วิธีป้องกันไฟไหม้บ้าน เพื่อป้องกันความวอดวายที่อันตรายที่สุด

Brave Fireman of a Burning Building and Holds Saved boy in His Arms. Open fire and one Firefighter in the Background.

เหตุเพลิงไหม้ในออสเตรเลียส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบ้าน Source: Moment RF / Virojt Changyencham/Getty Images

การป้องกันอัคคีภัยในบ้านมีมากกว่าการติดตั้งสัญญาณเตือน น่าเศร้าที่เหตุอัคคีภัยในออสเตรเลียเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย เรามีข้อมูลที่คุณควรทราบเพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ในที่อยู่อาศัย


ประเด็นสำคัญ
  • ปัจจัยเสี่ยงเกิดไฟไหม้มักเกิดจากฮีตเตอร์และการสูบบุหรี่ อัคคีภัยอาจเกิดจากแหล่งความร้อนใดก็ได้
  • สิ่งสำคัญในการป้องกันอัคคีภัยคือความระมัดระวังเรื่องวัตถุไวไฟ
  • ควรสอนเด็กๆ เรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัยและการรับมือเหตุเพลิงไหม้

กด ▶ ด้านบนฟังพอดคาสต์

เหตุไฟไหม้บ้านส่วนมากมักสามารถป้องกันได้ ขณะที่ประกายไฟเกิดขึ้นได้เพียงชั่วขณะ


ผลจากประกายไฟเล็กๆ อาจไม่สามารถย้อนกลับได้ และเปลวไฟที่เล็กที่สุดอาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงหรือโศกนาฏกรรมอันน่าเศร้าได้

ร่วมกับหน่วยดับเพลิงแห่งรัฐวิกตอเรีย (Fire Rescue Victoria) ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้ที่อยู่อาศัยในแต่ละปีมากกว่าจากภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย พายุและไฟป่ารวมกัน

คุณแอนดรูว์ กิสซิง (Andrew Gissing) หนึ่งในผู้เขียนรายงานการศึกษาฉบับนี้และประธานฝ่ายบริหารขององค์กรวิจัยภัยธรรมชาติแห่งออสเตรเลียกล่าวถึงผลการวิจัยเรื่องความเกี่ยวข้องกันระหว่างการเสียชีวิตที่ป้องกันได้และการป้องกันอัคคีภัย

“ช่างน่าเศร้าที่การเสียชีวิตจากอัคคีภัยในที่พักอาศัยนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยในออสเตรเลีย การวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่ามีผู้เสียชีวิต 900 รายจากเหตุอัคคีภัยในที่พักอาศัยที่สามารถป้องกันได้ ระหว่างปี 2003 – 2017 ผู้เสียชีวิตแต่ละรายเป็นโศกนาฏกรรมอย่างแท้จริง ตัวเลขผู้เสียชีวิตโดยเฉลี่ยในช่วงเวลานั้นคือ 64 รายต่อปี”

Boy pouring methylated spirit on barbecue fire
อัคคีภัยในที่พักอาศัยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟไหม้ แต่ทุกคนสามารถป้องกันเหตุเพลิงไหม้ได้ Credit: Robert Niedring/Getty Images/Cavan Images RF/Getty Images
ผลการวิจัยยังชี้ว่า เหตุอัคคีภัยในที่พักอาศัยส่วนใหญ่เกิดในฤดูหนาวเนื่องจากอุปกรณ์หรือวิธีทำความร้อนที่ไม่ปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเรียกร้องให้ประชาชนใช้อุปกรณ์ทำความร้อนตามคำแนะนำของผู้ผลิต

นั่นคือหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ทำความร้อนแบบใช้กลางแจ้ง (outdoor heating) ในบริเวณตัวอาคาร รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ “เม็ดความร้อน (heat beads)” หรือที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas – LPG) เป็นเชื้อเพลิง

คุณกิสซิงกล่าวว่าอุปกรณ์ทำความร้อนที่ออกแบบมาเพื่อใช้กลางแจ้งนั้นไม่เหมาะสำหรับใช้ในบริเวณตัวอาคาร เนื่องจากอาจทำให้มีการสะสมของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon monoxide) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

“การเสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้ในที่พักอาศัยที่สามารถป้องกันได้มักเกิดขึ้นบ่อยในช่วงฤดูหนาว หลายกรณีเกิดจากฮีตเตอร์ (heaters) หรือเตาผิง ฯลฯ ช่วงฤดูหนาวประชาชนควรระมัดระวังเป็นพิเศษกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาใช้ฮีตเตอร์หรือเตาผิง”
ฟังพอดคาสต์ที่เกี่ยวข้อง
Be prepared: Simple tips to get yourself and your property ready for bushfire season image

เตรียมตัวให้พร้อม: วิธีง่ายๆ ในการเตรียมตัวให้ปลอดภัยในฤดูกาลไฟป่า

SBS Thai

05/01/202109:08
การศึกษาพบว่ากลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากเหตุอัคคีภัยในที่อยู่อาศัย ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีหรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี

เด็กๆ ยังเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากไฟลวกอีกด้วย แม้ว่าจะโดนประกายไฟที่ดับง่ายก็ตาม

คุณไซมอน ซัลลิแวน (Simon Sullivan) ผู้จัดการแผนกส่งเสริมสุขภาพเด็กจากเครือข่ายโรงพยาบาลเด็กในซิดนีย์ (Kids Health Promotion Unit at the Sydney Children’s Hospital Network) กล่าวว่า
โดยทั่วไปแล้วเด็กเล็กเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด ตามธรรมชาติแล้วพวกเขาค่อนข้างอยากรู้อยากเห็น
"และอุบัติเหตุเหล่านี้มักเกิดขึ้นภายในไม่กี่วินาที เด็กๆ มักมีผิวที่บอบบางมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งหมายความว่าเมื่อเด็กๆ ถูกไฟไหม้ ผิวจะถูกเผาไหม้ได้ลึกและเร็วกว่า แม้จะเป็นความร้อนที่อุณภูมิต่ำ”
new alarm for senior woman
ทุกรัฐและมณฑลในออสเตรเลียมีข้อกำหนดเรื่องเครื่องตรวจจับควัน ซึ่งทุกคนควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกปี Credit: sturti/Getty Images
อุปกรณ์ทำความร้อนและวัสดุรมควันมักเกี่ยวข้องกับเหตุอัคคีภัยในที่อยู่อาศัยหลายกรณี

แต่คุณกิสซิงเน้นว่ามักมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเหตุร่วมด้วย

“เหตุเพลิงไหม้ในที่อยู่อาศัยที่ป้องกันได้ส่วนใหญ่มักเกิดจากบุหรี่ ไฟฟ้าขัดข้อง ฮีตเตอร์และเตาผิง แต่ผมคิดว่าประเด็นสำคัญคือเมื่อเราดูที่ปัจจัยเสี่ยง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงเพียงอย่างเดียว เมื่อเราดูที่เหยื่อจากเหตุโศกนาฏกรรมจากอัคคีภัยในที่อยู่อาศัย มักมีปัจจัยต่างๆ ที่เกิดร่วมกันเกี่ยวเนื่องกับแต่ละบุคคล พฤติกรรมของพวกเขาและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย”
Smoke coming out from oven
ไฟปะทุออกมาจากเตาอบ Credit: Henrik Sorensen/Getty Images
คุณกิสซิงเสริมถึงหลักปฏิบัติเพื่อป้องกันเหตุอัคคีภัยในบ้าน เช่น เครื่องตรวจจับควันที่ใช้งานได้ แผนการหนีไฟและการไม่ปล่อยเตาทำกับข้าวทิ้งไว้จะสามารถช่วยได้

คุณมาร์ก ฮาลเวอร์สัน (Mark Halverson) ผู้จัดการฝ่ายบริหารด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัยที่หน่วยดับเพลิงและกู้ภัยเหตุฉุกเฉินแห่งรัฐควีนส์แลนด์ (Queensland Fire and Emergency Services - QEFS) กล่าวว่าการป้องกันเริ่มได้จากความรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับแหล่งทำความร้อนและรับมือตามเหตุการณ์

