การทำแท้งในออสเตรเลีย: กฎหมายของแต่ละรัฐเป็นอย่างไร?

เอสบีเอสนำท่านไปรู้จักกับกฎหมายเรื่องดังกล่าวในประเทศออสเตรเลีย หลังจากการลงคะแนนเสียงต่อกฎหมายการทำแท้งซึ่งเข้มงวดที่สุดในโลกที่อาร์เจนตินาและไอร์แลนด์ในปีนี้

ประเด็นสำคัญในบทความนี้

  • จะถูกตั้งข้อหาอาชญากรรมจริงหรือไม่หากทำแท้ง?
  • ออสเตรเลียมีอัตราการทำแท้งที่สูงหรือไม่?
  • มีที่ใดในออสเตรเลียซึ่งการทำแท้งนั้นผิดกฎหมายอาชญากรรม?
  • อะไรคืออะไรคือเขตเพื่อการเข้าถึงได้อย่างปลอดภัย เซฟแอคเซสโซน (Safe Access Zone)?
กฎหมายการทำแท้งในประเทศออสเตรเลียนั้นซับซ้อน มีกฎต่างๆ ที่แตกต่างกันในแต่ละรัฐและแต่ละมณฑล ซึ่งจะควบคุมการที่ผู้หญิงเข้าใช้กระบวนการดังกล่าว

แสดงให้เห็นว่ามีผู้สนับสนุนสิทธิของผู้หญิงที่จะทำแท้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 73 เปอร์เซ็นต์ และ 76 เปอร์เซ็นต์นั้นประหลาดใจเมื่อได้ทราบว่าการทำแท้งนั้นยังคงเป็นอาชญากรรมในรัฐนิวเซาท์เวลส์

ซึ่งการทำแท้งก็เป็นอาชญากรรมเช่นเดียวกัน ในรัฐควีนส์แลนด์และรัฐเซาท์ออสเตรเลีย แต่ในรัฐเหล่านี้ก็มีข้อแม้บางประการ
June 7, 2018: Supporters of creating a safe access zone around abortion clinics gather outside NSW Parliament House.
June 7, 2018: Supporters of creating a safe access zone around abortion clinics gather outside NSW Parliament House. Source: AAP

จะถูกตั้งข้อหาอาชญากรรมจริงหรือไม่หากทำแท้ง?

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีบางกรณีซึ่งผู้หญิงและแพทย์ถูกดำเนินคดีเนื่องจากการทำแท้งหรือให้ความช่วยเหลือในการทำแท้ง รวมถึงคู่ครองคู่หนึ่งจากเมืองแคนส์ (Cairns) ซึ่ง

แพทย์ท่านหนึ่งในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ได้รับการประกันตัวโดยต้องมีความประพฤติดีเป็นเวลาสองปี เนื่องจากให้ยาทำแท้งแก่สตรีท่านหนึ่งในปี 2006 และในปี 2017 ก็มีสตรีอีกท่านซึ่งซื้อยาทำแท้งจากอินเทอร์เน็ตเพื่อยุติการตั้งครรภ์เนื่องจากแฟนหนุ่มของเธอยืนนั้นยืนกราน

โดยในทั้งสองกรณีนั้นมีอายุการตั้งครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์

งานวิจัยได้แสดงให้เห็นอย่างสม่ำเสมอมาโดยตลอด ว่ามีแรงสนับสนุนจากสาธารณชนที่จะให้ผู้หญิงนั้นมีสิทธิที่จะเลือกได้

โดยวารสารการแพทย์แห่งออสเตรเลีย (‘The Medical Journal of Australia’) พบว่า  87 เปอร์เซ็นต์ของชาวออสเตรเลียสนับสนุนสิทธิของผู้หญิงที่จะทำแท้งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
An anti-abortion rally outside Parliament House in Melbourne.
An anti-abortion rally outside Parliament House in Melbourne. Source: AAP

ออสเตรเลียมีอัตราการทำแท้งที่สูงหรือไม่?

