การท่องเที่ยวแนวปะการังเพื่อปลูกจิตสำนึก

แนวปะการัง เกรท แบริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef)

แนวปะการัง เกรท แบริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) Credit: nationalgeographic

รายงานล่าสุดจากศูนย์มรดกโลกของยูเนสโก (UNESCO) และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature) แนะนำให้ขึ้นชื่อแนวปะการัง เกรท แบริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) ในรายชื่อมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในอันตราย บริษัทนำเที่ยวแห่งหนึ่งมุ่งมั่นที่จะให้ความบันเทิงและความรู้แก่นักท่องเที่ยวด้วยนักดำน้ำผู้เชี่ยวชาญ


แนวปะการัง เกรท แบริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) เป็นแนวปะการังที่ปะการังหลากหลายสีสันและเต็มไปด้วยฝูงปลา

แพ รีมูรา (Remoora) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของบริษัทเรือสำราญรีฟ แมจิก ครูส (Reef Magic Cruises) ตั้งอยู่บริเวณนอกชายฝั่งของเมืองแคนส์ (Cairns) ในแถบชายทะเลกุงกันจิ (Gunggandgi) ย่านตะวันออกของออสเตรเลีย

นักท่องเที่ยวหลายสิบคนขึ้นเรือข้ามฟากจากฝั่งไปยังแพนี้ทุกวันเพื่อดำน้ำตามแนวปะการัง เช่น คุณจิกเนช กาตานี (Jignesh Gathani) นักท่องเที่ยวจากมุมไบ ที่เดินทางมาที่นี่เป็นครั้งแรก

“ผมมาออสเตรเลียเป็นครั้งแรก มาเกรท แบริเออร์ รีฟ เป็นครั้งแรก ดำน้ำเป็นครั้งแรก ผมว่ายน้ำไม่เป็น แต่ผมไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดถึงความสุขที่ผมมีในวันนี้ ที่ได้มาสัมผัสกับโลกใต้น้ำ มาเห็นเกรท แบริเออร์ รีฟ มาสำรวจโลกใต้น้ำ มันวิเศษจริงๆ”
พนักงานของบริษัทเรือสำราญนี้ทำงานเพื่อให้ลูกค้าได้รับความบันเทิงและให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศของแนวปะการัง รวมถึงภัยคุกคาม เช่น มลพิษ การสัมผัสโดยไม่ระวัง และภาวะโลกร้อน

แนวคิดนี้คือการใช้สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติอย่างแนวปะการังเป็นแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนนักท่องเที่ยวให้เป็นผู้สนับสนุนการปกป้องแนวปะการัง เกรท แบริเออร์ รีฟ

คุณกาตานีต้องการอนุรักษ์แนวปะการังเพื่อให้คนรุ่นหลังสามารถมาเยี่ยมชมมันได้เช่นที่เขามาในวันนี้

"มันอยู่มานับร้อยๆ ปีแล้ว ผมหวังว่ามันจะอยู่กับเราไปอีกหลายสิบปี ผมเชื่อว่าทุกคนควรมีส่วนร่วมเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะยังคงอยู่ที่นี่ เพื่อให้คนรุ่นหลังสามารถมาเยี่ยมชมสิ่งวิเศษนี้"
อนาอิส เมาเรอ (Anais Maurer) หัวหน้านักดำน้ำเตรียมพานักท่องเที่ยวลงสู่ใต้น้ำ
อนาอิส เมาเรอ (Anais Maurer) หัวหน้านักดำน้ำเตรียมพานักท่องเที่ยวลงสู่ใต้น้ำ
คุณ อนาอิส เมาเรอ (Anais Maurer) หัวหน้าทีมนักดำน้ำกล่าวว่า เมื่อนักท่องเที่ยวได้เห็นโลกใต้น้ำและได้เห็นปลาที่อาศัยอยู่ที่แนวปะการังนี้ ชื่อ วัลลี (Wally) พวกเขามักจะขึ้นจากน้ำโดยมีคำถามในใจ

“หลายคนมาเพื่อสำรวจแนวปะการัง เกรท แบริเออร์ รีฟ และเมื่อพวกเขามาที่นี่และเห็นมัน เราจะให้ความรู้กับพวกเขา พวกเขาเห็นวัลลี ปะการัง พวกเขาจะเริ่มสงสัยและถามเราประมาณว่า ‘โอ้ ปะการังตายเพราะมันเปลี่ยนสีหรือเพราะอะไร?’ และเราสามารถบอกพวกเขาได้ว่ามันตาย หรือมันเปลี่ยนสี ซึ่งมักเกิดระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม หรือเกิดจากความเสียหายอย่างอื่น”

หลายคนที่มาเยี่ยมชมก่อนหน้ามักวิตกเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งประสบกับพายุไซโคลนและคลื่นความร้อนในทะเลที่รุนแรงขึ้น ซึ่งเกิดจากภาวะโลกร้อน
คนถามเรื่องภาวะโลกร้อนทุกวัน บางวัน บางครอบครัวถามเราเยอะมาก เรามีผู้สูงอายุที่ถามเราเยอะมากจริงๆ เพราะพวกเขาเคยมาเที่ยว เกรท แบริเออร์ รีฟ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว และตอนนี้พวกเขาแบบว่า ‘โอ้ ทุกอย่างตายแล้ว’
คุณเจน บักซ์ทัน (Jane Buxton) พบว่าแนวปะการัง เกรท แบริเออร์ รีฟ งดงามมาก

“การได้เห็นว่ามีอะไรข้างล่างนั้นมันวิเศษมาก และการเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์มัน ฉันไม่รู้มาก่อนว่ามีกลุ่มเคลื่อนไหวมากมายขนาดนี้เพื่อปะการังหลากหลายชนิด หลายสีสัน และปลา ตัวเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ท่ามกลางปะการังชนิดต่างๆ มันน่าทึ่งมาก”
สัตว์น้ำที่อาศัยในแนวปะการัง เกรท แบริเออร์ รีฟ
สัตว์น้ำที่อาศัยในแนวปะการัง เกรท แบริเออร์ รีฟ Source: AAP
แน่ใจว่าลูกหลานของเธอในรุ่นหลังสามารถเห็นปะการังที่สวยงามอยู่
ควรทำอะไรมากกว่านี้เพื่อไม่ให้มันเลวร้ายลง และหวังว่าจะไม่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของฉัน หรือในช่วงชีวิตของลูกๆ ของฉัน แต่ว่าในช่วงชีวิตของหลานๆ ของฉัน ฉันหวังว่าสิ่งต่างๆ คงจะดำเนินมาถึงจุดที่เราไม่ต้องกังวลว่าภาวะโลกร้อนจะกระทบต่อแนวปะการัง
รายงานล่าสุดที่เผยแพร่ในวันที่ 28 พฤศจิกายน จากศูนย์มรดกโลกของยูเนสโก (UNESCO) และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature) แนะนำให้ขึ้นชื่อแนวปะการัง เกรท แบริเออร์ รีฟ ไว้ในรายชื่อมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในอันตราย

คลื่นความร้อนใต้น้ำและพายุไซโคลนเป็นผลกระทบที่ถูกขับเคลื่อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เร็ดลอดจากการควบคุม ซึ่งได้ทำลายบางส่วนของแนวปะการัง 3,000 แห่ง ของเกรต แบริเออร์ รีฟ

นับเป็นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของระบบนิเวศแนวปะการังของโลก ซึ่งมีกว่า 2,500 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 348,000 ตารางกิโลเมตร


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

 


Share