นักศึกษาโครงการนำร่อง 9 ประเทศ เตรียมกลับมาเรียนต่อที่ SA

นักศึกษาต่างชาติในสังกัดมหาวิทยาลัยรัฐเซาท์ออสเตรเลียราว 300 คนที่ติดค้างอยู่ต่างแดน กำลังจะได้กลับมาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยรัฐ 3 แห่ง ในช่วงตั้งแต่เดือน พ.ย.นี้ จนถึงเดือน ม.ค. ปีหน้า

International students set to return to Adelaide from nine locations.

Raj Kumar, the Consul General of Indian to Melbourne told SBS Punjabi that the new guidelines have been circulated to Indian missions abroad. Source: Getty Images/Pollyana Ventura

โฆษกรัฐบาลรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ได้กล่าวกับเอสบีเอส ภาษาปัญจาบ ว่าได้มีการจัดเตรียมที่นั่งในเที่ยวบินพิเศษ สำหรับพานักศึกษาต่างชาติของมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียกลับมาศึกษาในประเทศ เช่นเดียวกับการนำผู้อาศัยถาวร และพลเมืองออสเตรเลียที่ติดค้างในต่างแดน จากมาตรการปิดพรมแดนเพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโคนาเป็นเวลาหลายเดือน ที่มีความประสงค์จะเดินทางกลับบ้าน

“โครงการนำร่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับมหาวิทยาลัยในเซาท์ออสเตรเลีย และสำหรับนักศึกษาเหล่านี้ แต่การนำชาวออสเตรเลียกลับบ้านนั้น ยังคงเป็นสิ่งสำคัญของเรา และรัฐบาลออสเตรเลีย” โฆษกรัฐบาลรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ระบุ


ประเด็นสำคัญ

  • นักศึกษาต่างชาติราว 300 คน จะเดินทางกลับมายังรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ด้วยสายการบินสิงคโปร์ แอร์ไลน์
  • มีนักศึกษาจาก 9 ประเทศ ได้รับการเชิญให้เข้าร่วมโครงการนำร่องในครั้งนี้
  • รัฐบาลสหพันธรัฐยืนยันว่า นักศึกษาต่างชาติจากประเทศที่มีความหลากหลาย จะสามารถเดินทางกลับมายังออสเตรเลียได้

นักศึกษาจากประเทศไหนจะได้กลับมาในเที่ยวบินพิเศษนี้

ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการนำร่องในครั้งนี้ โฆษกรัฐบาลรัฐเซาท์ออสเตรเลีย กล่าวว่า ประเทศที่จะมีการนำนักศึกษากลับมา วันเดินทาง และจำนวนนักศึกษาในแต่ละเที่ยวบินนั้น ยังคงอยู่ระหว่างรอการยืนยัน
International students
นักศึกษาต่างชาติจาก 9 ประเทศ ได้รับการเชิญให้เข้าร่วมกับโครงการนำร่องของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย Source: Getty Images
แต่อย่างไรกตาม รัฐบาลรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ยืนยันว่า ได้มีการส่งคำเชิญเข้าร่วมโครงการนำร่องนี้ไปยังนักศึกษาจาก 9 ประเทศ
มีความเชื่อมโยงการบินระหว่างตลาดต่าง ๆ ทั่วภูมิภาค และนักเรียนจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน เวียดนาม มาเลเซีย ฮ่องกง ไทย และอินโดนีเซียนั้น ต่างได้รับการเชิญให้เข้าร่วมโครงการนำร่องนี้
โฆษกรัฐบาลรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ระบุอีกว่า มหาวิทยาลัยในรัฐเซาท์ออสเตรเลียทั้ง 3 แห่ง ที่ได้เข้าร่วมโครงการนำร่องดังกล่าว ได้แก่ มหาวิทยาลัยแอดิเลด (Adelaide University) มหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส (Flinders University) และมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย (South Australia University) ได้ส่งจดหมายเชิญไปยังนักศึกษาในสังกัดเพื่อให้ “เตรียมพร้อม” สำหรับโครงการนำร่องดังกล่าว 

“โครงการนำร่องนี้ ยังคงรองรับนักศึกษาที่จะเดินทางกลับมาอยู่ที่ 300 คน และพวกเขาจะเริ่มเดินทางไปถึงออสเตรเลียโดยเที่ยวบินที่แยกกันของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ ในช่วงตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป และรัฐเซาท์ออสเตรเลียมีความยินดีที่จะต้อนรับพวกเขาเหล่านั้นกลับมา” โฆษกรัฐบาลเซาท์ออสเตรเลีย ระบุ

จากข้อมูลของหน่วยงานมหาดไทยออสเตรเลีย คาดว่า จำนวนนักศึกษาต่างชาติในออสเตรเลีย มีน้อยกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ก่อนที่จะประกาศปิดพรมแดนจากไวรัสโคโรนา เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาประมาณ 210,000 คน โดยตัวเลขดังกล่าวได้รวมถึงนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนแล้ว แต่ยังคงติดค้างอยู่ในต่างประเทศ

หนึ่งในนั้นคือ คุณมันดีรา ราจา (Mandira Raja) นักศึกษาต่างชาติในนครแอดิเลด ซึ่งกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาธุรกิจกับมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง นักศึกษาวัย 24 ปีคนนี้ กำลังรอที่จะกลับมาศึกษาต่อที่ออสเตรเลียด้วยความวิตกกังวล
Chinese international students disappointed that Australian border likely won't open until late next year
รูปภาพเพื่อประกอบบทความนี้เท่านั้น Source: Getty Images/Amanda Mabel Photography

‘ขอให้นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนแล้วได้กลับไปศึกษาต่อ’

