สภาล่างของรัฐนิวเซาท์ มีมติเห็นชอบร่างกฎหมายนิรโทษกรรมการทำแท้ง โดยสมาชิกในสภาต่างแสดงความดีใจ หลังมีการอภิปรายอย่างเข้มข้นมายาวนานกว่า 3 วันเต็มร่างกฎหมายดังกล่าว มีจุดประสงค์ที่จะนิรโทษกรรมการทำแท้ง จากประมวลกฎหมายอาญา รัฐนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งสภาล่างมีมติเห็นชอบ เมื่อช่วงกลางดึกวานนี้ (8 ส.ค.) หลังมีการอภิปรายอย่างยาวนาน และการแปรญัตติหลายครั้ง ด้วยผลโหวต 59 ต่อ 31 พร้อมเสียงปรบมือแสดงความยินดี หลังสภาล่างมีมติเห็นชอบอย่างเป็นทางการ
สมาชิกสภาล่างรัฐนิวเซาท์เวลส์ต่างแสดงความดีใจ หลังร่างกฎหมายนิรโทษกรรมการทำแท้งมีมติเห็นชอบจากสภาล่าง (Source: AAP) Source: Tiwtter
Member for Newtown Jenny Leong speaks during amendments to the Reproductive Healthcare Reform Bill 2019 in Sydney. Source: AAP
“สส. รัฐนิวเซาท์เวลส์ ได้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงเรื่องที่ผิดให้ถูกต้อง ตั้งแต่กฎหมายนี้ถูกบังคับใช้มาเมื่อ 119 ปีก่อน ผมขอให้สมาชิกทุกท่านพิจารณาว่า มันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้และเที่ยงธรรมหรือไม่ ที่การตัดสินใจอันมีผลต่อชีวิตโดยผู้หญิงและแพทย์จะต้องมีความผิดและเป็นคดีอาญา” นายแฮซเซิร์ดกล่าว
ขณะที่ นางเจนนี เหลียง สมาชิกสภาผู้ร่วมสนับสนุนอีกคนหนึ่งกล่าวว่า เธอรู้สึกประหลาดใจที่ร่างกฎหมายดังกล่าวต้องใช้เวลาที่ยาวนาน และเป็นร่างกฎหมายที่รุกละเมิด จนชายหลายคนเชื่อว่า “พวกเขาสามารถบัญญัติกฎหมาย เพื่อชี้นิ้สั่งว่าเราจะทำอะไรกับร่างกายตัวเองได้หรือไมไ่ด้”
“เสียงของผู้ชายที่โต้เถียงเรื่องทางเลือกในสุขภาพระบบสืบพันธุ์ของพวกเรานั้นฟังแล้วช่างระคายหู มันได้รุกละเมิดดิฉันไปถึงแก่นใน” นางเหลียงกล่าว
ในขณะที่ยังมี สส. อีกจำนวนหนึ่งแสดงความกังวลในเรื่องของการทำแท้งกับผู้ที่มีอายุครรภ์มาก และในด้านของการขัดต่อจริยธรรมการแพทย์ เช่นเดียวกับช่วงเวลาในการพิจารณาร่างกฎหมายนายดอมินิก เปรอตเตท รัฐมนตรีคลัง ซึ่งกล่าว “ในนามของ” ผู้ที่ “ไม่สามารถพูดได้ด้วยตนเอง” กล่าวว่า ผู้สนับสนุร่างกฎหมายดังกล่าว อยู่บนประวัติศาสตร์ที่ผิดฝั่งผิดฝา
Member for Mulgoa Tanya Davies speaks during amendments to the introduction to the Reproductive Healthcare Reform Bill 2019. Source: AAP
“ผมเชื่อในจุดประสงค์ของสภาแห่งนี้ ที่ไม่ใช้พื้นที่ของผู้มีสิทธิพิเศษ แต่เป็นเสียงให้แก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อซึ่งไร้เสียงที่ไม่สามารถพูดได้ด้วยตนเอง และในส่วนนี้ สมาชิกที่ออกเสียงสนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าว ได้ลืมบทบาทของสภาแห่งนี้ในข้อนั้นไป” นายเปรอตเตทกล่าว
นายเดวิด อีเลียด รัฐมนตรีกรมตำรวจ กล่าวว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ได้เป็นประเด็นในการเลือกตั้ง และเรื่องเวลาของร่างกฎหมายดังกล่าวนั้น “เป็นเรื่องฉาบฉวย”
“ผมคิดว่าร่างกฎหมายนี้ออกมาในเวลาที่ไม่เข้าท่า และผ่านกระบวนการพิจารณาที่ย่ำแย่ ผมเชื่อว่า หากเราจะทำให้การพิจารณาร่างกฎหมายนี้ให้ถูกต้อง มันจำเป็นที่จะต้องได้รับการพิจารณาและได้รับการถกเถียงจากจากสาธารณชนให้มากกว่านี้” นายอีเลียดกล่าว
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอร่างกฎหมายปฏิรูปสุขภาพระบบสืบพันธุ์ ปี 2019 ยังต้องพบกับการอภิปรายและการพิจารณาอีกครั้งในสภาสูงทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวได้สร้างการต่อต้านอย่างรุนแรง จากกลุ่มผู้เคร่งศาสนา และผู้ต่อต้านการทำแท้ง
ผู้ประท้วงต่อต้านการทำแท้งเดินขบวนบริเวณหน้ารัฐสภารัฐนิวเซาท์เวลส์ ในช่วงที่มีการอภิปรายร่างกฎหมายนิรโทษกรรมการทำแท้ง (Source: AAP) Source: SBS News
พระสันตปาปาแอนโทนี ฟิชเชอร์ จากนครซิดนีย์ กล่าวว่า รู้สึกเศร้าใจอย่างสุดซึ้งที่ร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านมติเห็นชอบจากสภาล่าง โดออธิบายเหตุการณ์นี้ว่า “น่ารังเกียจ”
“หากอารยธรรมมนุษย์ วัดที่การตัดสินวิธีปฏิบัติต่อผู้อ่อนแอที่สุดในสังคม รัฐนิวเซาท์เวลส์นั้นได้ทำผิดพลาดในเรื่องนี้อย่างยิ่ง ขาพเจ้าขอร้องให้สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สภาสูง) ออกเสียงเพื่อต่อต้านร่างกฎหมายอันน่ารังเกียจนี้ ” พระสันตปาปาแอนโทนีกล่าว เมื่อคืนวานนี้ (8 ส.ค.)
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
การทำแท้งในรัฐควีนส์แลนด์จะไม่ใช่อาชญากรรมอีกต่อไป