เล่ห์เหลี่ยมใหม่ของนักต้มตุ๋นที่ทุกคนต้องระวัง

Naca Feature, crime, scams,

Don't be too quick to give your details to a scammer. Source: Getty

คณะกรรมธิการด้านการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย หรือ ACCC เตือนประชาชนให้ระวังการหลอกลวงจากมิจฉาชีพที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในการใช้เล่ห์เหลี่ยมตบตาผู้ที่อาจเป็นเหยื่อ


จากข้อมูลล่าสุดพบว่า ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไปยังคงเป็นกลุ่มที่ตกเป็นเป้าหมายของนักต้มตุ๋นหลอกลวงบ่อยที่สุด

แต่มีหลักฐานว่าชาวออสเตรเลียมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อเพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้ที่มาจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม

คุณแมตต์ โคล นักลงทุนผู้หนึ่ง เล่าถึงช่วงเวลาที่เขารู้ว่าเขาถูกหลอกจนสูญเงินไป 100,000 ดอลลาร์

"บอกตามตรงว่าผมรู้สึกป่วยขึ้นมาเลย ผมสงสัยในตัวเองอย่างมาก และรู้สึกว่าตัวเองนั้นโง่จริงๆ ที่ตกเป็นเหยื่อเรื่องพวกนี้ได้" คุณโคล กล่าว

หลังจากพบลิงก์ไปยังเว็บไซต์บริษัทซื้อขายหุ้นในกรุงลอนดอนทางสื่อโซเชียลมีเดีย เขาได้ทำการค้นหาข้อมูลบ้างเล็กน้อย แต่เขาไม่ตระหนักว่ามันเป็นบริษัทปลอม

คุณโคลกล่าวว่าเว็บไซต์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาให้ดูมีความเป็นมืออาชีพ ดูน่าเชื่อถือ พร้อมยังมีรีวิว (reviews) หรือการแสดงความเห็นจากผู้ที่อ้างว่าเคยใช้บริการบริษัทนี้ในเชิงบวกจำนวนมากทางออนไลน์

"มันดูเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายฟอเร็กซ์ (forex หรือการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนสกุลเงิน) ระดับมืออาชีพที่ดูมีความเชี่ยวชาญ มีวิดีโอให้ความรู้ มีเอกสารอธิบายวิธีการซื้อขายฟอเร็กซ์ด้วย" คุณโคล เล่า
เว็บไซต์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาให้ดูมีความเป็นมืออาชีพ ดูน่าเชื่อถือ พร้อมยังมีรีวิว (reviews) หรือการแสดงความเห็นจากผู้ที่อ้างว่าเคยใช้บริการบริษัทนี้ในเชิงบวกจำนวนมากทางออนไลน์
ทุกอย่างดูเหมือนเป็นธุรกิจที่มีการดำเนินกิจการจริงๆ และหลังจากสมัครใช้บริการได้ไม่นาน นักต้มตุ๋นหลอกลวงก็ติดต่อมาหาเขา

"จากนั้นพวกเขาก็แจ้งว่าพวกเขาจะให้ผู้จัดการที่ดูแลลูกค้าโทรหาผม และผู้จัดการดูแลลูกค้าก็โทรหาผมภายในสองชั่วโมงและนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ 4 เดือน" คุณโคล เผย
คุณดีเลีย ริกคาร์ด รองประธาน คณะกรรมธิการด้านการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย หรือเอทริปเปิลซี (ACCC) กล่าวว่า นักต้มตุ๋นหลอกลวงนั้นมีเล่ห์เหลี่ยมที่แพรวพราวมากขึ้นในการหลอกล่อผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อ

คุณริกคาร์ด กล่าวว่า ระดับของความซับซ้อนนั้นสูงมาก น้อยคนนักที่จะรอดพ้นจากความเสี่ยงที่จะถูกมิจฉาชีพเหล่านี้หลอกลวงได้ 

"พวกเขาให้คุณเอาเงินของคุณออกไปได้ในตอนแรกเพียงเพื่อจะสร้างความไว้วางใจ จึงเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากสำหรับผู้คน" คุณริกคาร์ด รองประธานเอทริปเปิลซี กล่าว
พวกเขาให้คุณเอาเงินของคุณออกไปได้ในตอนแรกเพียงเพื่อจะสร้างความไว้วางใจ
เอทริปเปิลซี ซึ่งเป็นบริการคุ้มครองผู้บริโภคระบุว่า ในปีนี้มีการร้องเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมากที่ได้แจ้งเข้ามาทาง

