เรียกเก็บภาษีร้านขายเสื้อผ้า ความพยายามของรัฐบาลออสเตรเลียเพื่อความยั่งยืน

A Santa Sabina student launched a pre-loved clothing store with her peers.

เสื้อผ้ามือสองเป็นทางเลือกของการใช้เสื้อผ้าอย่างยั่งยืน Credit: SBS

ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม ร้านขายเสื้อผ้าหลายรายต้องจ่ายภาษี 4 เซนต์กับการขายเสื้อผ้าแต่ละชิ้นที่ออสเตรเลีย โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งในการพยายามควบคุมขยะสิ่งทอของรัฐบาลออสเตรเลีย


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

โซเชียลมีเดียเต็มไปด้วยกระแสการซื้อเสื้อผ้าใหม่ วิดิโอแกะเปิดกล่องและลองใส่ต่างๆ

คุณราเควล คาลันเดร (Raquel Calandre) นักศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 5 จากวิทยาลัยซานตา ซาบีนา (Santa Sabina College) แถบตะวันตกของซิดนีย์อธิบายถึงความกดดันในการต้องตามเทรนด์แฟชันให้ทัน

“ฉันไปงานปาร์ตี้หลายครั้ง และทุกครั้งที่ฉันไป ฉันจะรู้สึกว่าต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่ มันมีเทรนด์ที่คุณจะไม่โพสต์อะไรในชุดที่ใส่ซ้ำ 2 ครั้ง”
ฟาสท์ แฟชัน (Fast fashion) เป็นเสื้อผ้าที่ราคาไม่แพงและสามารถซื้อหาได้ง่าย คุณลูซี่ จี (Lucy Gee) นักศึกษาชั้นมัธยม 6 อธิบาย

“โฆษณาบนรถเมล์ บนตึกต่างๆ มันอยู่ตรงหน้า เทรนด์มาและไปเร็วมาก"
ฉันคิดว่ามันเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ที่จะตามกระแสเหล่านั้น มันยังราคาถูกและหาซื้อได้ง่ายด้วย
คุณจีกล่าว
อย่างไรก็ตาม มีกระแสของนักศึกษาที่ใส่ใจกับสภาพแวดล้อมเริ่มขึ้นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา

“เราสามารถหาเสื้อผ้าราคาถูกๆ ได้แบบฟาสท์ แฟชันจริงๆ หาซื้อได้ง่ายมากๆ ด้วย”

ร้านเสื้อผ้ามือสองอย่าง ‘ซานตา สไตล์ (Santa Style) จึงเปิดตัวขึ้นในวิทยาลัยซานตา ซาบีนา

คุณคาลันเดรกล่าวว่าเสื้อผ้าได้รับบริจาค จะนำมาขายในราคา $2-$20 และมีขายออนไลน์ด้วย

“เราสามารถนำเสื้อผ้าที่คุณจะไม่ใส่อีกแล้ว ที่คุณนำมาบริจาค ส่งต่อให้คนอื่นใส่ได้ คุณสามารถซื้อสิ่งที่คนอื่นไม่ใส่อีก เราจะไม่ทิ้งเสื้อผ้าให้เปล่าประโยชน์ เรานำกลับมาใช้ใหม่ได้ และราคาไม่แพง แทนที่จะไปซื้อชุดใหม่ราคา $100 และใส่เพียงแค่ครั้งเดียว"
Woman shopping in vintage clothing shop
ผู้หญิงกำลังซื้อเสื้อผ้าที่ร้านขายของมือสอง Source: Getty / Getty Images
คุณเอ็มมา หว่อง (Emma Wong) นักศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 5 ได้ไปโปรโมทแนวคิดนี้ในโรงเรียนอื่น
มันไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรขนาดใหญ่อย่างวินนีส์ (Vinnies) คุณสามารถเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ เพื่อสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้
คุณหว่องกล่าว
ผลการรายงานของสถาบันออสเตรเลียระบุว่าประชากรออสเตรเลียจัดเป็นผู้บริโภคเสื้อผ้า รองเท้า และกระเป๋ารายใหญ่ที่สุดของโลก

