปกติที่ครอบครัวทานในปริมาณที่เหมาะกับเด็ก"

คุณ นามา โซฮา จากนครเมลเบิร์นมีบุตร 4 คน ซึ่งในสี่คนนี้มี 2 คนที่อยู่ในวัยหัดเดิน เธอให้ลูกคนเล็กดื่มนมสำหรับเด็กทารกแทนที่จะดื่มนมวัวเพราะว่าเหตุผลทางวัฒนธรรม 

"เรามาจากประเทศอิสราเอลและในแถบเมดิเตอเรเนียนนั้นเราไม่ค่อยดื่มนมเป็นแก้วๆ เราใช้นมในการทำอาหารหรือในซีเรียลหรือในการทำขนม แต่การดื่มนมเป็นแก้วนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราคุ้นเคยดังนั้นเราจึงไม่เคยหัดให้ลูกดื่มนม และมันก้แค่ 6 เดือนเท่านั้นก่อนที่เด็กๆจะกินอาหารเองได้"

VicHealth เป็นมูลนิธิอิสระที่ทำการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านสุขภาพซึ่งเน้นไปที่นโยบายด้านสุขภาพของรัฐวิกตอเรีย

การศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบของไวรัสโคโรนาที่มีต่อสุขภาพของชาววิกตอเรียของ VicHealth ได้ทำการสำรวจคน  2,000 คน และพบว่าในช่วงปิดเมืองครั้งแรก  1 ใน 6 ของผู้ทำการสำรวจมีความกังวลว่าพวกเขาจะสามารถซื้ออาหารบริโภคได้หรือไม่

ดร. ซานโดร เดมายโอ ประธานบริหารของ VicHealth เปิดเผยว่านมสำหรับเด็กหัดเดินนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ของรายจ่ายที่สร้างความกดดันให้แก่หลายๆครอบครัว การวิจัยยังพบอีกว่านมของเด็กหัดเดินนั้นมีราคาสูงกว่านมปกติถึง 4 เท่า 

"ถ้าเด็กดื่มนมชนิดนี้ทุกวันจะมีค่าใช้จ่ายที่ครอบครัวต้องจ่ายมากขึ้นประมาณ 23 ดอลลาร์ต่อเดือนเมื่อเทียบกับการซื้อนมวัวธรรมดา และเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายต่อปีแล้วค่าใช้จ่ายตรงนี้จะมากขึ้นขึ้นเป็น 280 ดอลลาร์เลยทีเดียว"

"มันคือผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีความจำเป็นและอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กวัยนี้ด้วยซ้ำ เราเรียกร้องให้รัฐบาลสหพันธรัฐต้องมีมาตรการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้มีการจัดการเรื่องมาตรฐานของการแจ้งส่วนผสมต่างๆ บนฉลากของผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะเรื่องน้ำตาลตามความเป็นจริง และให้ควบคุมดูแลเรื่องการโฆษณาและการตลาดของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ด้วย"

คุณ อลิซ ไปรเยอร์ ผู้ดูแลกลุ่ม  Parents’ Voice ซึ่งเป็นกลุ่มสนับสนุนและเรียกร้องสิทธิต่างๆ สำหรับครอบครัวชาวออสเตรเลีย เธอเปิดเผยว่ามันเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่เห็นว่าโรงงานและแผนกการตลาดของพวกเขาใช้โซเชียลมีเดียในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของพวกเขาอย่างไร

"มันน่าเป็นห่วงมากที่เห็นโรงงานเหล่านี้ใช้กลวิธีทางการตลาดอย่างหลอกลวงเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์นมและอาหารของเด็กวัยหัดเดิน คนดังหลายๆคนก็ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อย่างแนบเนียน เพราะฉะนั้นมันเป็นการอย่างที่จะบอกว่านี่คือการโฆษณาหรือการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกัน"


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share