เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ ที่ได้ปะทุขึ้นมาจนกลายเป็นการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกนั้น สามารถมีชีวิตและแพร่เชื้อต่อไปได้ในละอองฝอยของเสมหะในอากาศเป็นเวลาหลายชั่วโมง และบนพื้นผิวของวัตถุต่างๆ เป็นเวลาหลายวัน จากการศึกษาวิจัยใหม่ที่อาจจะใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการติดโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ที่เรียกกันว่า โควิด 19 นี้ได้
เหล่านักวิทยาศาสตร์จากสถาบันด้านโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันด้านสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (NIH) พยายามจำลองการที่ไวรัสนี้แพร่กระจายจากผู้มีเชื้อ ไปติดอยู่ตามพื้นผิวของสิ่งต่างๆ ในบ้าน หรือในโรงพยาบาล ผ่านการไอ หรือการสัมผัสกับวัตถุต่างๆ
โดยนักวิทยาศาสตร์ใช้อุปกรณ์พ่นละอองลอยในอากาศ เพื่อจำลองละอองฝอยของเสมหะที่ล่องลอยในอากาศ ซึ่งเกิดขึ้นจากการไอหรือการจาม
หลังจากนั้น เหล่านักวิทยาศาสตร์จะทดสอบว่าเชื้อไวรัสยังคงมีความสามารถในการระบาดขณะติดอยู่บนพื้นผิวพวกนั้นได้นานเท่าไหร่ โดยข้อมูลการศึกษาวิจัยนี้ ได้รับการเผยแพร่ออนไลน์ ในวารสารด้านการแพทย์นิวอิงแลนด์ ( เมื่อวันอังคาร (17 มี.ค.)
จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า เมื่อเชื้อไวรัสที่ติดมากับละอองฝอยของเสมหะที่ล่องลอยในอากาศ ซึ่งถูกปล่อยออกมาจากการไอหรือการจามของใครสักคน มันยังคงมีชีวิตอยู่ได้ และยังสามารถแพร่กระจายไปติดยังคนอื่นๆ ผ่านทางละอองในอากาศอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมงบนพื้นผิวที่เป็นพลาสติกและสแตนเลสนั้น ยังสามารถตรวจพบเชื้อไวรัสที่มีชีวิตอยู่ได้ถึง 3 วันหลังจากนั้น ขณะที่บนพื้นผิวที่เป็นกระดาษลังแข็ง (cardboard) เชื้อไวรัสจะสามารถจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลังผ่าน 24 ชั่วโมงไปแล้ว ส่วนบนพื้นผิวที่เป็นทองแดง ใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมงที่เชื้อไวรัสจะหมดฤทธิ์ไป
Firefighters disinfect a street against the new coronavirus, in western Tehran, Iran Source: AP
สำหรับเรื่องค่าครึ่งชีวิตของเชื้อไวรัส ทีมนักวิจัยพบว่า ใช้ระยะเวลาประมาณ 66 นาที ในการที่อนุภาคครึ่งหนึ่งของเชื้อไวรัสจะหมดฤทธิ์ลง ถ้าพวกมันอยู่ในละอองฝอยของเสหะที่ล่องลอยในอากาศ
นั่นหมายความว่า หลังจากนั้นอีก 1 ชั่วโมง 6 นาที อนุภาคของเชื้อไวรัสอีก 3 ใน 4 ส่วนจะหมดฤทธิ์ลง แต่อีก 25 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือจะยังคงมีชีวิตต่อไป โดยจำนวนเชื้อไวรัสที่ยังมีชีวิตอยู่จนถึงท้ายชั่วโมงที่ 3 จะลดลงไปเหลือเพียง 12.5 เปอร์เซ็นต์ จากผลการศึกษาวิจัยซึ่งนำโดย คุณนีลเทจ์ แวน โดเรมาเลน (Neeltje van Doremalen) จากสถาบันด้านโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID)
นักวิจัยพบว่า เชื้อไวรัสที่อยู่บนพื้นผิวสแตนเลส จะใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมง 38 นาที ก่อนที่อนุภาคครึ่งหนึ่งของมันจะหมดฤทธิ์ลง ขณะที่เชื้อไวรัสบนพื้นผิวพลาสติก จะมีค่าครึ่งชีวิตอยู่ที่ 6 ชั่วโมง 49 นาที
ส่วนค่าครึ่งชีวิตของเชื้อไวรัสบนพื้นผิวกระดาษลังแข็ง (cardboard) นั้นอยู่ที่ราว 3 ชั่วโมงครึ่ง แต่นักวิจัยบอกว่ายังมีตัวแปรอื่นอีกมากในผลการทดลองนี้ “ดังนั้น เราจึงแนะนำให้ระมัดระวัง” การตีความตัวเลขเหล่านั้น
ไวรัสนี้จะมีชีวิตอยู่เป็นระยะเวลาที่สั้นที่สุดบนพื้นผิวทองแดง โดยครึ่งหนึ่งของเชื้อไวรัสจะหมดฤทธิ์ลงภายใน 46 นาที
ถ้าคุณคิดว่าอาจจะติดเชื้อไวรัสโคโรนา อย่าเพิ่งไปหาหมอ แต่ให้โทรปรึกษาก่อน หรือติดต่อ National Coronavirus Health Information Hotline ที่เบอร์ 1800 020 080
ถ้ารู้สึกว่าหายใจลำบากหรือต้องการความความช่วยเหลือฉุกเฉิน โทร 000
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจ
นายกออสฯ ยัน โรงเรียนยังคงเปิดต่อไปในช่วงวิกฤตโคโรนา