ประเด็นสำคัญ
- กระแสดันขายยาต้านโควิด-19 โดยไม่ใช้ใชสั่งยา ได้สร้างความกังวลด้านความปลอดภัย
- สมาคมเภสัชฯ ต้องการให้รัฐบาลสหพันธรัฐไฟเขียวแผนดังกล่าว หวังเพิ่มความรวดเร็วในการเข้าถึงยา
องค์กรวิชาชีพเวชปฏิบัติทั่วไปของออสเตรเลียแสดงความกังวล หลังสมาคมเภสัชกรได้ผลักดันให้รัฐบาลอนุญาตให้จำหน่ายยาต้านไวรัสโควิด-19 ที่ร้านเภสัชกรได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา โดยระบุว่ามีความกังวลด้านความปลอดภัย
ได้แก่ แพ็กซ์โลวิด (Paxlovid) และลาเกรวริโอ (Lagevrio)
และผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องบางราย มีสิทธิ์ได้รับการรักษาด้วยตัวยาดังกล่าวโดยใช้ใบสั่งยาจากแพทย์จีพีหรือพยาบาล
แม้การรักษาโดยใช้ตัวยาดังกล่าวตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความรุนแรงของไวรัส แต่สำหรับผู้ป่วยในกรณีอื่น ๆ ยังไม่สามารถเข้ารับยาต้านไวรัสดังกล่าวได้ในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานกำกับดูแลเวชภัณฑ์ของออสเตรเลีย ต้องการให้รัฐบาลสหพันธรัฐอนุญาตให้ขายยาต้านไวรัสโควิด-19 ให้สามารถสต๊อกไว้จำหน่ายได้ตามร้านขายยาทั่วไป เพื่อให้ผู้ติดเชื้อสามารถเข้าถึงตัวยาดังกล่าวได้เร็วขึ้น
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
โควิดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ในออสเตรเลียในปีนี้จนถึงขณะนี้
ศาสตราจารย์เทรนต์ ทูมีย์ (Trent Twomey) จากสมาคมเภสัชแห่งออสเตรเลีย (Pharmacy Guild of Australia) กล่าวว่า เวลาในการรอพบแพทย์นั้นยาวนานขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาต่อระยะเวลาในการใช้ยาที่ได้ผล
“เนื่องจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัสซึ่งช่วยชีวิตได้นี้จำเป็นต้องเริ่มต้นภายในเวลา 5 วันนับตั้งแต่พบอาการของโควิด-19 จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะตรวจเชื้อแต่เนิ่น ๆ และรับการรักษาโดยไม่รอช้า” ศาสตราจารย์ทูมีย์ระบุในแถลงการณ์
ศาสตราจารย์ทูมีย์ กล่าวอีกว่า นิวซีแลนด์ได้เริ่มทำในลักษณะนี้จากตัวอย่างในประเทศแคนาดาและสหราชอาณาจักร ด้วยการจำหน่ายยาต้านโควิด-19 ในร้านขายยาท้องถิ่น
แต่วิทยาลัยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในพระองค์แห่งออสเตรเลีย (The Royal Australian College of General Practitioners หรือ RACGP) เชื่อว่าความปลอดภัยของผู้ป่วยควรได้รับความสำคัญอันดับแรก
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
2 ปีกับเงินภาษี 21 ล้าน ออสเตรเลียยุติแอป COVIDSafe
ศาสตราจารย์แคเรน ไพรซ์ (Karen Price) ประธานวิทยาลัยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในพระองค์แห่งออสเตรเลีย กล่าวว่า แม้การเริ่มต้นรับประทานยาจำเป็นจะต้องทำในทันที แต่การวางจำหน่ายยาต้านโควิด-19 ในร้านขายยานั้นไม่ใช่คำตอบ
“การอนุญาตให้เภสัชกรสั่งจ่ายยาและจำหน่ายยาต้านไวรัสจะไม่ช่วยทำให้การเข้าถึงยาให้ดีขึ้น และมันมีความเสี่ยงอย่างมีนัยยะสำคัญกับคนไข้” ศาสตราจารย์ไพรซ์กล่าว
“ยาเหล่านี้มีสิ่งที่เราเรียกว่า ‘ข้อห้ามใช้’ ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายเมื่อไม่ควรใช้วิธีการรักษาหนึ่ง ๆ เช่นเดียวกับการทำปฏิกิริยากับยาทั่วไปชนิดอื่น ๆ”
ศาสตราจารย์ไพรซ์ กล่าวว่า แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปรู้ประวัติสุขภาพของผู้ป่วย และสามารถประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากยาต้านไวรัสดังกล่าวได้ ส่วนเภสัชกรไม่สามารถทำได้
“เภสัชกรควรที่จะมุ่งความตั้งใจไปที่งานที่มีอยู่ ซึ่งก็คือจำนวนยาในสต๊อกที่สามารถเข้าถึงได้” ศาสตราจารย์ไพรซ์ กล่าว
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ผู้สูงอายุในออสเตรเลียกำลังพลาดรับยารักษาโควิดที่ช่วยชีวิตพวกเขาได้
“ควรที่จะมีเว็บไซต์ที่แสดงว่าที่ไหนมี (ยาต้านโควิด-19) อยู่ในสต๊อก เช่นเดียวกับที่เคยมีกับสต็อกชุดตรวจแอนติเจน”
ศาสตราจารยไพรซ์ กล่าวว่า ยาต้านไวรัสโควิด-19 อาจสร้างความแตกต่างระหว่างมีอาการเล็กน้อยจากไวรัส หรือต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
“อย่างไรก็ดี เราจะต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะสิ่งที่เราไม่อยากทำคือการทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ในอันตราย” ศาสตราจารยไพรซ์กล่าว
มาร์ค บัตเลอร์ รัฐมนตรีสาธารณสุขออสเตรเลีย กล่าวว่า ใบสั่งจ่ายยาเพิ่มมากขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว หลังการขยายสิทธิ์เข้าถึงยาต้านไวรัสเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
คนว่างงานออสฯ ต่ำสุดในหลายสิบปี แต่ทำไมคนหางานบางกลุ่มยังดิ้นรน