คุณ พลอย สันติมณีรัตน์ กำลังทำงานเป็นนักบินผู้ช่วย (First Officer) ของ Sharp Airlines โดยประจำอยู่ที่ลอนเซสตัน (Launceston) ในแทสเมเนีย (Tasmania) เธอเล่าว่าการมีผู้หญิงขับเครื่องบินยังคงไม่ใช่ภาพที่คุ้นตาแม้กระทั่งในออสเตรเลีย
“ทั้งบริษัทที่พลอยทำอยู่ มีพลอยและเพื่อนอีกคนหนึ่งที่เป็นนักบินผู้หญิง แต่ทั้งบริษัทมีนักบินทั้งหมด 30-40 คนค่ะ” คุณพลอยบอกกับ เอสบีเอส ไทย
อีกทั้งตัวเธอเองนั้น ก็ไม่ได้เริ่มเรียนและทำงานด้านนี้มาตั้งแต่แรก โดยคุณพลอยทำงานในสายอาชีพอื่นมาก่อน และต้องมาตั้งต้นเรียนใหม่ แถมต้องทิ้งชีวิตในเมลเบิร์นไปอยู่ในส่วนภูมิภาค เพื่อจะได้ทำงานตามความฝัน
เครื่องบินของบริษัทที่คุณพลอยทำงาน ซึ่งเป็นเครื่องที่คุณพลอยได้ร่วมขับในฐานะนักบินผู้ช่วย Source: Supplied / Ploy Suntimaneerat
คุณพลอยต้องย้ายตามงานไปอยู่ที่แทสเมเนียในช่วงเริ่มต้นเข้าสู่วงการนักบินในออสเตรเลีย Source: Supplied / Ploy Suntimaneerat
"อีกอย่างคือเราได้มีอำนาจที่จะได้ตัดสินใจในสิ่งที่เราทำ ถ้ามันเป็นส่วนงานของเรา โดยคอยดูว่าหอ (ควบคุมการบิน) เขาจะสั่งยังไง เราต้องเลี้ยวยังไงหรือจะนำเครื่องลงยังไงให้มันนิ่มที่สุด ให้ผู้โดยสารมีความสุขเวลาที่เขาขึ้นมาและลงจากเครื่องบินของเรา” คุณพลอยเผยความรู้สึก
พอไปบิน มันเป็นอะไรที่อิสระมาก พลอยมีความสุขทุกครั้งที่ได้ไปบิน ปัญหาในชีวิตต่างๆ พลอยลืมไว้ข้างล่างหมดเลย เราแค่โฟกัสไปกับการไปข้างหน้า อยากทำให้มันดีที่สุด อยาก take off ให้ดี อยาก landing ให้ดีพลอย สันติมณีรัตน์ นักบินผู้ช่วย (First Officer) ของ Sharp Airlines
"พอไปบิน มันเป็นอะไรที่อิสระมาก พลอยมีความสุขทุกครั้งที่ได้ไปบิน" คุณ พลอย กล่าว Source: Supplied / Ploy Suntimaneerat
“ไม่จำเป็นค่ะ พลอยเองไม่ได้เก่งเลข หรือเรียนฟิสิกส์เคมีมา พลอยก็แค่บวกลบคูณหารง่ายๆ เพราะจริงๆ เราต้องคำนวณว่า ถ้าตอนนี้เครื่องเรามีน้ำมันประมาณเท่านี้ ถ้าอากาศไม่ดี มี headwind (แรงลมต้าน) เยอะ เราจะใช้เวลาบินวนได้นานเท่าไรเพื่อที่จะบินลงที่สนามบิน ก็คือใช้แค่บวกลบคูณหาร”
แม้กว่าจะเป็นนักบินหญิงในออสเตรเลียได้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คุณพลอยก็มีความสุขกับงานที่ทำ เธอจึงอยากฝากข้อคิดถึงทุกคนว่า
“วันนี้ถ้ารู้ตัวว่าสิ่งที่เราทำอยู่เราไม่ชอบ ให้เอาตัวเองออกมาจากจุดนั้นให้เร็วที่สุด เราจะได้ไม่หลงทางไปไกล ชีวิตเรายังอีกยาวไกลเลือกทำในสิ่งที่เรามีความสุขดีกว่า ทำไมเราจะต้องทรมานในสิ่งที่เราไม่ชอบตลอดชีวิต”
วันนี้ถ้ารู้ตัวว่าสิ่งที่เราทำอยู่เราไม่ชอบ ให้เอาตัวเองออกมาจากจุดนั้นให้เร็วที่สุด จะได้ไม่หลงทางไปไกล ชีวิตยังอีกยาวไกลเลือกทำในสิ่งที่เรามีความสุขดีกว่าพลอย สันติมณีรัตน์
คุณพลอยกว่าว่า การจะเป็นนักบินได้ในออสเตรเลีย ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่เรียนสายวิทยาศาสตร์มาเสมอไป Source: Supplied / Ploy Suntimaneerat
“ถ้าอายุยังไม่มาก ก็อาจเลือกเรียนด้านการบินกับมหาวิทยาลัย หรือถ้าอายุมากขึ้นมาหน่อยและมีเงินเก็บ ก็อาจเลือกเรียนกับโรงเรียนที่เขาสอนบิน”
“ถ้ามีพีอาร์หรือเป็นพลเมือง ตอนนี้หลายๆ สายการบินที่ขาดนักบิน เขาจะมีโครงการที่เรียกว่า Cadetship บางสายการบินอาจจะให้ทุน บางสายการบินเราอาจต้องใช้ทุนตัวเอง แต่พอเรียนจบ Cadetship ก็จะได้ทำงานกับสายการบินแน่ๆ ค่ะ”
คุณพลอยแนะนำว่า ก้าวแรกที่จะเข้าสู่วงการนักบินในออสเตรเลียมีหลายเส้นทาง Source: Supplied / Ploy Suntimaneerat
ตอนนี้หลายๆ สายการบินที่ขาดนักบิน เขาจะมีโครงการที่เรียกว่า Cadetship พอเรียนจบ ก็จะได้ทำงานกับสายการบินพลอย สันติมณีรัตน์ นักบินผู้ช่วย (First Officer) ของ Sharp Airlines
คุณพลอยยังพูดถึงรายละเอียดหลักสูตรที่เธอเรียนเพื่อจะได้ทำงานเป็นนักบินได้ในออสเตรเลีย เรียนอะไรบ้าง เรียนนานแค่ไหน ค่าเรียนเท่าไร เรียนจบแล้วการทำงานจริงๆ เป็นอย่างไร สะสมชั่วโมงบินนานกี่ปีถึงจะได้เป็นกัปตัน อะไรที่สนุกและอะไรที่ท้าทาย อะไรคือคุณสมบัติของการเป็นนักบินที่ดี ฟังประเด็นเหล่านี้ได้ในบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่นี่
คลิก ▶ เพื่อฟังสัมภาษณ์
สาวไทยติดปีกเป็นนักบินหญิงในออสเตรเลีย
SBS Thai
24/03/202318:25
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ติดปีกกับงานวิศวะการบิน