ประธานสหภาพแรงงานออสฯ ดันขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ

NEWS: มิเชล โอนีล ประธานเอซีทียู เตรียมชี้แจงกรณีขอขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำหกเปอร์เซ็นต์ ต่อคณะกรรมาธิการการว่าจ้างงานอย่างเป็นธรรม

Image of ACTU President Michele O'Neil

มิเชล โลนีล หัวหน้าเอซีทียูต้องการให้คณะกรรมาธิการการว่าจ้างงานอย่างเป็นธรรมเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นหกเปอร์เซ็นต์ Source: AAP

You can read the full version of this story in English on SBS News .

มิเชล โอนีล หัวหน้าสหภาพแรงงานจะต่อสู้เพื่อขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำหกเปอร์เซ็นต์ต่อหน้าคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม

เธอจะเป็นตัวแทนของสภาสหภาพแรงงานช่างแห่งออสเตรเลีย (Australian Council of Trade Unions) ที่จะขอเพิ่ม(ค่าจ้างขั้นต่ำ)ขึ้น $43 ดอลลาร์ ในการฟังความโดยคณะกรรมาธิการการว่าจ้างงานอย่างเป็นธรรมที่นครซิดนีย์ในวันนี้

นางโอนีลเป็นประธานเอซีทียูคนแรกที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนับตั้งแต่นายบ็อบ ฮอว์ค เมื่อสมัยทศวรรษที่ 1970

เธอจะชี้แจงกรณีการขอเพิ่ม(ค่าจ้างขั้นต่ำ) “เพียงเล็กน้อย” ที่หกเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเธอกล่าวว่าจะมีผลกระทบต่อคนจำนวนกว่าสองล้านคน

โดยเธอจะโต้แย้งว่าความมั่งคั่งและรายได้นั้น ไม่ได้ถูกแบ่งปันระหว่างกันในประเทศออสเตรเลีย

เธอจะกล่าวว่า “วิถีทางกลไกตลาดให้จ่ายกันต่อๆ ลงมาเป็นทอดๆ (trickle-down market approach) นั้น ว่ากันง่ายๆ มันไม่สามารถที่จะส่งผลให้เกิดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่ยุติธรรมและการให้ความคุ้มครองด้านรายได้เบื้องต้น (safety net) ดังนั้นจึงไม่เพียงพอที่จะพยุงความต้องการปกติของมนุษย์ได้ ทั้งๆ ที่อยู่อาศัยกันในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดแห่งหนึ่งในโลก”

“วิถีดังกล่าวนั้น เป็นการบอกผู้ซึ่งได้ช่วยให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมาเป็นเวลา 27 ปีโดยไม่สะดุด ณ ประเทศนี้ว่าพวกเขาควรจะยืนเฉยๆ แค่นั้นก็ดีที่สุดแล้ว ในขณะที่ผู้ซึ่งอยู่เหนือคนอื่นนั้นเร่งความเร็วหนีห่างออกไปบนทางด่วน”

“พวกเราขอปฏิเสธวิธีนี้”

เธอกล่าวว่าตัวเลขค่าจ้างแรงงานตามความเป็นจริงที่แทบไม่เพิ่มขึ้นเลยนั้นส่งผลให้มีผู้ซึ่งยากจนทั้งๆ ที่มีงานทำ เกิดความไม่เท่าเทียมกันในระดับสูง และเกิดความแตกแยกทางสังคม

นางโอนีลจะชี้ให้เป็นถึงตัวเลขสถิติต่างๆ เพื่อสนับสนุนการผลักดันของเอซีทียู รวมถึงการถดถอยลงของการบริโภคโดยครัวเรือน อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปในระดับต่ำ

การทบทวนในเรื่องนี้เกิดขึ้นในขณะที่พรรคแรงงานสัญญาว่าจะยกเลิกข้อเสนอของพรรคร่วมเพื่อให้มีการทบทวนค่าจ้างแรงงานเป็นประจำทุกปี และจะขอให้คณะกรรมาธิการอุตสาหกรรมนั้นเพิ่มค่าจ้างแรงงานให้สูงขึ้น

หากได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในวันเสาร์ พรรคแรงงานยังจะขอให้ทางคณะกรรมาธิการพิจารณาแนวคิดเรื่อง “ค่าจ้างแรงงานยังชีพ (living wage)”

แต่กลุ่มธุรกิจต่างๆ กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นหกเปอร์เซ็นต์นั้นจะทำลายตำแหน่งหน้าที่การงานและเป็นภัยคุกคามต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ในทางกลับกันภาคส่วนธุรกิจจะโต้แย้งเพื่อให้มีการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่สองเปอร์เซ็นต์ในปีนี้ ซึ่งจะทำให้รายได้ต่อสัปดาห์เพิ่มสูงขึ้น $14.40 ดอลลาร์จากระดับปัจจุบันที่ $719.20 ดอลลาร์

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 15 May 2019 9:04am
By SBS News
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS


Share this with family and friends