“การติดไฟนั้นต้องมีความร้อนที่เพียงพอในการจุดวัสดุที่ติดไฟได้ แหล่งความร้อนอาจเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่อุปกรณ์ทำความร้อน อุปกรณ์ทำอาหารและแบตเตอรี่ที่ชาร์จอย่างไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง ปกติแล้วเมื่อคนทั่วไปจะเข้านอนตอนกลางคืนหรือกำลังออกจากบ้าน"

พวกเขาควรแน่ใจว่าปิดแหล่งทำความร้อนดังกล่าวและจะไม่มีความเสี่ยงเกิดไฟขึ้นเมื่อพวกเขาไม่สามารถรับรู้ได้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นที่บ้านในช่วงเวลานั้น
ฟังพอดคาสต์ที่เกี่ยวข้อง
FT SG Ambulance image

เรียกรถพยาบาลอย่างไรในออสเตรเลีย

SBS Thai

26/12/202211:39
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีเหตุอัคคีภัยสูงขึ้นในที่พักอาศัยซึ่งเกิดจากอุปกรณ์ที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (lithium-ion battery)

คุณฮาลเวอร์สันกล่าวว่าเหตุอัคคีภัยเหล่านี้สามารถป้องกันได้ หากผู้คนตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเมื่อไม่ใช้อุปกรณ์ชาร์จที่ดี

“ปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นระหว่างการชาร์จแบตเตอรี่ เช่น หากเราใช้สกูตเตอร์ไฟฟ้า (e-scooter) เป็นต้น เนื่องจากสกูตเตอร์ไฟฟ้าบรรจุพลังงานค่อนข้างมาก ดังนั้นหากมีประกายไฟเกิดขึ้นจะเกิดเป็นพลังงานมากกว่าและมีโอกาสที่จะลุกลามได้เร็วกว่า ดังนั้นผมคิดว่าปัญหาอันดับหนึ่งคือหลายคนใช้อุปกรณ์ชาร์จที่ไม่ถูกต้องกับอุปกรณ์บางอย่าง"
การทื่ที่ชาร์จเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้ ไม่ได้หมายความว่าเป็นที่ชาร์จที่ถูกต้องเสมอไป
On Fire Adapter Smart Phone Charger At Plug In Power Outlet At Black Background
โทรศัพท์มือถือ แปรงสีฟัน เครื่องดูดฝุ่น แลปทอป อุปกรณ์ชาร์จไฟในครัวเรือนจำนวนมากใช้แบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน Credit: Chonticha Vatpongpee / EyeEm/Getty Images
นอกจากนี้ วัสดุติดไฟยังสามารถพบได้ในบริเวณหลังบ้านของคนส่วนใหญ่อีกด้วย

สิ่งเหล่านี้ได้แก่ กิ่งไม้แห้ง ขอนไม้ที่เก็บไว้ เสื้อผ้าเก่า อุปกรณ์ที่ติดไฟได้ง่ายต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์และสารเคมีที่มักเก็บไว้ในโรงเก็บของ

คุณฮาลเวอร์สันสรุปแนวปฏิบัติในการเก็บผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง

“หากต้องเก็บอุปกรณ์ เช่น เชื้อเพลิงตัดหญ้าหรือเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ ควรเก็บในภาชนะที่เหมาะสมสำหรับเก็บเชื้อเพลิงและเก็บให้ห่างจากอุปกรณ์อื่นๆ และแน่นอนให้ห่างจากความร้อนสูง ผมคิดว่าสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือเชื้อเพลิงและปุ๋ยไม่ควรอยู่ด้วยกัน นั่นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่คล้ายกัน ดังนั้นปัจจัยของความปลอดภัยในบ้านคือความมั่นใจว่าแยกเก็บวัสดุต่างๆ เหล่านี้และบรรจุในภาชนะที่เหมาะสม”
AAP
ควรมั่นใจว่าทุกคนในบ้านทราบว่าต้องทำอย่างไร ในกรณีเกิดอัคคีภัย Source: AAP / Getty Images/Imgorthand
สำหรับเครื่องตรวจจับควันไฟ (smoke alarm) ซึ่งแม้จะไม่ป้องกันไฟ แต่มันจะแจ้งเตือนล่วงหน้าและสร้างโอกาสให้สามารถดับไฟที่ยังไม่ลุกลามได้ด้วย

