เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางประเทศขับรถเลนขวาแต่บางประเทศขับรถเลนซ้าย

รู้ไหมว่าถ้าคนออสเตรเลียขับรถในสหรัฐอเมริกาอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุและบาดเจ็บสาหัสถึงสองเท่า

Two images, one of a 'keep left' road sign, the other a 'keep right' road sign.

การขับรถเลนขวาหรือซ้ายจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ Source: Getty

ประเด็นสำคัญ
  • ชายชาวเวสเทิร์นออสเตรเลียคนหนึ่งถูกจำคุกในสหรัฐฯ หลังจากที่เขาขับรถชนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย
  • ประมาณร้อยละ 65 ของประชากรโลกขับรถเลนขวา
  • มีความเป็นห่วงเกี่ยวกับผู้ขับขี่ชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ
การขับรถในต่างประเทศที่ขับรถเลนขวาซึ่งไม่ใช่ฝั่งที่คุณคุ้นเคยอาจเป็นเรื่องที่น่าหวาดหวั่น

ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาก็เป็นหนึ่งในประเทศใช้การจราจรขวามือในขณะที่ออสเตรเลียใช้การจราจรซ้ายมือ

ชายชาวออสเตรเลียคนหนึ่งถูกจำคุกในสหรัฐอเมริกาหลังจากเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง โดยเขาถูกกล่าวหาว่าขับรถผิดด้านของถนน

ตำรวจเชื่อว่าเขาอาจเกิดความสับสนว่าเขาควรจะขับรถเลนไหน

ในโลกนี้มีประชากรราว 65 เปอร์เซ็นต์ขับรถทางด้านขวาของถนน โดยส่วนใหญ่จะมีพวงมาลัยอยู่ทางด้านซ้ายมือของรถ

ในขณะที่ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีรถพวงมาลัยขวาและขับเลนซ้ายของถนน

A woman driving a left hand drive vehicle with a man in the passenger seat next to her.
รถที่มีพวงมาลัยด้านซ้ายจะขับรถในเลนขวาของถนน Source: Getty / urbazon

อุบัติเหตุร้ายแรงบนถนนในสหรัฐฯ

กรณีที่ชายชาวเวสเทิร์นออสเตรเลียคนหนึ่งถูกจำคุกในสหรัฐอเมริกาและเขาอยู่ในระหว่างรอการพิจารณาคดีของศาล หลังจากรถที่เขาขับชนเข้ากับรถอีกคันอื่นใกล้กับเมืองลาฮอนด้า ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ในแคลิฟอร์เนีย จากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย

สำนักข่าว เมอคิวรี นิวส์ รายงานว่า เนื่องจากชายคนนี้เพิ่มเข้ามาอาศัยในสหรัฐอเมริกา เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงรัฐแคลิฟอร์เนียจึงเชื่อว่า "เขาอาจคิดว่าเขากำลังขับรถอยู่ทางด้านขวาของถนน"

แม่ของชายผู้นี้ที่สันนิษฐานว่าถูกจำคุกจากอุบัติเหตุครั้งนี้ได้โพสต์เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวบนโซเชียลมีเดียว่า

“ลุคประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง โดยที่เขาบังเอิญขับรถผิดด้านทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งลุคและครอบครัวของเราเสียใจมาก” เธอเขียน

A 'keep left' sign next to a road with snow capped mountains in the background.
ในบางกรณีผู้ขับขี่ที่มาจากต่างประเทศไม่เพียงต้องขับรถต่างเลนแต่พวกเขายังต้องเผชิญกับเส้นทางและสภาพถนนที่ไม่คุ้นเคย Source: Getty / SCM Jeans
ความปลอดภัยบนถนนของผู้ขับขี่ชาวต่างชาติเป็นปัญหาที่กำลังได้รับความสนใจในหลายประเทศ

อย่างเช่นในประเทศนิวซีแลนด์ ในปี 2016 ก็มีการรณรงค์ให้ความรู้ที่เรียกว่าโครงการให้ความรู้กับคนขับชาวต่างชาติ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากนักท่องเที่ยวต่างชาติบนท้องถนน

