นอนไม่หลับทำอย่างไรดี?

เมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็ดูจะยากเย็นขึ้นในการข่มตานอน การนอนไม่หลับเรื้อรังนั้นถูกเชื่อมโยงเข้ากับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานประเภทที่ 2 หัวในวาย ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร แต่ก็พอมีข่าวดีสำหรับผู้ที่นอนไม่หลับอยู่บ้าง

รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

By Jane E. Brody © 2019 The New York Times.
You can read the full version of this story in English on SBS News .

เมื่อคืนคุณนอนหลับดีหรือไม่? โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณอายุเกิน 65 ปี ฉันก็หวังว่าคุณจะสามารถหลับได้ดีกว่าคนอื่นๆ ในช่วงวัยเดียวกัน

  โดยสถาบันด้านการสูงวัยแห่งชาติ (National Institute on Aging) ซึ่งศึกษาชาวอเมริกันจำนวนกว่า 9,000 คนที่มีอายุเกิน 65 ปีพบว่า กว่าครึ่งหนึ่งเล่าว่าพวกเขาประสบความยากลำบากในการนอนให้หลับและการหลับอย่างต่อเนื่อง ส่วนคนอื่นๆ นั้นถึงแม้จะเชื่อว่ามีจำนวนชั่วโมงการนอนที่เพียงพอ ก็ยังบ่นว่าเมื่อพวกเขาตื่นขึ้นก็รู้สึกว่าพักผ่อนไม่เต็มที่

การนอนไม่หลับเรื้อรัง (Chronic Insomnia) ซึ่งกระทบต่อผู้ใหญ่สูงวัยเป็นจำนวน โดยนอกจากจะทำให้รู้สึกอ่อนล้าแล้ว ยังถูกเชื่อมโยงเข้ากับความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานประเภทที่ 2 หัวใจวาย ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ภาวะดังกล่าวยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) อีกด้วย

การค้นคว้าโดยนักวิจัยที่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยรัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania State University College of Medicine) ซึ่งติดตามชายและหญิงเป็นจำนวนกว่า 1,700 คนพบว่า ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงนั้นเพิ่มขึ้นห้าเท่าในหมู่ผู้ที่นอนหลับน้อยกว่าห้าชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสูงขึ้นสามถึงห้าเท่าสำหรับผู้ที่นอนหลับระหว่างห้าถึงหกชั่วโมง แต่ทว่าไม่มีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นในหมู่ผู้ที่นอนหลับตั้งแต่หกชั่วโมงหรือมากกว่าเป็นประจำ และเช่นเดียวกัน ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานก็เพิ่มสูงขึ้นสามเท่าในกลุ่มผู้ซึ่งนอนน้อยที่สุด และสองเท่าสำหรับผู้ที่นอนหลับเป็นเวลาห้าถึงหกชั่วโมง

ผู้ประสบกับภาวะนอนไม่หลับนั้นมักจะบ่นว่าพวกเขาไม่มีสมาธิ ไม่สามารถเอาใจจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ หรือไม่ก็มีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ ซึ่งแม้ว่าพยานหลักฐานในเรื่องนี้นั้นจะยังไม่คงเส้นคงวา งานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียแสดงก็ให้เห็นว่า ผู้ประสบภาวะนอนไม่หลับนั้น มีแนวโน้มที่จะมีผลการทดสอบด้านความรวดเร็วของการคิด ด้านการเปลี่ยนความสนใจจากสิ่งหนึ่งสู่อีกสิ่งหนึ่ง และด้านการจำภาพต่างๆ ที่ย่ำแย่ และงานวิจัยเกือบทุกชิ้นแสดงให้เห็นว่า ภาวะนอนไม่หลับนั้นมีผลเสียต่อความสามารถในการใช้สมอง (และ)มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความพิการอย่างอ่อนๆ ของสมองและต่อโรคสมองเสื่อม
“การงีบเป็นระยะเวลา 20 นาทีนั้นช่วยได้ทีเดียวสำหรับหลายๆ คน แต่มันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีนักที่จะทำ หากคุณประสบกับความยากลำบากในการนอนตอนกลางคืน”
เบื้องหลังของปัญหาต่างๆ มากมายเหล่านี้นั้นอยู่ที่การตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด ความเครียดจะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารต่างๆ เช่น คอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันว่าเป็นสารกระตุ้นและทำให้นอนไม่หลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนวัยกลางคนซึ่งมีสุขภาพดีนั้นจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบของฮอร์โมนที่เป็นสารกระตุ้นให้นอนไม่หลับเหล่านี้ โดย ดร. อเล็กซานดรอส เอช กอนซาส (Alexandros H. Vgontzas) และ ฮูลิโอ เฟอร์นานเดส-เมนโดซา (Julio Fernandez-Mendoza) ได้ประพันธ์ลงในวารสารเคอร์เรนต์ไซไคแอทรีรีพอร์ตส์ (Current Psychiatry Reports) ว่าเรื่องดังกล่าว ว่าเพราะเหตุใดผู้สูงอายุจึงมีแนวโน้มจะประสบปัญหานอนไม่หลับมากกว่า