เป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถตัดสินเรื่องนี้ได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากไม่มีการเก็บข้อมูลระดับชาติ

โดยสถิติซึ่งยังคงได้รับการอ้างอิงบ่อยครั้งจาก ) กล่าวว่า มีอัตราการทำแท้งอยู่ที่ 19.7 ครั้งต่อสตรีวัยเจริญพันธุ์ 1,000 คน เมื่อปี 2003

มีรัฐเซาท์ออสเตรเลียเพียงรัฐเดียวเท่านั้นที่เก็บและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการทำแท้ง โดยในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย มีการยุติการตั้งครรภ์ 4,650 ครั้งเมื่อปี 2014 ซึ่งคิดเป็น 13.8 ครั้งต่อสตรีวัยเจริญพันธุ์ 1,000 คน (วัดที่อายุ 15-44 ปี)

การขาดแคลนข้อมูลระดับชาติซึ่งทันสมัย หมายความว่าเรื่องดังกล่าวนั้นยังคงเป็นคำถามที่มีนัยทางการเมืองอยู่เป็นอย่างมาก โดยเหล่านักการเมืองหัวอนุรักษ์นิยม นักรณรงค์ต่อต้านการทำแท้ง ทั้งยังมีรายงานว่าบริษัทยาต่างๆ ซึ่งทำตลาดเกี่ยวกับยายุติการตั้งครรภ์ ต่างก็เคยออกมากล่าวอ้างว่าประเทศออสเตรเลียนั้นมีอัตราการทำแท้งที่สูง
และถึงแม้ว่าตัวเลขที่สูงขึ้นเมื่อปี 2005 นั้นจะถูกต้องก็ตาม ประเทศออสเตรเลียนั้นถือว่ามีอัตราที่ต่ำ หากเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของทั่วโลก
โดยอ้างอิงจากสถาบันกัตต์มาเชอร์ (Guttmacher Institute) ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐฯ ที่ได้ทำการวิจัยการทำแท้งทั่วโลก ในปี 2010-2014 อัตราการทำแท้งทั่วโลกรายปีนั้นได้รับการประเมินไว้ที่ 35 ต่อสตรีวัญเจริญพันธุ์ 1,000 คน ซึ่งลดต่ำลงจาก 40 เมื่อสองทศวรรษที่แล้ว

ในระยะเวลาสองทศวรรษจากปี 1994 ถึง 2014 อัตราการทำแท้งได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนในประเทศพัฒนาแล้ว จาก 46 เป็น 27 เปอร์เซ็นต์ต่อผู้หญิง 1,000 คน แต่ทว่าอัตรายังคงที่อยู่ ในประเทศซึ่งยากจนกว่าหรือประเทศที่กำลังพัฒนา

โดยหนึ่งในสี่ของการตั้งครรภ์ทั่วโลกนั้นยุติลงด้วยการทำแท้ง

มีที่ใดในออสเตรเลียซึ่งการทำแท้งนั้นผิดกฎหมายอาชญากรรม?

แต่ละรัฐนั้นออกกฎหมายของตัวเองในเรื่องการทำแท้ง

ในรัฐควีนส์แลนด์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ และรัฐเซาท์ออสเตรเลีย การทำแท้งนั้นถือเป็นการก่ออาชญากรรมโดยรวมทั้งผู้หญิงและแพทย์ นอกเสียจากมีข้อยกเว้นในบางกรณี

แต่การทำแท้งนั้นได้ถูกเพิกถอนจากการเป็นอาชญากรรมแล้วในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย มณฑลนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี รัฐวิกตอเรีย และมณฑลเอซืที
“เซาท์ออสเตรเลียนั้นเป็นเพียงรัฐเดียวที่เก็บและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการทำแท้ง”
มีความพยายามเมื่อเร็วๆ นี้ที่จะให้การทำแท้งนั้นถูกจำหน่ายออกไปจากประมวลกฎหมายอาญาของรัฐควีนส์แลนด์ () และในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ()  ซึ่งก็ล้มเหลวเนื่องจากภาวะทางการเมืองที่ขัดแย้งกันอย่างหนักในเรื่องดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ศาลของรัฐนิวเซาท์เวลส์และรัฐควีนส์แลนด์ก็ได้ตีความต่อความคลุมเครือของรัฐบัญญัติ(กฎหมายของรัฐดังกล่าว) โดยได้ขยายความหมายของการทำแท้งอย่าง “ถูกกฎหมาย” ให้รวมไปถึงกรณีต่างๆ ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าการตั้งครรภ์ต่อไปนั้นจะส่งผลให้เกิดภยันตรายอย่างหนักหน่วงต่อสุขภาพจิตใจหรือสุขภาพกายของผู้หญิง