โดยเหยื่อรายงานการสูญเสียเงินไปรวมกัน 236 ล้านดอลลาร์ เท่ากับเพิ่มขึ้นร้อยละ 87 จากปีที่แล้ว

การต้มตุ๋นหลอกลวงประเภทที่พบบ่อยที่สุดคือ หลอกลวงด้านการลงทุน (investment scams) ที่ทำให้ผู้คนสูญเสียเงินไป 121 ล้านดอลลาร์

คุณริกคาร์ด กล่าวว่า ประชาชนจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมมีความเสี่ยง โดยสูญเงินรวมกันเกือบ 13 ล้านดอลลาร์ แค่เฉพาะจากการหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ (phishing scams) และหลอกลวงด้านการลงทุน (investment scams) เท่านั้น
หากคุณมีญาติ มีเพื่อนที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่และใช้ภาษาอังกฤษได้ไม่ดีนัก ขอให้พูดคุยกับพวกเขาในภาษาของพวกเขาเองเกี่ยวกับการหลอกลวง เพื่อช่วยให้พวกเขาได้รับรู้ข้อมูล
เธอสนับสนุนให้มีผู้คนมากขึ้นกล้าที่จะก้าวข้ามความหวั่นวิตกและแจ้งสิ่งที่พวกเขาประสบไปยัง

"เราทราบดีว่าผู้คนรู้สึกอับอายและไม่ต้องการพูดถึงประสบการณ์ที่พวกเขาถูกหลอกลวง แต่นี่คือสัปดาห์แห่งการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการหลอกลวงทั่วประเทศ และสารของเราถึงผู้คนคือให้มาพูดคุยกันเกี่ยวกับการหลอกลวง" คุณริกคาร์ด รองประธานเอทริปเปิลซี กล่าว
นี่คือสัปดาห์แห่งการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการหลอกลวงทั่วประเทศ และสารของเราถึงผู้คนคือให้มาพูดคุยกันเกี่ยวกับการหลอกลวง
แต่กิจกรรมออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ยังทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงมากขึ้น คุณเบ็น ยัง หัวหน้าดูแลด้านการฉ้อโกงของธนาคารเวสต์แพ็ก (Westpac) กล่าว

"การที่มิจฉาชีพแอบเจาะเข้าถึงอีเมลของธุรกิจได้เพิ่มขึ้น 57 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเราสังเกตเห็นในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เช่นเดียวกับการหลอกลวงในรูปแบบอื่นๆ ด้วย แต่ที่น่าเศร้าอย่างยิ่ง ก็เนื่องจากธุรกิจต่างๆ เพิ่งผ่านพ้นวิกฤตโควิดและกำลังพยายามฟื้นตัว" คุณยัง กล่าว

อีเมลที่แอบอ้างเป็นซัพพลายเออร์เพื่อเรียกเก็บเงิน เป็นหนึ่งในวิธีการหลอกลวงรูปแบบใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ทั้งธุรกิจและผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นตกเป็นเหยื่อ

"นอกจากนี้ เรายังสนับสนุนให้ธุรกิจต่างๆ เมื่อพวกเขาเห็นรายละเอียด (ในใบเรียกเก็บเงิน) ที่เปลี่ยนแปลงหรือได้รับใบแจ้งหนี้ที่มีรายละเอียดใหม่ ให้โทรศัพท์กลับไปตรวจสอบ โดยอย่าใช้หมายเลขโทรศัพท์ในอีเมล ให้คุณโทรไปยังหมายเลขที่คุณวางใจ" คุณยัง หัวหน้าดูแลด้านการฉ้อโกงของธนาคารเวสต์แพ็ก (Westpac) แนะนำ

ด้านคุณ แมตต์ โคล นั้นสามารถนำเงินที่ถูกมิจฉาชีพฉ้อโกงไปกลับมาได้บางส่วนผ่าน ID Care (ไอดี แคร์) ซึ่งเป็นบริการของออสเตรเลีย ที่ให้การสนับสนุนผู้ที่ถูกขโมยข้อมูลอัตลักษณ์ส่วนบุคคลและผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงทางไซเบอร์

แต่สารที่เขาอยากฝากถึงคนอื่นๆ คือ อย่าเปิดลิงก์จากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งที่มาที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่รู้จักมาก่อน


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



Share