อย่างไรก็ตามคุณฮาลเวอร์สันเตือนว่าอย่าพยายามดับไฟ หากไม่ได้เตรียมพร้อม

“การมีเครื่องตรวจจับควันไฟที่ทำงานได้ดีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการรับประกันความปลอดภัยของเราและครอบครัวของเราที่บ้าน หากผู้ใดมั่นใจและมีอุปกรณ์เหมาะสมในการดับไฟ นั่นก็เป็นเรื่องดี แต่ผมขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่ไม่มั่นใจและไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการดับไฟ สิ่งสำคัญที่สุดที่พวกเขาสามารถทำได้คือพาตัวเอง ครอบครัวและคนอื่นๆ ที่อยู่ในบ้านออกไปข้างนอกให้เร็วที่สุดและโทรเบอร์ฉุกเฉิน 000 เพื่อขอหน่วยกู้ภัยดับเพลิงในพื้นที่” 
Household hazardous waste products and containers
ควรระมัดระวังในการจัดเก็บวัตถุไวไฟในบ้าน Credit: NoDerog/Getty Images
การดูแลให้ทุกคนในบ้านทราบว่าพวกเขาต้องทำอะไรหากเกิดเหตุเพลิงไหม้เป็นสิ่งสำคัญ

ตัวอย่างเช่น สอนเด็กๆ เรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัย นอกจากการโทรเบอร์ฉุกเฉิน 000

คุณซัลลิแวนแนะนำอีกว่าควรฝึกซ้อมดับเพลิงด้วย

“สิ่งแรกคือเตรียมแผนการหนีไฟในบ้านและฝึกกับครอบครัว สอนพวกเขาให้ ‘ก้มต่ำและหนีไป’ เพราะอากาศจะเย็นกว่า สะอาดกว่าเมื่ออยู่ใกล้พื้นดิน และสอนเด็กๆ ว่าหากเสื้อผ้าพวกเขาติดไฟ ให้ ‘หยุด ล้มตัวลง คลุมและกลิ้งตัว’ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาเอามือบังหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บบนใบหน้าและให้พวกเขากลิ้งตัวไปกับพื้น มันจะช่วยดับไฟได้เช่นกัน”
Man using fire extinguisher on arm chair on fire
ไม่ควรพยายามดับไฟด้วยตนเอง ยกเว้นไฟที่ยังไม่ลุกลามมากเกินไป และคุณมีอุปกรณ์ที่เหมาะสม Credit: Michael Blann/Getty Images
การสอนบุตรหลานให้ป้องกันอัคคีภัยอาจเป็นเรื่องน่ากลัว

คุณซัลลิแวนบอกเคล็ดลับในการขจัดความกลัวและการสอนโดยใช้บทสนทนา

“ทำให้เป็นเรื่องง่าย ทำให้มันสนุก ทำให้น่ามีส่วนร่วม พยายามใช้กิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง ผมคิดว่าจุดเริ่มต้นที่ดีคืออธิบายให้เด็กๆ ฟังถึงจุดประสงค์ของเครื่องตรวจจับควัน มันทำงานอย่างไร มันอยู่ที่ไหน มันหน้าตาเป็นอย่างไร มันจะมีเสียงอย่างไร เสียงเตือนแจ้งไฟไหม้และเสียงเตือนว่าแบตเตอรี่ต่ำ ดังนั้นหากเกิดเหตุไฟไหม้"
พวกเขาจะไม่ตื่นตระหนกเพราะพวกเขาคุ้นชินกับเสียงเตือนและสิ่งที่พวกเขาต้องทำ
Little girl turns the oven button
อุบัติเหตุเกี่ยวกับความร้อนเกิดขึ้นได้ในไม่กี่วินาที หากปล่อยให้เด็กอยู่ในครัวโดยไม่มีใครดูแล Credit: tolgart/Getty Images

เคล็ดลับความปลอดภัยจากอัคคีภัยสำหรับผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก

อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share