ซึ่งในทางปฏิบัติก็จะหมายถึงว่า ในรัฐนิเซาท์เวลส์และควีนส์แลนด์ การทำแท้งก็จะสามารถทำได้ที่คลินิกเอกชนโดยไม่จำเป็นต้องมีการส่งตัว โดยมีแพทย์ทั่วไป (GPs) จำนวนหนึ่งที่จะสั่งยาเพื่อทำแท้ง
There were scenes of jubilation in Ireland among Yes supporters after the results of the referendum were announced.
There were scenes of jubilation in Ireland among Yes supporters after the results of the referendum in May were announced. Source: AAP
คลินิกหลายๆ แห่งนั้นมีบริการทำแท้งทางไกล (Abortion telehealth) ซึ่งผู้หญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ที่มีอายุครรภ์อ่อน สามารถจะปรึกษาทางโทรศัพท์กับแพทย์ได้ ก่อนที่จะได้รับยาทำแท้งตามหลักการแพทย์ทางไปรษณีย์เพื่อรับประทานที่บ้าน

รัฐเซาท์ออสเตรเลียเป็นรัฐแรกที่ให้มีการทำแท้งอย่างถูกกฎหมายได้ในบางสถานการณ์ โดยแพทย์สองคนจะต้องเห็นชอบว่ากระบวนการดังกล่าวนั้นจำเป็น เนื่องจากข้อวิตกกังวลต่างๆ ต่อสุขภาพของผู้หญิงและต่อความพิการของทารกในครรภ์ การทำแท้งอย่างถูกกฎหมายสามารถทำได้ฟรี ณ โรงพยาบาลซึ่งได้รับการระบุไว้

ในรัฐแทสมาเนีย ได้มีการยกเลิกความผิดทางอาญาเนื่องจากการทำแท้งในปี 2013 ) ซึ่งเป็นบริการให้คำปรึกษาและส่งตัวต่อเรื่องการทำแท้งที่ตั้งอยู่ในรัฐควีนส์แลนด์ ก็จะไม่มีคลินิกใดเลยในรัฐดังกล่าวที่รับทำแท้งตามหลักการแพทย์ ซึ่งก็หมายความว่า สตรีในรัฐแทสมาเนียหากต้องการจะทำแท้งหลังจากตั้งครรภ์ได้เก้าสัปดาห์นั้นก็จำเป็นที่จะต้องออกเดินทาง

ตารางต่อไปนี้ช่วยสรุปความซับซ้อนต่างๆ ของทั่วทุกรัฐและมณฑล
NSW Parliamentary Research Library
Source: NSW Parliamentary Research Library

อะไรคือเขตเพื่อการเข้าถึงได้อย่างปลอดภัยเซฟแอคเซสโซน (Safe Access Zone)?

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีกฎหมายซึ่งถูกบังคับใช้แล้วในรัฐวิกตอเรีย มณฑลนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี มณฑลเอซีทีและรัฐแทสมาเนีย เพื่อรับมือกับการเข้าระรานผู้หญิงซึ่งเดินทางไปยังคลินิกทำแท้ง โดยผู้ประท้วงต่อต้านการทำแท้ง

ในเขตเพื่อการเข้าถึงได้อย่างปลอดภัยเซฟแอคเซสนั้น จะห้ามทำพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นการดูถูก ข่มขู่ ขัดขวาง หรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้คนซึ่งพยายามที่จะเข้าใช้บริการหรือให้บริการทำแท้ง รวมไปถึงการถ่ายภาพผู้หญิงหรือผู้ให้บริการต่างๆ ทางคลินิกด้วย


Share
Published 20 August 2018 2:26pm
By Kelsey Munro
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News, AAP


Share this with family and friends