คุณราจา ได้ฝากความหวังกับความสำเร็จในโครงการนำร่องดังกล่าว ที่เธอเชื่อว่า จะเป็นการกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการเริ่มนำพานักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนอยู่ในขณะนี้กลับมายังออสเตรเลีย

“ฉันทราบว่า สถาบันการศึกษาที่ฉันเรียนไม่ได้ดำเนินโครงการนำร่องนี้ แต่ฉันหวังว่า เมื่อนักศึกษาต่างชาติ 300 คนเดินทางกลับมายังสถานศึกษาได้อย่างปลอดภัย มันก็คงจะถึงคราวของเราที่จะได้กลับไปบ้าง” คุณราจา กล่าว

คุณราจา กล่าวอีกว่า อย่างน้อย รัฐบาลออสเตรเลียควรที่จะอนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาแล้วกลับมาเรียนจนจบ 

“ได้โปรดให้เราได้กลับไปเรียนต่อ เพราะไม่ใช่ทุกหลักสูตรที่จะสามารถเรียนทางออนไลน์ได้ บางหลักสูตรต้องใช้เครื่องมือเฉพาะทาง ในขณะที่หลักสูตรธุรกิจอย่างที่ดิฉันเรียน จำเป็นต้องมีการนำเสนอในชั้นเรียนอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งการเรียนการสอนแบบตัวต่อตัวนั้นมีความจำเป็น” คุณราจา กล่าว

‘นักศึกษาจากประเทศที่หลากหลายควรได้รับอนุญาตให้กลับมาเรียนต่อ’

จากส่วนหนึ่งของขั้นตอนในโครงการนำร่องดังกล่าว รัฐบาลสหพันธรัฐระบุว่า “แผนการนำนักศึกษากลับมาจะต้องรวมถึงประเทศต้นทางของนักศึกษาที่หลากหลาย” แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีการระบุถึงชื่อประเทศต่าง ๆ อย่างชัดเจน
Nepali Students Melbourne International
ในโครงการนำร่องดังกล่าว จะมีนักศึกษาต่างชาติจำนวน 300 คน ที่ได้เดินทางกลับมาศึกษาต่อในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย Source: Abhas Parajuli
เพื่อเป็นการตอกย้ำจุดยืนของรัฐบาล นายฟิล ฮันนีวูด ประธานบริหารของสมาคมการศึกษานานาชาติออสเตรเลีย กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลจะเลือกปฏิบัติกับนักศึกษาต่างชาติจากประเทศอย่างเช่น อินเดีย ที่กำลังเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่

“นายกรัฐมนตรีได้ประกาศแผนกลไกนโยบายแห่งชาติ โดยคณะรัฐบาลแห่งชาติ พร้อมด้วยรัฐบาลจากรัฐและมณฑลต่าง ๆ ในออสเตรเลีย ได้มีการลงนามเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (6 พ.ย.) และกลไกนโยบายแห่งชาตินี้ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า มีความต้องการนำนักศึกษาต่างชาติกลับมายังออสเตรเลีย ภายในภาคเรียนที่ 1 ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในปีหน้า” นายฮันนีวูด กล่าว

“แผนนำร่องนี้จะไม่มีการเลือกปฏิบัติ และไม่มีการระบุว่า เราจะนำนักศึกษาต่างชาติ เฉพาะจากประเทศที่ควบคุมสถานการณ์ไวรัสโคโรนากลับมาเท่านั้น” นายฟิล ฮันนีวูด กล่าว 

แต่รายละเอียดของโครงการนำร่อง ที่ระบุบนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย ระบุอย่างชัดเจนว่า “จะไม่มีนักศึกษาต่างชาติ จากประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาติดอันดับ 12 ประเทศของโลก ที่ได้รับการระบุโดยองค์การอนามัยโลก (ข้อมูลล่าสุด ณ เดือนตุลาคม 2020)”

นอกจากนี้ในเว็บไซต์ดังกล่าวยังระบุอีกว่า “การกำหนดประเทศที่จะนำนักศึกษากลับมานั้น อยู่บนพื้นฐานของเส้นทางบินที่ได้รับการรับรองโดยสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทำเที่ยวบินต่อมายังแอดิเลด”

นักศึกษาจะได้รับการขึ้นรายชื่อในโครงการอย่างไร

ขณะที่ยังไม่มีการจองเที่ยวบินที่ได้รับการยืนยัน มีรายงานว่า นักศึกษาที่ต้องการเดินทางกลับมาในโครงการนำร่องดังกล่าวทั้งหมด จะต้องเป็นลงทะเบียนเรียนอยู่แล้ว และสามารถออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับมา และอยู่ในสถานที่กักตัวเพื่อเฝ้าระวังอาการเป็นเวลา 2 สัปดาห์ได้  โดยมีความช่วยเหลือบางส่วนจากมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการ

โดยนักศึกษาซึ่งมีคุณสมบัติที่มีความประสงค์จะเดินทางกลับมาในโครงการนำร่องนี้ จะได้รับการขึ้นรายชื่อบนพื้นฐานการพิจารณาหลายปัจจัย เช่น ข้อกำหนดในหลักสูตร และความจำเป็นในการเรียนแบบตัวต่อตัว การศึกษาภาคปฏิบัติ และการฝึกงานในสถานที่ทำงานจริง เช่นเดียวกับนักศึกษาที่ใกล้จะสำเร็จการศึกษา เช่นเดียวกับรายละเอียดที่ได้มีการกำหนดไว้โดยรัฐบาลรัฐเซาท์ออสเตรเลีย


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

น้องชายเล่าถึงหนุ่มไทยที่ดับขณะตกปลาริมทะเลซิดนีย์


Share
Published 12 November 2020 1:54pm
Updated 12 November 2020 2:15pm
By Avneet Arora
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends