เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา สายการบินควอนตัสของออสเตรเลียได้สั่งระงับการบินเครื่องบินโบอิงรุ่น 737 จำนวน 3 ลำในฝูงบิน หลังพบรอยร้าวบริเวณอุปกรณ์ยึดเกาะปีกเข้ากับตัวเครื่องที่เรียกว่า "พิกเคิล ฟอร์ก (pickle fork)"
“เครื่องบินที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวได้ถูกนำออกจากการให้บริการเพื่อทำการซ่อมแซมแล้ว” สายการบินควอนตัสระบุในแถลงการณ์
โดยการประกาศสั่งระงับขึ้นบินเครื่องบินโบอิงรุ่นดังกล่าวเกิดขึ้นหลังควอนตัสพบรอยร้าวบนเครื่องบินที่ทำการบินน้อยกว่า 27,000 เที่ยวเมื่อสัปดาห์ก่อน และพบเพิ่มเติมอีก 2 ลำระหว่างมีการตรวจสอบเครื่องบินโบอิง รุ่น 737 จำนวน 33 ลำ จากที่มีในฝูงบินทั้งหมด 75 ลำ
“เครื่องบินเหล่านี้ให้บริการมาประมาณ 27,000 เที่ยว โดยเครื่องบินลำใดก็ตามที่บินให้บริการมากกว่า 22,600 เที่ยวนั้นได้รับการตรวจสภาพทั้งหมด ตามคำแนะนำของหน่วยงานกำกับดูแล” ควอนตัสกล่าวในแถลงการณ์เมื่อเช้าวันที่ 1 พ.ย.
สายการบินดังกล่าวระบุว่า เครื่องบินทั้ง 3 ลำที่พบปัญหานั้นจะสามารถกลับมาให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐฯ (Federal Aviation Administration หรือ FAA) ได้สั่งการให้สายการบินทั่วโลกตรวจสอบเครื่องบินโบอิง รุ่น 737 ในฝูงบิน ที่มีจำนวนเที่ยวบินมากกว่า 30,000 เที่ยว หลังมีการพบปัญหาเรื่องรอยร้าว
Qantas has pulled three its Boeing 737 fleet from service after finding hairline cracks. Source: AP
“เราจะไม่นำอากาศยานที่ไม่มีความปลอดภัยขึ้นบิน แม้ว่ารอยร้าวเป็นเส้นเล็กๆ นี้จะไม่มีความเสี่ยงที่เป็นอันตราย ซึ่งนั่นชัดเจนบนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่มีความจำเป็นในการตรวจสภาพเป็นเวลาอย่างน้อย 7 เดือน” นายแอนดริว เดวิด (Andrew David) ประธานบริหารการบินภายในประเทศของสายการบินควอนตัสกล่าว
ก่อนหน้านี้ มีการเรียกร้องจากสมาคมวิศวกรอากาศยานวิชาชีพแห่งออสเตรเลีย (The Australian Licenced Aircraft Engineers Association) ให้สายการบินควอนตัสสั่งระงับการบินเครื่องบินโบอิง รุ่น 737 ทั้ง 75 ลำออกจากฝูงบิน จนกว่าจะได้รับการตรวจสภาพทั้งหมด
“การเรียกร้องของเรานั้นก็เพื่อความปลอดภัยของผู้คนที่โดยสายบนเครื่องบินเหล่านี้” นายสตีฟ เพอร์วินัส (Steve Purvinas) เลขาธิการสมาคมวิศวกรอากาศยานวิชาชีพแห่งออสเตรเลีย กล่าวกับวิทยุเอบีซี เมื่อ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ นายเพอร์วินัสยังได้กล่าวโจมตีสำนักงานความปลอดภัยการบินพลเรือนของออสเตรเลีย (Civil Aviation Safety Authority) ซึ่งออกมาแถลงเมื่อวันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า “ไม่มีหลักฐานใด” ที่แสดงว่าฝูงบินทั้งหมดของควอนตัสต้องหยุดให้บริการ
“สำนักงานความปลอดภัยการบินพลเรือนของออสเตรเลียนั้น ไม่ต่างอะไรกับหน่วยงานสร้างภาพลักษณ์ให้กับควอนตัส” นายเพอร์วินัสกล่าวนอกจากนี้ ผู้นำสมาคมดังกล่าวยังได้ตำหนิการจ้างงานจากบุคคลภายนอกของบริษัทโบอิงในสหรัฐฯ
Qantas Group CEO Alan Joyce. Source: AAP
“ผมไม่มีความมั่นใจต่อโบอิงอีกต่อไป” นายเพอร์วินัสกล่าว
“พวกเขาคิดในแง่ดีมากๆ ว่าเครื่องบินทั้งหมดจะกลับไปให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้”
ขณะที่ นายคริส สนุก (Chris Snook) หัวหน้าวิศวกรของควอนตัสได้ตำหนิสมาคมวิศวกรอากาศยานวิชาชีพแห่งออสเตรเลียว่า “ไร้ความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง”
“แม้ที่ตัวเครื่องจะมีรอยร้าว แต่นั่นก็ไม่ได้ส่งกระทบต่อความปลอดภัยของอากาศยานโดยทันที” นายสนุกกล่าว
ในขณะเดียวกัน สายการบินเวอร์จินออสเตรเลีย (Virgin Australia) ได้มีการตรวจสภาพเครื่องบินโบอิง รุ่น 737 เช่นกัน โดยยังไม่มีการพบรอยร้าว
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
การเดินทางโดยเครื่องบินปลอดภัยแค่ไหน