การเข้าใช้ระบบสุขภาพเมื่อท่านเจ็บป่วยอาจเป็นเรื่องยากลำบาก โดยเฉพาะหากภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ของท่าน
เรื่องดังกล่าวได้กระตุ้นให้มีการผลักดันการสื่อสารให้เรียบง่ายขึ้น โดยมีการแนะนำให้แพทย์และพยาบาลนึกถึงวิธีที่ดีที่สุดในการสนทนากับผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลรักษา
เจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ของชาวออสเตรเลียซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองนั้นมีระดับของ ‘การรู้หนังสือด้านสุขภาพ (health literacy)’ ที่ต่ำ – ซึ่งก็หมายความว่าพวกเขานั้นมีความเข้าใจเพียงเล็กน้อยว่าจะต้องทำอย่างไรเมื่อเจ็บป่วย และจะต้องไปที่ไหนเพื่อรักษาตัว
แต่ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานและผู้ที่มาถึงใหม่ๆ เท่านั้น 60 เปอร์เซ็นต์ของชาวออสเตรเลียทั้งหมดก็มีการรู้หนังสือด้านสุขภาพที่ต่ำ“เราทราบว่ามีผู้คนจำนวนมากที่กลับมายังแผนกฉุกเฉินด้วยปัญหาเกี่ยวกับยาหรือภาวะแทรกซ้อน” ผู้จัดการเกี่ยวกับการรู้หนังสือด้านสุขภาพและความหลากหลาย คุณฟิโอรินา มาสตริโอนนี กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์
60 per cent of Australians have a poor understanding of the country's health system. That jumps to 75 per cent for people with English as a second language. Source: SBS News/Omar Dabbagh
“เราจำเป็นจะต้องสื่อสารกันอย่างดียิ่งขึ้น หรือพยายามให้แน่ใจว่าผู้ป่วยและครอบครัว และผู้ดูแลพวกเขานั้นเข้าใจข้อมูลที่เรามอบให้”
ผู้ป่วยขี้ลืม
คุณมาสตริโอนนีกล่าวว่า ผู้ป่วยนั้นลืมข้อมูล 40-80 เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้นมอบให้
“เราต้องพยายามให้แน่ใจว่าเมื่อพวกเราให้ข้อมูลออกไปนั้น ผู้คนเข้าใจในสิ่งที่เราบอกกล่าว”
ตัวเลขดังกล่าวกระตุ้นให้สัปดาห์สุขภาพหลากวัฒนธรรมแห่งนิวเซาท์เวลส์ หรือ NSW Multicultural Health Week (3–9 กันยายน) พุ่งเป้าไปยังการสื่อสารที่ชัดเจนขึ้น โดยมีคำขวัญว่า “พูดคุย รับฟัง สอบถาม (Talk, Listen, Ask)”
คุณลีสสา พิตส์ ซึ่งเป็นผู้จัดการการให้บริการสุขภาพหลากวัฒนธรรมในท้องที่เขตอิลลาวาราโชลเฮเวน กล่าวว่า “การสื่อสารเป็นประเด็นที่ทำให้การพบปะกันในด้านสุขภาพนั้นจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว”
“มันขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการทางคลินิกที่จะตรวจสอบว่าลูกค้านั้นเข้าใจข้อมูลหรือไม่ และพวกเขานั้นกลับออกไปจากโรงพยาบาลหรือสิ่งแวดล้อมด้านการดูแลสุขภาพ โดยทราบว่าพวกเขานั้นสามารถกลับไปบ้านแล้วสามารถใช้ข้อมูลนั้นได้เป็นอย่างดี”
“พูดคุย รับฟัง สอบถาม”
ได้มีการนำชั้นเรียนภาษาอังกฤษของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานและผู้ที่มาถึงใหม่ไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลโชลเฮเวนเมโมเรียลในเมืองนาวรา ทางชายฝั่งตอนใต้ของรัฐ(นิวเซาท์เวลส์) โดยเป็นส่วนหนึ่งของสัปดาห์สุขภาพหลากวัฒนธรรม
กลุ่มดังกล่าวมีจำนวน 16 คน ซึ่งมีพื้นเพรวมไปถึงทิเบต และไต้หวัน โดยได้ถูกพาไปยังหอผู้ป่วยต่างๆ เพื่อทำความคุ้นเคยกับสถานที่ และเพื่อเรียนรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรหากเกิดกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์คุณยี่ ปิง แมคคาร์ธี กล่าวว่า “การเยี่ยมชมนี้มีประโยชน์กับฉันมาก” เพราะเธอยังใหม่ต่อย่านชายฝั่งตอนใต้ โดยเดินทางมาพร้อมกับสามีและลูกสาววัยสองขวบของเธอ
Τμήμα εκμάθησης της αγγλικής γλώσσας επισκέφτηκε νοσοκομείο του Nowra Source: SBS News/Omar Dabbagh
“ดิฉันทราบว่าจะสามารถไปที่ไหนได้หากว่าลูกสาวของดิฉันป่วย และหากว่าฉันไปที่โรงพยาบาลนี้ฉันจะต้องไปพูดคุยกับใคนเป็นคนแรก เพราะฉะนั้นมันดีมากๆ สำหรับดิฉัน”
ในตอนแรกคุณแมคคาร์ธี นั้นย้ายไปอยู่นครดาร์วินจากไต้หวัน เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว เธอกล่าวว่าเธอยังคงประสบกับอุปสรรคทางภาษาเมื่อไปพบแพทย์ทั่วไป (GP)
เธอกล่าวว่า “มันเข้าใจยาก และภาษานั้นก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง”
“ฉันไม่สามารถเข้าใจผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้เลยแม้กระทั่งในตอนนี้ บางครั้งที่ฉันไปพบกับแพทย์ทั่วไป เข้าก็จะพูด ‘บลา บลา บลา’ แล้วฉันก็จะประมาณว่า ‘อะไรนะ?’”
ความสับสนเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดความวิตกกังวลแก่ผู้ซึ่งกำลังจะไปโรงพยาบาลบ่อยมากขึ้น เช่นแม่ที่เตรียมคลอด คุณไม โง ซึ่งจะครบกำหนดคลอดช่วงก่อนวันคริสต์มาสเพียงเล็กน้อย
“มันก็น่าเครียดอยู่พอควร แต่ฉันก็พยายามที่จะผ่อนคลายเพื่อให้เป็นผลดีต่อลูกของฉัน” คุณโงกล่าว
“ฉันเชื่อมั่นและไว้วางใจแพทย์และพยาบาล”
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอสไทย
“ไม่มีใครแก่เกินที่จะหันมายกน้ำหนัก”