มีการซื้อเสื้อผ้าใหม่โดยเฉลี่ย 56 ชิ้นต่อปี มูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ $13 ซึ่งต่ำกว่าสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และบราซิล

ในทางกลับกัน ทุกปีมีเสื้อผ้ากว่า 200,000 ตันที่เป็นขยะฝังกลบ เทียบเท่าน้ำหนักสะพานซิดนีย์ ฮาร์เบอร์ 4 เท่า

สิ่งนี้เป็นเรื่องที่รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมทันย่า พลิเบอร์เซค (Tanya Plibersek) พยายามหาทางแก้ไขผ่านโครงการพิทักษ์ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแห่งชาติ (National Clothing Product Stewardship Scheme) ซึ่งจะเริ่มอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมนี้

“นี่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก และรุนแรงมาก โดยเฉพาะเมื่อเรามีแฟชันที่ต้นทุนต่ำ แต่มีปริมาณสูงมาก”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

คุณรีไซเคิลถูกต้องหรือไม่?

ขณะนี้มีผู้ค้าเสื้อผ้าปลีก 62 รายที่สมัครใจจ่ายภาษี 4 เซนต์ต่อชิ้นเสื้อผ้าที่ขา6ยได้ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป

โดยเงินจำนวนนี้จะนำไปใช้ในการฝึกอบรมธุรกิจต่างๆ ในการปรับปรุงการออกแบบเสื้อผ้า ลดขยะ และให้ความรู้แก่ผู้บริโภค

คุณนีนา กบอร์ (Nina Gbor) ผู้อำนวยการโครงการเศรษฐกิจหมุนเวียนและขยะของสถาบันออสเตรเลียกล่าวว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่การจัดเก็บภาษียังเป็นราคาต่ำเกินไปที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของแบรนด์เสื้อผ้า
เป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้เห็นรัฐบาลพยายามจัดการขยะเสื้อผ้าในประเทศ แต่ยังคงไม่เพียงพอ เราควรเก็บเงินเพิ่มที่ประมาณ 50 เซนต์ต่อชิ้น
คุณกบอร์อธิบาย
คุณกบอร์เรียกร้องให้ออสเตรเลียใช้แนวทางคล้ายกับฝรั่งเศส ซึ่งเรียกเก็บภาษี $16 ต่อชิ้นและห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์

ด็อกเตอร์เอโลอิส ซ็อปโปส (Dr Eloise Zoppos) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคและร้านค้าในออสเตรเลียจากภาควิชาธุรกิจของโมนาชกล่าวว่าความยั่งยืนไม่ใช่แค่กระแส แต่เป็นความเคลื่อนไหวของผู้บริโภค

“สิ่งที่เราค้นพบ ทั้งจากการวิจัยของเราและจากเทรนด์ที่ออสเตรเลียและทั่วโลกคือวิกฤตค่าครองชีพ ผู้คนมองหาวิธีใหม่ในการมีส่วนร่วมกับพฤติกรรมที่ยั่งยืนและซื้อสินค้าตามค่านิยมของพวกเขา การวิจัยที่เราทำเมื่อเดือนมิถุนายนพบว่าผู้บริโภคออสเตรเลียเกือบครึ่งกล่าวว่าความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการซื้อสินค้า เราเห็นผู้คนซื้อของมือสองมากขึ้นเรื่อยๆ ทางออนไลน์ เป็นต้น”
ในโลกออนไลน์มีคอนเทนต์ ครีเอเตอร์ (content creator) หลายรายที่ต่อต้านฟาสท์ แฟชัน

คุณแม็กกี้ โซว (Maggie Zhou) เป็นอีกหนึ่งท่าน

“ก่อนหน้านี้ฉันเคยร่วมงานกับแบรนด์ฟาสท์ แฟชัน รับของขวัญและใส่เสื้อผ้าเหล่านั้น มันสนุก สดใส มีเสน่ห์ก็จริง แต่สักพักมันทิ้งร่องรอยที่ไม่ดีไว้ มีเทรนด์มากมาย"
แต่ฉันพยายามชะลอการซื้อของฉัน และซื้อแค่สิ่งที่ต้องการจริงๆ
คุณโซวกล่าว

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share