รัฐบาลเตรียมผลักดันกฎหมายเพื่อต่อสู้การเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างต่างชาติ

รัฐบาลสหพันธรัฐจะร่างกฎหมายเพื่อความชัดเจนของสิทธิแรงงานต่างชาติ เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองแรงงานเทียบเท่ากับพลเมืองออสเตรเลีย

A man standing at a lectern.

รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานสัมพันธ์โทนี เบิร์กกล่าวว่าการตัดสินใจนี้เป็นก้าวสำคัญเพื่อยุติการเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างต่างชาติ Source: AAP / Lukas Coch

ประเด็นสำคัญ
  • พรรคแรงงานเตรียมร่างกฎหมายเพื่อความชัดเจนของสิทธิการทำงานของแรงงานต่างชาติ
  • หลังผลการตรวจสอบพบมีความสับสนว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองการทำงานที่เป็นธรรมครอบคลุมแรงงานต่างชาติหรือไม่
  • ผลการสำรวจยังพบว่าแรงงานต่างชาติจำนวนมากถูกโกงค่าจ้าง
พรรคแรงงานเตรียมร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างชาติ (Temporary Migrant Workers) เตือนมักมีการแสวงประโยชน์จากกลุ่มนี้ เนื่องจากไม่ทราบถึงสิทธิในการทำงาน

การทบทวนเรื่องนี้เป็นเวลา 3 ปีระบุผลลัพธ์เรื่องความสับสนว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองการทำงานที่เป็นธรรม (Fair Word Act) มีผลบังคับใช้กับกลุ่มแรงงานต่างชาติหรือไม่ ส่งผลให้รัฐบาลสหพันธรัฐเตรียมออกร่างพระราชบัญญัติกฎหมายเพื่อความชัดเจนว่าแรงงานต่างชาติมีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองในการทำงานเฉกเช่นพลเมืองออสเตรเลีย

มีแรงงานต่างชาติหลายคนเล่าเรื่องของการถูกโกงค่าจ้างซ้ำแล้วซ้ำเล่า หลายคนกลัวว่าการพูดหรือเรียกร้องค่าชดเชยจะทำให้พวกเขาตกงานและถูกยกเลิกวีซ่า

รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานสัมพันธ์โทนี เบิร์ก (Tony Burke) กล่าวว่าแรงงานต่างชาติไม่ค่อยมีความรู้เรื่องสิทธิในการทำงานและมักกลัวที่จะขอความข่วยเหลือเรื่องค่าจ้างและสถานะการทำงาน
รัฐมนตรีเบิร์กอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญเพื่อต่อสู่กับการแสวงประโยชน์จากแรงงานต่างชาติ
บ่อยครั้ง นายจ้างที่ไร้ยางอายอาศัยช่องโหว่เอาเปรียบแรงงานต่างชาติ
“แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ แรงงานต่างชาติจะไม่มีข้อสงสัยถึงสิทธิในการทำงานและจะได้รับความคุ้มครองเหมือนชาวออสเตรเลีย” รัฐมนตรีเบิร์กแถลง

พรรคแรงงานมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำทั้ง 22 ข้อซึ่งเป็นผลของการทบทวนเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติฉบับนี้ ที่ได้รับการเผยแพร่เมื่อต้นปี 2019 ระบุคำเตือนถึงความสับสนว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองการทำงานที่เป็นธรรมครอบคลุมถึงแรงงานต่างชาติหรือไม่

โดยพบว่า บางครั้งสถานที่ทำงานบางแห่งในออสเตรเลียส่งเสริมความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานต่างชาติ

“ความเข้าใจผิดที่แพร่หลายที่สุดคือกฎหมายและสถานะในการทำงานที่ออสเตรเลียไม่คุ้มครองแรงงานต่างชาติ ด้วยเหตุนี้ แรงงานต่างชาติจำนวนมากจึงไม่เสาะหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลของทางการ เช่น ผู้ตรวจการเพื่อการจ้างงานที่เป็นธรรม (Fair Work Ombudsman)” รายงานระบุ
People walking through an airport.
พบแรงงานต่างชาติจำนวนมากไม่ทราบถึงสิทธิในการทำงานที่ออสเตรเลีย Source: Flickr
พรรคแรงงานแถลงว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะทำให้ผู้ถือวีซ่าที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าเกณฑ์มีความมั่นใจมากขึ้นในการขอความช่วยเหลือจากแฟร์ เวิร์ก โดยรัฐมนตรีเบิร์กกล่าวว่ารัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบที่เป็นธรรมและเท่าเทียมมากขึ้น

“แรงงานข้ามชาติชั่วคราวมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของเรา พวกเขามีสิทธิในการทำงานและสิทธิในการได้รับความคุ้มครองเฉกเช่นพลเมืองออสเตรเลียและผู้พำนักถาวร” รัฐมนตีเบิร์กกล่าว

การสำรวจจัดทำขึ้นโดยศูนย์แรงงานข้ามชาติ (Migrant Workers Centre) ซึ่งถูกเผยแพร่ในเดือนมีนาคม 2021 รายงานพบว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานข้ามชาติในออสเตรเลียเคยถูกโกงค่าจ้าง และมีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่สามารถเรียกร้องเงินที่ถูกโกงไปได้ นายจ้างที่โกงค่าจ้างจากผู้อพยพผ่านการจ่ายด้วยเงินสด ไม่จ่ายตามอัตราค่าจ้างและการให้ชิฟท์เพื่อทดลองงานโดยผิดกฎหมาย

ผลการสำรวจยังรายงานถึงจำนวนแรงงานต่างชาติกว่าครึ่งที่รู้สึกไม่ปลอดภัยในการทำงาน เคยถูกทำร้ายจิตใจด้วยคำพูด ถูกเลือกปฏิบัติและถูกกลั่นแกล้ง


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 29 March 2023 4:09pm
By Finn McHugh
Presented by Chollada Kromyindee
Source: SBS


Share this with family and friends