พบออสฯ มีเศรษฐีเพิ่มมากกว่าช่วงก่อนโควิดระบาด

รายงานล่าสุดจากองค์กรต้านความยากจน “ออกซ์แฟม” เผยกลุ่มคนรวยสุดขีดและบริษัทไม่กี่แห่ง มีผลกำไรงอกงามท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดและเศรษฐกิจโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

Male hand hiding Australian banknotes in pocket

As the world lurches from crisis to crisis, the ultra-rich are lining their pockets. Source: iStockphoto / Getty

ประเด็นสำคัญในข่าว
  • คนรวยสุดขั้ว 1% ครอบครองความมั่งคั่งใหม่ที่เกิดขึ้นถึง 63% นับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19
  • ในขณะเดียวกัน กลุ่มคนที่จนสุดขีดเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี
  • มหาเศรษฐีของโลกกำลังมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นรวมกันมากขึ้นวันละ 5,000 ล้านดอลลาร์
โลกกำลังต่อสู้กับวิกฤตต่าง ๆ รอบด้าน ทั้งวิกฤตโควิด-19 ค่าครองชีพที่พุ่งสูง ไปจนถึงผลกระทบที่รุนแรงขึ้นของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก แต่ระหว่างที่ประชากรส่วนมากจากกว่า 8,000 ล้านคนทั่วโลกกำลังย่ำแย่ มีบุคคลและองค์กรที่ร่ำรวยสุดขั้วจำนวนหนึ่งกลับมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ที่เผยแพร่ในสัปดาห์นี้โดยองค์กรต่อต้านความยากจน “ออกซ์แฟม” ระบุว่า นับตั้งแต่ เริ่มขึ้นในปี 2020 พบว่ากลุ่มคนรวยที่สุดจำนวนร้อยละ 1 ของโลกสามารถทำเงินได้มากกว่าประชากรโลกที่เหลือร้อยละ 99 ถึง 2 เท่า ขณะที่สัดส่วนของกลุ่มคนรวยสุดขั้วและยากจนสุดขีด เพิ่มขึ้นพร้อมกันครั้งแรกในรอบ 25 ปี

สำหรับในออสเตรเลียนั้นเป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว โดยพบว่ามีมหาเศรษฐีในประเทศมากขึ้น 11 คน นับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2020
แอนเทีย สปิงส์ (Anthea Spinks) ผู้อำนวยการโครงการของออกซ์แฟม ออสเตรเลีย กล่าวว่า กลุ่มคนที่รวยที่สุดนั้น “เอาชนะได้แม้กระทั่งความฝันเป็นไปไม่ได้” ขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ทั่วโลกกำลังต้องเสียสละรายวันเพื่อให้ผ่านวันหนึ่งไปได้

“การลดภาษีให้คนรวยที่สุดและบริษัทต่าง ๆ มาเป็นเวลาหลายสิบปีได้เติมเชื้อไฟให้กับความเหลื่อมล้ำทั้งในประเทศและทั่วโลก คนจนที่สุดต้องจ่ายภาษีสูงกว่าซีอีโอและเศรษฐีที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก” คุณแอนเทียกล่าวเสริม

รายงานของออกซ์แฟม ระบุอีกว่า ระหว่างเดือนธันวาคม 2019 ถึงเดือนธันวาคม 2021 มีความมั่งคั่งใหม่เกิดขึ้นเป็นมูลค่าราว 60 ล้านล้านดอลลาร์ โดยคนรวยที่สุดร้อยละ 1 ครอบครองส่วนแบ่งความมั่งคั่งใหม่นี้ถึงร้อยละ 63 หรือคิดเป็นราว 37 ล้านล้านดอลลาร์

การเผยแพร่รายงานฉบับดังกล่าวของออกซ์แฟม ตรงกับการประชุมประจำปีของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสถานที่ในการหารือระหว่างผู้นำทางการเมืองและธุรกิจของโลก ท่ามกลางภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นเป็นวงกว้างจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

วิกฤตค่าครองชีพ หรือวิกฤตต้นทุนกำไร

ออกซ์แฟมโต้ว่า ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากวิกฤตค่าครองชีพที่ทั้งออสเตรเลีย และส่วนอื่น ๆ ของโลกต่างกำลังดิ้นรนอยู่นั้น อาจกลายเป็นวิกฤตต้นทุนกำไร (cost-of-profit crisis)

