ดร.โสภา โคล ผู้อำนวยการศูนย์ Thai Education Centre of Victoria และอดีตอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เธอกล่าวว่า สงกรานต์ไม่ได้เฉลิมฉลองเฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นประเพณีร่วมกันของเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คลิก ▶ ด้านบนเพื่อฟังสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
“ตามประวัติศาสตร์ของแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนักวิชาการมักเรียกกันว่า อุษาคเนย์ จะมีประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม ที่มีเทศกาลสงกรานต์เหมือนกัน โดยลาวจะเรียกว่า ‘สงกาน’ พม่าจะเรียกว่า ‘Thingyan’ กัมพูชาจะเรียกว่า ‘ซ็องกรานต์’ และในยูนาน สิบสองปันนาของประเทศจีน ก็มีการจัดเทศกาลสงกรานต์เหมือนกัน เรียกว่า ‘พัวสุ่ยเจี๋ย’ สงกรานต์จึงไม่ได้เป็นวัฒนธรรมของประเทศไทยประเทศเดียว แต่เป็นมรดกร่วมของเอเชีย เพราะในตอนเหนือของอินเดียก็จะมีพิธีคล้ายๆ กันด้วย” ดร.โสภา โคล กล่าว
เล็กๆ รดน้ำดำหัวและขอพรจากพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในช่วงสงกรานต์ ซึ่งในประเทศไทยยังจัดเป็นวันแห่งครอบครัวอีกด้วย Credit: TaManKunG/Getty Images
เทศกาลสงกรานต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฉลิมฉลองมานับพันปีแล้ว แต่เมื่อก่อนอาจไม่ได้เรียกว่าสงกรานต์ โดยเป็นประเพณีที่จัดขึ้นหลังฤดูเก็บเกี่ยวดร.โสภา โคล
“เทศกาลสงกรานต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเฉลิมฉลองมานานนับพันปีแล้ว แต่เมื่อก่อนนั้นอาจไม่ได้เรียกว่าสงกรานต์ โดยเป็นประเพณีที่จัดขึ้นหลังฤดูเก็บเกี่ยว เนื่องจากในหน้าร้อน จะไม่มีฝนตก ชาวนาจึงไม่ต้องทำนา เขาก็จะจัดพิธีรื่นเริงต่างๆ รวมทั้งการบูชาผี บูชาผีบรรพบุรุษ หรือบูชาผีพระแม่โพสพ โดยเป็นประเพณีของชาวบ้าน”
“ต่อมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลของอินเดีย ก็จะรับวัฒนธรรมของพราหมณ์เข้ามา ซึ่งพราหมณ์มีอิทธิพลในราชสำนัก จึงเริ่มมีพิธีกรรมต่างๆ เข้ามา และมีการใช้น้ำในพิธีกรรม ในยุคนั้นยังไม่มีการสาดน้ำ แค่นำน้ำมาใช้ในพิธีกรรมเท่านั้น แต่การเล่นสาดน้ำมีที่มาจากไหนนั้น นักวิชาการหาหลักฐานไม่พบว่ามาจากสมัยโบราณหรือเปล่า เพราะจากบันทึกสมัยสุโขทัยและจากหลักฐานที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไม่ได้พูดถึงการสาดน้ำ แต่จะพูดถึงพิธีอื่นๆ ดังนั้นการสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานน่าจะเป็นประเพณีสมัยใหม่มากกว่า”
การใช้น้ำในพิธีกรรม เช่น การทรงน้ำพระ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในประเพณีสงกรานต์นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมพราหมณ์จากอินเดีย Credit: Arisara_Tongdonnoi/Getty Images
การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานในช่วงสงกรานต์น่าจะเป็นประเพณีสมัยใหม่ เพราะไม่ปรากฎหลักฐานในบันทึกทางประวัติศาสตร์จากสมัยก่อน Source: Pixabay
เมื่อได้รับอิทธิพลของอินเดีย ก็รับวัฒนธรรมของพราหมณ์เข้ามา จึงเริ่มมีพิธีกรรมต่างๆ และมีการใช้น้ำในพิธีกรรม แต่ในยุคนั้นยังไม่มีการสาดน้ำดร.โสภา โคล
การขนทรายเข้าวัดและการก่อเจดีย์เป็นอีกอย่างที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาในช่วงสงกรานต์ Credit: Sutthiwat Srikhrueadam / EyeEm/Getty Images
คลิก ▶ เพื่อฟังสัมภาษณ์
เปิดปูมประวัติสงกรานต์
SBS Thai
12/04/202322:09
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
แพทย์วอนฉีดวัคซีนโควิด-ไข้หวัดใหญ่ก่อนหนาว คาดอาจระบาดหนัก 3 เท่า