นำความชิวๆ แบบไทยๆ มาสู่ MPavilion ในเมลเบิร์น

Rachaporn Choochuey MPavilion

ผศ.ดร.รชพร ชูช่วย (Rachaporn Choochuey) สถาปนิกของบริษัท all(zone) จากประเทศไทย ที่ได้รับเลือกให้ออกแบบศาลา MPavilion ในเมลเบิร์น ประจำปี 2022 Source: Supplied / all(Zone)

ดร.รชพร ชูช่วย สถาปนิกจากกรุงเทพฯ ถ่ายทอดดีเอ็นเอของความเป็นคนไทยที่เป็นมิตรและชิวๆ ผ่านผลงานออกแบบศาลา MPavilion ในเมลเบิร์น (อยู่ตรงข้าม NGV) เธอพูดคุยกับเอสบีเอส ไทย ถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบผลงานที่น่าภาคภูมิใจโครงการนี้


นับตั้งแต่ปี 2014 มาแล้วที่ ซึ่งตั้งอยู่ในสวน Queen Victoria Garden ในเมลเบิร์น เป็นเวทีให้สถาปนิกที่มีผลงานและแนวคิดการออกแบบที่น่าสนใจระดับโลกได้มาแสดงฝีมือออกแบบให้ผู้คนในนครเมลเบิร์นได้ชื่นชม กลางสวนสาธารณะอันร่มรื่นและสวยงาม ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับ National Gallery of Victoria (NGV)

ในปี 2022 นี้ ผศ.ดร.รชพร ชูช่วย (Rachaporn Choochuey) สถาปนิกของบริษัท all(zone) จากประเทศไทย ที่ได้รับเลือกให้ออกแบบศาลา MPavilion ให้ชาวเมลเบิร์นและชุมชนคนไทยจะได้ชมและสัมผัสกับผลงานการออกแบบที่ไม่เหมือนใครของเธอ
Rachaporn Choochuey SBS Thai
ดร.รชพร ให้พูดคุยกับเอสบีเอส ไทย ขณะเริ่มการก่อสร้างศาลา MPavilion ซึ่งจะก่อสร้างเสร็จต้นเดือนธันวาคม 2022 Source: SBS / SBS Thai/ Tinrawat Banyat
MPavilion เป็นการเฉลิมฉลองการใช้ชีวิตนอกอาคาร เฉลิมฉลองการใช้ชีวิตในพื้นที่ภายนอกที่ไม่ถูกผนังล้อม หลังจากเรากักตัวกันอยู่เป็นปี
ผศ.ดร.รชพร ชูช่วย
ดร.รชพร บอกกับ เอสบีเอส ไทย ว่าช่วงที่ระบาดใหญ่ของโควิดเริ่มซาลงเป็นที่มาของแนวคิดเบื้องหลังการออกแบบ ศาลา MPavilion ในปีนี้

“หลังจากที่ผู้คนกักตัวอยู่บ้านกันมานาน ทุกคนโหยหาการออกมาข้างนอก การออกนอกตึก การออกจากห้อง ได้ออกมาจากผู้คน ออกมาเจอคนเดินตามถนนทั่วไป เราเลยคิดว่า MPavilion น่าจะเป็นการเฉลิมฉลองการใช้ชีวิตนอกอาคาร เป็นการเฉลิมฉลองการใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ภายนอกที่ไม่ถูกผนังล้อม หลังจากเรากักตัวกันอยู่เป็นปี จึงอยากให้ MPavilion เป็นที่ที่คนมาเจอกัน มาทำกิจกรรมหลากหลายร่วมกัน” ดร.รชพร เผย
Mpavilion 2022
ดร.รชพร ออกแบบศาลา MPavilion ให้มีความโปร่งและเบา แต่กันแดดกันฝนได้ Source: Supplied / all(Zone)
เธออยากให้ศาลา MPavilion ที่เธอออกแบบนั้นมีความโปร่งและเบา เธอจึงใช้ผ้าและตาข่ายเป็นวัสดุหลัก

“MPavilion จะมีหลังคาที่เป็นผ้าสามชั้น เรียกได้ว่าเป็นตาข่ายสามชั้นแบบต่างๆ ที่จะทำงานร่วมกันเป็นหลังคาที่กันแดดกันฝนได้และสามารถเคลื่อนไหวได้นิดหน่อย เพื่อทำให้เรารู้สึกว่าเรากำลังอยู่ภายนอกอาคาร เหมือนอยู่ใต้ต้นไม้ ซึ่งต้นไม้จะขยับได้นิดหนึ่ง ไม่ได้เป็นของที่อยู่นิ่งๆ”
ความเป็นไทยไม่จำเป็นต้องเป็นลายไทย ช่อฟ้า ใบระกา ซึ่งเป็นแค่รูปร่าง แต่สิ่งที่ดิฉันสนใจคือเรื่องประสบการณ์มากกว่า
ผศ.ดร.รชพร ชูช่วย
ดร.รชพร ย้ำว่า ลักษณะของ MPavilion อาจจะไม่ได้มองปุ๊บรู้ปั๊บว่า มีหน้าตาที่บ่งบอกความเป็นไทยที่เห็นได้ชัดเจนมาแต่ไกล แต่เธอแฝงความเป็นไทยไว้ผ่านประสบการณ์ที่ผู้มาเยือนจะได้รับ

“ความเป็นไทยไม่จำเป็นต้องเป็นลายไทย ช่อฟ้า ใบระกา ซึ่งเป็นแค่รูปร่าง แต่สิ่งที่ดิฉันสนใจคือเรื่องประสบการณ์มากกว่า อยากให้ MPavilion เป็นสถานที่ที่ friendly (เป็นมิตร) หรือชิวๆ (chill out) ซึ่งดิฉันว่าอันนี้ไทยๆ เพราะคนไทยเรารับแขกเก่ง เรา friendly เรายิ้มตลอด หรือของที่นิ่มๆ ไม่แข็งเกร็ง ดิฉันก็ว่ามีความเป็นไทย ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่อยู่ในดีเอ็นเอของเราโดยที่เราไม่ต้องฝืน อีกอย่างคือดิฉันอยากให้ที่นี่เป็นที่ที่เสิร์ฟอาหารได้ด้วย เพราะเรารู้สึกว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ คนไทยเราเรื่องมากเรื่องกิน เราอยากจะกินอาหารอร่อยตลอดเวลา” ดร.รชพร ชูช่วย อธิบาย พร้อมกับฝากทิ้งท้ายว่า

“อยากให้มาสนุกกันที่ MPavilion อยากให้มาชิวๆ กันค่ะ”

กดฟังสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
กด ▶ เพื่อฟังสัมภาษณ์
thai_301122_Rachaporn MPavilion.mp3 image

ดร.รชพร ชูช่วย สถาปนิกจากกรุงเทพฯ ถ่ายทอดดีเอ็นเอของความเป็นคนไทยที่เป็นมิตรและชิวๆ ผ่านผลงานออกแบบศาลา MPavilion

SBS Thai

01/12/202216:34

งานเทศกาลไทย ที่ จะมีขึ้นในวันเสาร์ ที่ 10 ธันวาคม 2022 แต่จะมีงานกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจตลอดช่วงฤดูร้อนนี้ไปจนถึงต้นปีหน้า
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

มาชิวๆ ในงานเทศกาลไทย ที่ MPavilion

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share