“วิกฤตค่าครองชีพในปัจจุบัน ทั้งราคาอาหารและพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ยังได้สร้างผลกำไรให้กับผู้คนจำนวนมากในระดับบนอีกด้วย บริษัทอาหารและพลังงานกำลังพบกับผลกำไรมากเป็นประวัติการณ์ และมีการจ่ายเงินให้กับผู้ถือหุ้นที่ร่ำรวยและบรรดาเจ้าของซึ่งเป็นมหาเศรษฐีมากเป็นประวัติการณ์”

“การถือโอกาสค้ากำไรเกินควรของบริษัทต่าง ๆ กำลังผลักดันภาวะเงินเฟ้ออย่างน้อยร้อยละ 50 ในออสเตรเลีย สหรัฐ ฯ และยุโรปในลักษณะของ ‘วิกฤตต้นทุนกำไร’ มากพอกับ ‘วิกฤตค่าครองชีพ’” รายงานจากออกซ์แฟม ระบุ

รายงานดังกล่าวยังระบุถึงการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า ร้อยละ 54 ของภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ ฯ ร้อยละ 59 ในสหราชอาณาจักร และร้อยละ 60 ในออสเตรเลีย ถูกขับเคลื่อนจากกำไรที่เพิ่มขึ้นในบริษัทต่าง ๆ

ออกซ์แฟมยังพบว่า ระหว่างที่มีคนทำงานมากกว่า 1,700 ล้านคนทั่วโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่ภาวะเงินเฟ้อแซงหน้าค่าจ้าง มหาเศรษฐีทั่วโลกกำลังมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นถึงราว 5,000 ล้านดอลลาร์ต่อวัน

การแก้ไขปัญหา

รายงานของออกซ์แฟม ระบุว่า การปิดช่องโหว่ในการหลบเลี่ยงภาษี และการเก็บภาษีกลุ่มคนรวยสุดขั้วอย่างเหมาะสม คือ “ทางออกสำหรับปัญหาทับซ้อนของทุกวันนี้”

ในออสเตรเลีย ออกซ์แฟมกำลังเรียกร้องให้รัฐบาลสหพันธรัฐยกเลิกมาตรการลดภาษีขั้นที่ 3 ที่กำลังจะมาถึง โดยให้ “ปรับใช้การเพิ่มการเก็บภาษีกลุ่มคนรวยสุดขั้วอย่างเป็นระบบและทั่วถึง” ซึ่งรวมถึงการเก็บภาษีความมั่งคั่ง (wealth tax) และการเก็บภาษีลาภลอย (windfall tax) สำหรับบริษัทต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการริบผลกำไรที่บางบริษัทได้รับมาจากวิกฤตต่าง ๆ และความทุกข์ทรมาน เช่น วิกฤตโควิด-19 และสงครามในยูเครน

รัฐบาลของ แอนโทนี อัลบานิซี ได้ประกาศว่าจะไม่ยกเลิกมาตรการลดหย่อนภาษีขั้นที่ 3 สำหรับชาวออสเตรเลียที่มีความมั่งคั่ง ซึ่งถูกออกแบบขึ้นในสมัยรัฐบาล สกอตต์ มอร์ริสัน ซึ่งมีการออกเป็นตัวบทกฎหมายมาตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองซึ่งตอนนี้เป็นฝ่ายค้านของรัฐบาลพรรคแรงงานในปัจจุบัน และจะมีผลในปีงบประมาณ 2024-25
ออกซ์แฟมระบุว่า ภาษีความมั่งคั่งที่เรียกเก็บในอัตราร้อยละ 2 จากผู้มีรายได้มากกว่า 7 ล้านดอลลาร์ ร้อยละ 3 จากผู้มีรายได้มากกว่า 67 ล้านดอลลาร์ และร้อยละ 5 จากเศรษฐีระดับพันล้านในออสเตรเลียเพียงอย่างเดียวนั้น คิดเป็นเงิน 29,100 ล้านดอลลาร์ในแต่ละปี

ซึ่งเงินเหล่านี้สามารถกระจายออกไปเพื่อกระตุ้นความช่วยเหลือระหว่างประเทศของออสเตรเลีย รวมถึงการแก้ปัญหาความยากจนด้วยการเพิ่มเงินสวัสดิการรัฐ สร้างอาคารสงเคราะห์มากขึ้น และช่วยให้ครัวเรือนสามารถประหยัดค่าใช้พลังงานต่าง ๆ ได้ ด้วยการลงทุนในงบประมาณที่ช่วยให้ผู้คนเปลี่ยนผ่านออกไปจากการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

อ่านและฟังเรื่องเศรษฐกิจได้อีก

Share
Published 18 January 2023 8:08pm
By Isabelle Lane
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends