จะมีการประเมินผลการทดลองฉีดวัคซีนต้นแบบป้องกันเชื้อโควิด-19 หรือเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่ได้มีการทดสอบกับมนุษย์เป็นครั้งแรกในนครซีแอทเติล เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพของสหรัฐเผยเมื่อวันจันทร์ (16 มี.ค.) สร้างความหวังให้แก่การต่อสู้ทั่วโลกเพื่อยับยั้งการระบาดของเชื้อนี้
แต่อาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 1 ปีถึง 18 เดือน ก่อนที่วัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 จะผลิตออกมาฉีดให้ประชาชนทั่วไปได้ หลังจากวัคซีนจะต้องผ่านการทดสอบหลายระยะเพื่อพิสูจน์ว่าใช้ได้ผลจริงและปลอดภัย
วัคซีนดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า mRNA-1273 และได้รับการคิดค้นพัฒนาขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ ของสถาบันด้านสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (NIH) และผู้ร่วมการพัฒนาวัคซีนจากบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ชื่อโมเดอร์นา ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ ในรัฐแมซซาชูเสตต์ ของสหรัฐ“การทดลองแบบเปิด (เอสบีเอสไทย: Open-label ที่ทั้งผู้วิจัยและผู้ร่วมทดลองจะรู้ว่าเป็นการใช้ยาใด) จะเปิดรับอาสาสมัครวัยผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี 45 คน อายุระหว่าง 18-55 ปี มาทำการทดลองเป็นเวลาราว 6 สัปดาห์” เอ็นไอเอช กล่าว
A syringe containing the first shot given in the first-stage safety study clinical trial of a potential vaccine for the COVID-19. Source: AP
“ผู้เข้าร่วมการทดลองคนแรกได้รับการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยแล้ววันนี้”
“การค้นพบวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 เป็นวาระสำคัญอันดับหนึ่งที่เร่งด่วนด้านสาธารณสุข” นายแอนโทนี เฟาซี หัวหน้าด้านโรคติดต่อของ เอ็นไอเอช กล่าว โดยระบุถึงชื่อทางวิทยาศาสตร์ของเชื้อไวรัสตัวนี้ ที่เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดจากค้างคาว
“นี่เป็นระยะแรกของการศึกษาวิจัย ซึ่งเริ่มเปิดดำเนินการอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการ ซึ่งระยะนี้เป็นก้าวย่างแรกที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายนั้น”
การทดสอบวัคซีนในซีแอตเติลครั้งนี้นั้น จะศึกษาผลของการฉีดวัคซีนต้นแบบในปริมาณที่แตกต่างกันเข้าไปยังกล้ามเนื้อขนช่วงบน โดยที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยจะถูกจับตาดูผลข้างเคียง เช่น อาการเจ็บคอ หรือมีไข้สูง
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
อย่างน้อย 1 ปีกว่าจะมีวัคซีนไวรัสโคโรนา
สัณฐานของเชื้อไวรัสโคโรนา ที่มีลักษณะกลมและมีกระเปาะที่ยื่นออกมาจากพื้นผิว ทำให้มันมีลักษณะเหมือนมงกุฎ กระเปาะที่ยื่นออกมาดังกล่าว จะเกาะติดกับเซลล์ของมนุษย์ และช่วยให้ไวรัสนี้เข้าไปภายในได้
วัคซีนต้นแบบในการวิจัยของโมเดอร์นา มีดีเอ็นเอของกระเปาะเหล่านี้อยู่ในตัววัคซีน ซึ่งเรียกกันว่า "messenger RNA"
การฉีด "messenger RNA" จากกระเปาะของเชื้อที่ยื่นออกมาลงไปในเนื้อเยื่อมนุษย์ และทำให้มันเจริญเติบโตภายในร่างกาย จะกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้นกัน โดยที่ไม่ได้ฉีดเชื้อไวรัสอย่างเต็มรูปแบบเข้าไปในร่างกายมนุษย์
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
สถานการณ์ “ร้านอาหารไทย” ท่ามกลางวิกฤตโคโรนา