จากรายงานของ Stuff ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องนี้ของนิวซีแลนด์ กำลังพิจารณาว่าอาจมีการห้ามผู้ขับขี่ต่างชาติขับรถบนถนนที่มีความ"ท้าทาย" โดยเฉพาะถนนสายหนึ่งที่มุ่งหน้าไปยังเมืองมิลฟอร์ดซาวด์ได้หรือไม่

มีการหยิบยกข้อกังวลว่าผู้ขับขี่ต่างชาติที่ไม่ได้เตรียมตัวรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดจากอันตรายทางธรรมชาติที่ไม่คุ้นเคยในพื้นที่นั้น ส่งผลให้ตนเองและผู้อื่นตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ


ในออสเตรเลียเอง ในปี 2017 รัฐบาลวิกตอเรียก็ได้ติดตั้งป้ายในหลากหลายภาษาตามถนนเกรทโอเชียน โรด (Great Ocean Road) เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่ที่มาจากต่างประเทศสามารถเข้าใจและเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่บนทางเส้นทางท่องเที่ยวได้ดีขึ้น

ส่วนรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียก็มีการตั้งป้ายคล้ายคลึงกัน โดยติดตั้งป้ายเป็นภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส และจีนกลาง บนถนนทางตรงยาวที่เหล่านักท่องเที่ยวสัญจรเป็นประจำ ซึ่งมีอุบัติเหตุรถชนกันหลายครั้ง

นอกจากนี้ ยังมีการทาสีลูกศรสีแดงบนถนนเลียบอินเดียน โอเชียน ไดร์ฟ (Indian Ocean Drive) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการชนกัน

การจราจรเลนซ้ายปลอดภัยกว่าการจราจรเลนขวาหรือไม่?

มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในปี 1969 พบว่าประเทศที่คนขับเลนซ้ายมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจรต่ำกว่าประเทศที่ขับรถเลนขวา แต่การศึกษาล่าสุดที่มีขึ้นในปี 2020 ซึ่งเป็นการวิจัยเกี่ยวกับพยายามที่จะระบบประสาทของมนุษย์ที่ทำงานฝั่งซ้ายหรือขวาได้ดีกว่ากัน

ซึ่งการศึกษานี้สันนิษฐานว่าความถนัดของมือ การเคลื่อนไหวของดวงตา การทำงานของสมองซีกซ้าย/ขวา อาจเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประเด็นนี้

A sign by a remote road that reads 'Drive on left in Australia'
ป้ายเตือนผู้ขับขี่ให้ขับรถเลนซ้ายพบได้ในหลายเส้นทางทั่วออสเตรเเลีย Source: Getty / Simon McGill
การขาดข้อมูลเปรียบเทียบทางสรีรวิทยาประสาทวิทยาที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุจราจร ส่งผลให้ไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องนี้โดยตรงได้

แต่ในทางอ้อม พบว่าสรีรวิทยาของระบบประสาทอาจช่วยให้การขับรถทางซ้าย “อาจปลอดภัยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ใช้ภาษาที่มีรากมาจากภาษาละติน”

ประวัติศาสตร์ของการขับรถเลนซ้ายและขวา

ศาสตราจารย์ จอน สแตรทตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของคณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์แห่งมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย กล่าวว่ากฎจราจรถูกนำมาใช้เมื่อมีจำนวนยานพาหนะบนถนนเพิ่มขึ้น

“ตามประวัติศาสตร์แล้ว ไม่มีความจำเป็นที่ผู้คนต้องเดินทางไปเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเพราะบนถนนมีการจราจรที่ไม่หนาแน่นและเคลื่อนตัวช้า”

ศาสตราจารย์ สแตรทตัน ชี้ว่าการจราจรบนถนนที่คับคั่งเกิดขึ้นในนครลอนดอน ระหว่างยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม

Water with mountains in the near and far distance
เมือง มิลฟอร์ด ซาด์ เป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมเยือน ทางการนิวซีแลนด์ กำลังพิจารณาว่าอาจมีการห้ามผู้ขับขี่ต่างชาติขับรถบนเส้นทางไปยังเมืองนี้เพราะมีความอันตรายกับผู้ที่ไม่ชินเส้นทาง Source: AAP / .
“เริ่มมีการจัดระเบียบการจราจรขึ้นในลอนดอน ในการการขับรถข้ามสะพานที่ผมคาดว่าน่าจะเป็นสะพานลอนดอน เพราะว่าที่นั่นเริ่มจะแออัดมาก” เขากล่าว

“รัฐบาลท้องถิ่นจึงตัดสินใจว่าให้ผู้คนขับรถชิดซ้าย และจากนั้นก็กลายเป็นเรื่องที่ปฏิบัติกันทั่วประเทศ”

ในส่วนอื่นๆ ของโลก บางคนเชื่อว่าการขับรถชิดซ้ายเป็นที่นิยมมากมากกว่า เนื่องมาจากการขับม้าต่างเกวียน

ศาสตราจารย์ สแตรทตัน กล่าวว่า

“ถ้าคุณถนัดขวา คุณก็จะใช้แส้ในมือ เพื่อที่คุณจะใช้แส้กับม้าด้วยมือขวาได้ ซึ่งหมายความว่าคุณน่าจะอยู่ทางขวามือของถนนดีกว่า"

แต่กฎจราจรอาจถูกกำหนดไว้ โดยอ้างอิงจากการที่คนใช้ถนน

A young man putting on his seatbelt in a right hand side drive car.
รถยนต์ที่มีพวงมาลัยอยู่ด้านขวาถูกออกแบบมาให้ขับรถเลนซ้าย Source: Getty / andresr
เชื่อกันว่าผู้คนในบางประเทศ อยากให้ผู้อื่นเดินทางซ้ายเพราะว่าพวหเขาถือดาบไว้ทางขวา ศาสตราจารย์ สแตรทตัน อธิบายว่า

“หากมีใครลอบโจมตีคุณสามารถชักดาบออกมาอย่างรวดเร็วแล้วสู้กับพวกเขาอย่างทันท่วงทีได้”

โดยทั่วไปประเทศในเครือจักรภพจะขับรถไปด้านซ้าย ส่วนประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรนั้นๆ ก็จะปฏิบัติตามประเทศเจ้าอาณานิคม

ศาสตรจารย์ สแตรทตันกล่าวว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บางประเทศเปลี่ยนจากการให้มีการจราจรทางซ้ายไปขวาหรือสลับกับที่มีการปฏิบัติอยู่ก่อนหน้า

ในหลายกรณี เป็นเพียงการปฏิบัติตามประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจถือเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัย

การจราจรที่มีการสลับข้างครั้งล่าสุด

ในปี 1967 ประเทศสวีเดนได้เปลี่ยนจากการขับรถทางซ้ายมาเป็นการขับรถทางขวามือ

แม้ว่าสำนักข่าว BBC รายงานว่า คิดว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจเป็นการช่วยเพิ่มชื่อเสียงของประเทศได้ แต่เบื้องหลังการตัดสินใจดังกล่าวก็คือเหตุผลของความปลอดภัย

คนส่วนใหญ่ในสวีเดนขับรถพวงมาลัยด้านซ้าย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้มีการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในประเทศสูง

ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้น ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่จึงถูกบังคับให้ขับรถตรงกลางถนน


ในปี 2009 ซามัวก็กลายเป็นประเทศล่าสุดในรอบหลายทศวรรษที่เปลี่ยนจากการขับรถด้านขวามือไปเป็นขับรถทางซ้าย

นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ตัดสินใจเปลี่ยนกฎจราจรของประเทศให้สอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  



บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



Share
Published 7 September 2023 11:23am
Updated 7 September 2023 2:23pm
By Aleisha Orr
Presented by Chayada Powell
Source: SBS


Share this with family and friends