เหตุใดผู้อพยพย้ายถิ่นในออสเตรเลียจึงเสี่ยงต่อโรคหอบหืดมากกว่า?

เมื่อสิ้นสุดการสอบสวนการเสียชิวิตด้วยโรคหอบหืดรายหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างพายุฝนอันแปลกประหลาดในนครเมลเบิร์น เอสบีเอสนิวส์ก็ได้สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพว่าเพราะเหตุใดบางท่านจึงมีความเสี่ยงที่สูงกว่า

As the inquest into a fatal freak thunderstorm asthma event in Melbourne comes to a close, SBS News asks health experts why some people may be at higher risk.

เอสบีเอสนิวส์สอบถามผู้เชี่ยวชาญว่าเหตุใดบางคนจึงมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดหอบหืดที่มากับพายุฝนฟ้าคะนอง Source: Images obtained by SBS News

สรุประเด็นสำคัญในบทความนี้...

  • ทำไมจึงต้องเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานชาวเอเชียตะวันออกและชาวอินเดีย?
  • อะไรคือหอบหืดจากพายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm asthma)?
  • ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?
  • ท่านจะสามารถปกป้องตนเองได้อย่างไร?
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรุนแรงเมื่อเวลาประมาณ 18:00 น. ของวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 นั้น คาดว่าจะช่วยบรรเทาความร้อนของวันดังกล่าวลงได้ที่นครเมลเบิร์น แต่ทว่า มันกลับก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในนครดังกล่าว โดยมีผู้คนเป็นจำนวนหลายพันคนประสบกับปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรงต่อเกสรของดอกหญ้า ซึ่งได้ถูกพัดขึ้นไปในอากาศโดยพายุ

จากรายงานของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์สูงสุดของรัฐ มีผู้คนจำนวนกว่า 12,700 คนที่มายังแผนกฉุกเฉินทั่วรัฐวิกตอเรียในระหว่างวิกฤตดังกล่าว โดยที่สิบคนเสียได้ชีวิตลง ซึ่งหกคนในจำนวนนั้นมีพื้นเพมาจากอินเดียหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานหนึ่งซึ่งสอบสวนเรื่องดังกล่าวยังได้ระบุว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นสิ่งซึ่ง “ไม่ว่าจะในเรื่องของขนาด ความรุนแรง และความปัจจุบันทันด่วนนั้น ไม่เคยปรากฏพบเห็นมาก่อน และก็ไม่เคยมีใครอาจคาดฝัน หรือวางแผนเตรียมการล่วงหน้าไว้ได้” ซึ่งเรื่องนี้ก็ยังคงเป็นประเด็นในการวินิจฉัยของศาลผู้ใต่สวนหาสาเหตุการตายในรัฐวิกตอเรีย ซึ่งผลสรุปในท้ายที่สุดนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา
Thunderstorm asthma victims
Ten people died following Melbourne's thunderstorm asthma event in 2016. Source: SBS News

ทำไมจึงเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานจากเอเชียตะวันออกและอินเดีย?

ภายในเวลา 30 ชั่วโมงของพายุดังกล่าวเมื่อปี 2016 มีผู้คนมากกว่าปกติ 4,000 คนเดินทางไปยังแผนกฉุกเฉินด้วยปัญหาของระบบทางเดินหายใจหรือหอบหืดขั้นรุนแรง “โดยเฉพาะบุคคลซึ่งเกิดในประเทศอินเดียหรือศรีลังกา” โดยอ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นสำคัญที่ตีพิมพ์ในวารสาร  เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้คนจากชาติพันธุ์เอเชียตะวันออกหรืออินเดียนั้นคิดเป็นจำนวน 25 เปอร์เซ็นต์ของประชากรนครเมลเบิร์น แต่จำนวนผู้คนซึ่งได้ถูกรับตัวไว้เพื่อรักษาในโรงพยาบาลจากกลุ่มดังกล่าวนั้นมีถึง 39 เปอร์เซ็นต์
新州昆州繼續受惡劣天氣影響
(Source: AAP) Source: AAP
ดร. นาฮ์เมห์ รัตกฤษณา ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินหายใจ การนอนหลับและภูมิแพ้จากโรงพยาบาลเซนต์วินเซนต์และจากคลินิกเอกชนแห่งหนึ่งที่ชื่อว่าอีสต์เมลเบิร์นฮาร์ทแอนด์ลัง (East Melbourne Heart and Lung) กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่า ชาวเอเชียนั้น โดยทั่วๆ ไปแล้วไม่ได้มีความชุกของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (hay fever) หรือหอบหืดที่สูงแต่อย่างใด

“ทว่าหลังจากที่พวกเขาย้ายมาที่ออสเตรเลีย นั่นก็จะเป็นเวลาที่คุณจะได้เห็นการเพิ่มความชุกของกลุ่มอาการต่างๆ เหล่านี้” เธอกล่าว

เธออ้างอิงถึงงานวิจัยชิ้นสำคัญซึ่งแผยแพร่โดย ดร. โรแลนด์ เหลียง ในปี 1994 ซึ่งพบว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานสู่ประเทศออสเตรเลียนั้น มีความน่าจะเป็นที่จะเกิดกลุ่มอาการต่างๆ เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่อยู่ในประเทศ(ออสเตรเลีย)

“ส่วนหนึ่งของเรื่องนั้นจะเกี่ยวข้องกับความเป็นจริงที่ว่า พวกเขาไม่เคยสัมผัสกับสารก่อให้เกิดการแพ้ต่างๆ ที่เรามีอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ยกตัวอย่างเช่นหญ้าไรย์ (ryegrass)” ดร. รัตกฤษณา กล่าว

หญ้าไรย์นั้นเป็นหญ้าที่พบได้บ่อยมากในทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลีย

“เพราะฉะนั้น เมื่อพวกเขามาที่ประเทศออสเตรเลียเพียงไม่กี่ปี ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณห้าถึงสิบปี พวกเขาก็จะเริ่มไวต่อสารต่างๆ เหล่านี้ … ดังนั้นพวกเขาจึงเริ่มประสบกับอาการต่างๆ เหล่านี้ของภาวะภูมิแพ้ จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ คันดวงตา จาม คันคอ และคันหู”
Some of the pollen that was flying around Melbourne on November 2016 as a consequence of the  thunderstorm.
Some of the pollen that was flying around Melbourne on November 2016 as a consequence of the thunderstorm. Source: AAP
ศาสตราจารย์แจเน็ต เดวีส์ หัวหน้างานวิจัยภูมิแพ้แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนส์แลนด์ หนึ่งในทีมหัวหน้านักประพันธ์งานวิจัยของ Lancet Planetary Health กล่าวว่า ยังไม่มีใครเข้าใจสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ว่าทำไมประชากรในกลุ่มต่างๆ จึงมีภาวะที่ไวต่อละอองเกสรของหญ้าที่ไม่เหมือนกัน

“มันน่าสนใจมากอย่างแน่นอน” เธอกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ “มันอาจจะเป็นเรื่องต่างๆ ขนานใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเข้าไปเปลี่ยนแปลงการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขา” แต่มันก็อาจจะเกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ซึ่งต่างชนิดกันไปได้ด้วย
Head of allergy research at Queensland University of Technology, Professor Janet Davies.
Head of allergy research at Queensland University of Technology, Professor Janet Davies. Source: Queensland University of Technology
“มันอาจจะเป็นเรื่องของสิ่งต่างๆ เช่นอาหาร จุลชีวมิติ (microbiome หรือจุลชีพต่างๆ ที่อาศัยอยู่ภายในร่างกาย)  ภายในทางเดินอาหารของคุณ และการที่ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณ มันแน่นอนว่าเป็นการปฏิสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน ระหว่างแนวโน้มทางด้านพันธุกรรมของคุณ และสิ่งแวดล้อมที่คุณอาศัยอยู่ - ซึ่งก็อาจเกี่ยวข้องกับความซับซ้อนหลายๆ ชั้นที่มีผลต่อการแสดงออกต่างๆ ของโรคภูมิแพ้ในผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน”

อะไรคือหอบหืดจากพายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm asthma)?

โดยอ้างอิงจากสภาโรคหอบหืดแห่งชาติ The National Asthma Council “การระบาดของโรคหอบหืดจากพายุฝนนั้น เป็นการกระจุกตัวของโรคหอบหืดจากการแพ้ที่ไม่ปกติ  โดยจะเป็นมากขึ้นหลังจากพายุฝนฟ้าคะนองบางชนิดในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิหรือต้นฤดูร้อน ... ซึ่งก็มีสาเหตุร่วมกันจากจำนวนเกสรหญ้าที่มาก และสภาพฝนฟ้าคะนองที่ไม่ปกติ ซึ่งจะทำให้มีความหนาแน่นของเมล็ดต่างๆ หรือสารก่อให้เกิดการแพ้ และเกสรหญ้า ที่ทำให้แต่ละคนนั้นแพ้“

มีการบันทึกโรคหอบหืดจากพายุฝนเอาไว้เป็นจำนวน 23 ครั้งในโลกตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นที่รัฐวิกตอเรีย (ซึ่งเป็นที่แรกที่ได้รับการระบุไว้) และในสหราชอาณาจักร

เหตุการณ์ดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นในภูมิภาคเขตอบอุ่น ซึ่งมีหญ้าเป็นจำนวนมากในฤดูกาลผลิเกสรของหญ้า ซึ่งในนครเมลเบิร์นนั้นได้แก่ช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกระบวนการต่างๆ ดังกล่าวนั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด แต่สมมติฐานที่เด่นนำอยู่ในเรื่องนี้ก็คือ วันที่มีจำนวนเกสรอย่างมากสุดโต่ง (extreme pollen days) ในกระแสลมแรง กอปรกับความชื้นในอากาศระหว่างพายุฝน ทำให้เมล็ดเกสรหญ้าเล็กๆ นั้นแตกตัวออก และปลดปล่อยอานุภาคขนาดจิ๋วซึ่งมีสารก่อให้เกิดการแพ้

“ภายในเมล็ดเกสรนั้นมีผงแป้งขนาดจิ๋วหลายร้อยชิ้น ซึ่งก็จะถูกปลดปล่อยออกมา จนกลายเป็นละอองเล็กๆ ในอากาศ ที่มีขนาดเล็กพอจนสามารถถูกสูดหายใจเข้าไปได้” ศาสตราจารย์เดวีส์กล่าว

ใครบ้างที่เสี่ยง?

อุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2016 นั้น เป็น “การเป็นหอบหืดครั้งแรก(ในชีวิต) ... ของหลายๆ คน ที่ได้รับผลกระทบ” ตามรายงานของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์สูงสุดแห่งรัฐวิกตอเรีย ซึ่งก็หมายความว่าบางคนนั้นอาจไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

โดยอ้างอิงจากสภาโรคหอบหืดแห่งชาติ “ผู้คนนั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืดขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน โดยถูกกระตุ้นจากพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งก็รวมถึงจมูกอักเสบจากการแพ้ตามฤดูกาล (ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีหอบหืดด้วยก็ตาม) ผู้ซึ่งมีประวัติโรคหอบหืด และผู้ที่เป็นหอบหืดแต่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัย”

ศาสตราจารย์เดวีส์กล่าวว่า ในออสเตรเลียนั้น ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดก็คือ “ปัจจัยสามประการจากเกสรหญ้าไรย์” ซึ่งหมายถึงการเกิดปฏิกิริยาภูมิไวต่อเกสรหญ้าไรย์ จมูกอักเสบจากการแพ้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และการสัมผัสกับเกสรหญ้าไรย์ในระดับสูงระหว่างที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

ท่านจะสามารถปกป้องตนเองได้อย่างไร?

ดร. รัตกฤษณา กล่าวว่า มีวิธีการรักษาต่างๆ หากว่าท่านมีความเสี่ยง ซึ่งก็จะช่วยบรรเทาความรุนแรงของอุบัติการณ์หอบหืดจากพายุฝนฟ้าคะนอง

“หากท่านมีอาการต่างๆ ของโรคหอบหืด – หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก และลมหายใจมีเสียงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูใบไม้ผลิ ท่านก็จำเป็นที่จะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าท่านเป็นหอบหืดหรือไม่”

“หากท่านเป็นหอบหืด ท่านก็ควรจะใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง และท่านก็ควรจะสอบถามแพทย์ทั่วไปหรือ GP ของท่านเกี่ยวกับการมีแผนเพื่อรับมือกับหอบหืด และก็ทำให้แน่ใจว่าท่านมียาช่วยบรรเทาอาการติดมือไว้ เช่น ยาละอองสำหรับสูดหายใจ เวนโทลิน (Ventolin) หรือ แอสมอล (Asmol) โดยพกติดตัวไว้ เก็บไว้พร้อมใช้งาน”

การอยู่ภายในอาคารก็อาจช่วยได้ เธอยังแนะนำให้ใช้  ซึ่งจะให้บริการการพยากรณ์ละอองเกสร ออสพอลเลน (AusPollen) จากศาสตราจารย์เดวีส์ ซึ่งก็จะคอยเตือนผู้ใช้ถึงจำนวนเกสรที่อาจเป็นอันตรายในพื้นที่ของพวกเขา

หากมีเหตุฉุกเฉิน โทรเรียกรถพยาบาลทันทีที่หมายเลข 000

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหอบหืดจากพายุฝนฟ้าคะนอง ติดต่อ สายให้ความช่วยเหลือโรคหอบหืด 1800 ASTHMA Helpline (1800 278 642)
หรือไปที่: , และ


Share
Published 28 August 2018 1:20pm
Updated 28 August 2018 11:59pm
By Kelsey Munro
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News, AAP


Share this with family and friends