ทั้งสองคนยังเสริมว่า ผู้ที่ประสบกับภาวะนอนไม่หลับทุกคนจะประสบกับการกระตุ้นโดยคอร์ติซอลที่เพิ่มสูงขึ้นในชั่วโมงที่นอน ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าทำไมคนจำนวนมากบ่นว่าไม่รู้สึกว่าได้พักผ่อนอย่างเต็มที่หรือได้ฟื้นตัว(เพียงพอ)หลังจากที่นอน ไม่ว่าจะเป็นเวลากี่ชั่วโมงก็ตาม

หากอ้างอิงจาก ดร. นาบิล เอส คาเมล (Nabil S. Kamel) และ ดร. จูลี เค แกมแมค (Gammack) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคคนชราจากเมืองสปริงฟิลด์ รัฐมิสซูรี และจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยบเซนต์หลุยส์ ปัญหาการนอนนั้น โดยปริมาณการนอนซึ่งจำเป็นสำหรับแต่ละคนนั้นจะไม่เท่ากัน จึงไม่มี “มาตรฐานทอง” (gold standard) ว่าผู้ที่สูงวัยขึ้นนั้นจำเป็นจะต้องนอนมากเท่าไร ทว่าจะขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคนว่าพวกเขานั้นรู้สึกอย่างไรและสามารถจะทำกิจวัตรได้ดีแค่ไหนจากปริมาณการนอนของพวกเขา

นักวิจัยการนอน คุณอดัม พี สปิรา (Adam P. Spira) และเพื่อนร่วมงานจากโรงเรียนสาธารณสุขแห่งมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์บลูมเบอร์ก (John Hopkins Bloomberg School of Public Health) ในหมู่ปัจจัยต่างๆ ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ใหญ่ซึ่งสูงวัยขึ้นทุกคนนั้น ความเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของรูปแบบการนอนและจังหวะรอบวัน(เซอร์คาร์เดียนริธธึม, Cercadian Rhythm) นั้นมาพร้อมๆ กับการแก่ตัวลง ตามธรรมชาติคนเราจะนอนหลับลึก (deep sleep) และหลับฝันเมื่อเข้าสู่ช่วงการนอนอาร์อีเอ็ม (REM sleep) น้อยลงตั้งแต่วัยกลางคนเป็นต้นไป และสิ่งที่เรียกว่าการนอนอย่างมีประสิทธิภาพ (sleep efficiency) ซึ่งได้แก่สัดส่วนของเวลาที่นอนในเวลาที่อยู่บนเตียง ก็จะ

ความเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่าการมาถึงเร็วขึ้นของระยะเซอร์คาเดียน (circadian phase advance) นั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อสูงวัยขึ้น ทำให้คุณรู้สึกง่วงนอนและตื่นขึ้นเร็วกว่าเมื่อก่อน คุณอาจสามารถเลื่อนเวลานอนออกไปได้ด้วยการดื่มคาเฟอีนหรือด้วยการงีบในช่วงบ่าย แต่ก็ไม่ต้องประหลาดใจหากพบว่าคุณไม่สามารถจะง่วงหลับลงได้เมื่อถึงเวลานอน หรือไม่สามารถจะนอนหลับได้ตลอดจนกระทั่งถึงเวลาตื่น

โดยคุณสปิรากล่าวว่า “การงีบเป็นระยะเวลา 20 นาทีนั้นช่วยได้ทีเดียวสำหรับหลายๆ คน แต่มันอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีนักที่จะทำ หากคุณประสบกับความยากลำบากในการนอนตอนกลางคืน”

ปัจจัยจำนวนมากที่ส่งผลให้การนอนย่ำแย่นั้นสามารถรักษาได้และกำจัดไปได้หมด หากทราบวิธีการที่จะปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการนอนของวัยที่สูงขึ้น และด้วยการปรับพฤติกรรมที่ขัดต่อการนอนหลับ

เริ่มต้นด้วยการฝึกหัดการมีสุขอนามัยการนอนที่ดี (good sleep hygiene) หลีกเลี่ยงหรือใช้คาเฟอีนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงบุหรี่ และสารกระตุ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอลกอฮอล์ จริงอยู่ที่ไวน์แก้วหนึ่งนั้นอาจช่วยให้คุณง่วงนอนได้เร็วขึ้น ทว่ามันก็มักจะบั่นทอนคุณภาพและความยาวนานของการนอน

การออกกำลังกาย (กลางแจ้งหากเป็นไปได้) อย่างสม่ำเสมอแต่ไม่ออกกำลังกายใกล้เวลานอน การได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติในระหว่างวันและในช่วงเย็น(early evening) ก็อาจช่วยปรับนาฬิกาชีวภาพของคุณเพื่อทำให้ง่วงเมื่อถึงเวลานอน ให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนนอน หากคุณหิวก็ให้รับประทานอาหารว่างเบาๆ เช่นกล้วยสักผล นมแก้วหนึ่ง หรือขนมกรุบกรอบจากธัญพืชหยาบ (whole-grain crackers) ซึ่งอาจช่วยเพิ่มความง่วงให้นอนหลับลงได้ง่ายขึ้น

การอ่านหนังสือก่อนนอนนั้นไม่เป็นไร แต่มูลนิธิเพื่อการนอนแห่งชาติ (National Sleep Foundation) ก็เตือนไม่ให้อาบแสงสีฟ้า (blue light) จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (เช่นแอมะซอนคินเดิล) จากโทรศัพท์มือถือ แทบเบล็ต คอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งจากโทรทัศน์ โดยแสงสีฟ้านั้นสามารถเป็นสิ่งกระตุ้น และไปกดการหลั่งเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนการนอนตามธรรมชาติ และทำให้การเริ่มนอนนั้นล่าช้าออกไปอีก ให้หันมาใช้โคมไฟเพื่ออ่านหนังสือ(เป็นเล่มๆ) แทน หรือไม่เช่นนั้นก็ให้ใช้อุปกรณ์คินเดิลเปเปอร์ไวท์ (Kindle Paperwhite) ซึ่งไม่มีแสงสีฟ้า
Image of a man using a mobile phone at night with visible blue light emitting from its screen.
แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเป็นสิ่งกระตุ้น และไปกดการหลั่งเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนการนอนตามธรรมชาติ (Image source: Pixabay) Source: Pixabay
ถ้าหากว่ามีความคิดออกนอกลู่นอกทางเกิดขึ้นในหัวขณะที่คุณกำลังพยายามข่มตานอน หรือคุณหวาดกลัวว่าอาจลืมอะไรที่สำคัญไปสักอย่าง ก็ให้มีแผ่นกระดาษสำหรับจดและปากกาไว้ที่ข้างเตียงเพื่อเขียนเตือนตัวเอง จะได้วางสมองไม่คิดจนกระทั่งถึงเวลาเช้าเสียก่อน

เป็นไปได้ว่าปัญหาที่สร้างกันเองขึ้นมาจนพบได้บ่อยมากที่สุดก็คือความวิตกกังวล การคิดในแง่ร้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิตกกังวลว่าจะนอนไม่พอนั้น คุณสปิรากล่าวว่า “ยิ่งก่อให้เกิดการกระตุ้นเพิ่มมากขึ้นไปอีก ซึ่งจะแข่งกับความผ่อนคลายและความสามารถที่จะนอนหลับ” กลยุทธ์เพื่อรับมือกับวันบางวันที่มีเวลานอนน้อยของดิฉันคือการบอกกับตัวเองว่าจะไม่มีอะไรเลวร้ายเกิดขึ้น ฉันบอกกับตัวเองว่าจะสามารถผ่านพ้นวันรุ่งขึ้นไปได้อย่างโอเค และก็อาจนอนหลับดีขึ้นในวันถัดไปก็ได้

การมากระสับกระส่ายเกี่ยวกับอะไรสักอย่างซึ่งเกิดขึ้นไปแล้ว หรือกับสิ่งที่คุณจะเผชิญในวันรุ่งขึ้น จะกีดขวางการนอนหลับที่ดี ความเครียดจะสั่งให้ส่วนต่างๆ ของสมองซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นเร้าและสร้างความตื่นตัวให้ทำงาน คุณอาจลองพยายามทำตามคำแนะนำจากเพลงเมื่อสมัยทศวรรษที่ 1930s ที่ว่าให้ “ทิ้งความวิตกกังวลเอาไว้ที่ธรณีประตู แค่ขยับเท้าเข้าหาถนนฝั่งที่มีแสงส่องสว่าง” (“leave your worries on the doorstep, just direct your feet on the sunny side of the street.”) หรือพูดง่ายๆ ก็คือ พยายามคิดเรื่องผ่อนคลายในสมองเพื่อระงับเรื่องที่น่าวิตกกังวล

Share
Published 3 July 2019 12:18pm
Updated 3 July 2019 1:39pm
By Jane E. Brody
Presented by Tanu Attajarusit
Source: The New York Times


Share this with family and friends