นักวิทย์ฯ ชี้ก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศเข้าขั้นวิกฤต พร้อมแนะครัวเรือนทำปุ๋ยหมัก

EARTH NASA PROGRAM TRACKING METHANE

นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าปัจจุบันปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์ Credit: NASA/SCIENTIFIC VISUALIZATION STUDIO HANDOUT/EPA

ก๊าซมีเทนเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกรุนแรงขึ้น จากรายงานล่สุดพบว่ามีการใช้งบประมาณรัฐเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นเพื่อการแก้ไขเรื่องนี้ ปัจจุบันออสเตรเลียมีนโยบายแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ เปิดเผยว่าพวกเขาได้คิดค้น วิธีเปลี่ยนการปล่อยก๊าซมีเทนจากแหล่งฝังกลบให้กลายเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน โดยเปลี่ยนขยะเป็นขุมสมบัติทางวิทยาศาสตร์

หัวหน้านักวิจัย จากคณะวิศวกรรมเคมีและชีวโมเลกุล ของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยซิดนีย์ และสถาบัน Net Zero ศาสตราจารย์ พี เจ คัลเลน กล่าวว่ากระบวนการทางเคมี ที่นำพลาสมา มาใช้เพื่อสร้างเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่มีศักยภาพในผลิตพลังงานไฟฟ้าในอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษหนัก เช่น การบินและการขนส่ง ศาสตราจารย์ Cullen เปิดเผยถึงการค้นพบดังกล่าวว่า

"เรามุ่งมั่นพัฒนาและคิดค้น การใช้พลังงานไฟฟ้าของอุตสาหกรรมเคมี ซึ่งก๊าซมีเทน เป็นหนึ่งในหัวข้อที่เราสนใจ มันเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นในแง่ของการเอาเทคโนโลยีที่มีศักยภาพมาใช้เปลี่ยนสารที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก มาเปลี่ยนเป็นพลังงานที่อุตสาหกรรมต้องการได้ "

ด้านนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศนานาชาติ เตือนว่าการตรวจจับและควบคุมการปล่อยก๊าซมีเทน เป็นสิ่งสำคัญในการชะลอผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในรายงานฉบับล่าสุด นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ชี้ว่า ปัจจุบันปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ศาสตราจารย์ด้านธรณีศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Duke ของสหรัฐอเมริกา ดริว ชินเดล ซึ่งเป้นนักวิจัยร่วม ในรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า

"นับตั้งแต่ประมาณปี 2006 เราได้สังเกตว่าก๊าซมีเทน มีความเข้มข้นขึ้นเกือบทุกปี โดยการวัดค่าครั้งล่าสุดพบว่า มีอัตราการเติบโตของก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศมากที่สุด ตั้งแต่มีการบันทึกการสังเกตการณ์"

News Bulletin 2009
ก๊าซมีเทนเป็นหนึ่งในสามของสาเหตุของภาวะโลกร้อน รองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Credit: Courtesy of Abbie O'Brien

 นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของก๊าซมีเทนส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น

 ในอุตสาหกรรมที่ปล่อยของเสีย การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และการเกษตร ก๊าซมีเทนเป็นหนึ่งในสาม ของสาเหตุของภาวะโลกร้อน รองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งพบได้บ่อยกว่าและลอยอยู่นานกว่าในชั้นบรรยากาศ

แต่ก๊าซมีเทนมีความสามารถในการดักจับความร้อนได้มากกว่า ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ชั้นบรรยากาศอุ่นขึ้นกว่า 80 เท่า ซึ่งเทียบกับการปล่อยเก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะเวลา 20 ปี

ศาสตราจารย์ชินเดลล์กล่าวว่า ถ้าเราสามารถการควบคุมการปล่อยก๊าซมีเทน อาจช่วยลดผลกระทบนี้ได้

" ระหว่างปัจจุบันจนถึงปี 2050 เราต้องช่วยกันลดก๊าซมีเทน วึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการชะลอภาวะโลกร้อน การลดก๊าซมีเทนเพียงเล็กน้อย อาจจจะไม่ต้องเท่ากับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่มันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมหาศาล"


บทความนี้สอดคล้องกับรายงานฉบับล่าสุดจากสภาสภาพภูมิอากาศออสเตรเลีย ซึ่งเรียกร้องให้ออสเตรเลียดำเนินการที่เข้มงวดมากขึ้นในการแก้ไขปัญหามลพิษจากก๊าซมีเทน

 ผู้อำนวยการสภาสภาพภูมิอากาศกล่าวว่าออสเตรเลีย ศาสตราจารย์เลสลีย์ ฮิวจ์ กล่าวว่า ออสเตรเลียมีการผลิตก๊าซมีเทนจำนวนมากเมื่อเทียบกับนานาชาติ

 "ออสเตรเลียผลิตก๊าซมีเทนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก แต่เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรต่อหัวแล้วเราผลิตมีเทนมากถึง 4-5 เท่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ดังนั้นเราต้องแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องนี้ "

 ในรายงานดังกล่าวมีการเรียกร้องให้บริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิล ต้องติดตาม รายงาน และลดการปล่อยก๊าซมีเทน พร้อมๆ กับเสนอแนะให้เพิ่มแรงจูงใจ เพื่อให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทน

ศาสตราจารย์ฮิวจ์ กล่าวว่าการจัดการขยะทีมีประสอทธิภาพมากขึ้น เช่น การทำปุ๋ยหมัก ก็มีความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซมีเทนเช่นกัน

"ในออสเตรเลีย มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของขยะเปียกที่เป็นอาหาร ถูกนำไปฝังกลบ และนั่นคือการเริ่มต้นของกระบวนการผลิตก๊าซมีเทน ดังนั้นหากเราสามารถรวบรวมเศษอาหาร และมีวิธีจัดการที่ดีขึ้น เช่น มีการนำไปทำปุ๋ยหมักหรือในฟาร์มไส้เดือน มันจะช่วยลดก๊าซมีเทนได้ "

 

การลงทุนและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหานี้ เช่น การตรวจจับมีเทนแล้วนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานหมุนเวียน อย่างที่นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์กำลังทำอยู่ ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน

 โฆษกรัฐมนตรีกระทรวงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน คริส โบเวน กล่าวในแถลงการณ์ว่า

“รัฐบาลกำลังดำเนินการอย่างแข็งขันเพื่อผลักดันการลดก๊าซมีเทนทั้งระบบเศรษฐกิจ เรื่อยไปตั้งแต่ฟาร์มการเกษตร ไปจนถึง การผลิตในอุตสาหกรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามที่เราลงนามไว้



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 



บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่  



 

Share