ในสหรัฐอเมริการ้านฟาสต์ฟูดหรือร้านอาหารจานด่วนที่มีเครือข่ายหลายสาขาไม่ว่าจะเป็นร้าน คาลส์ จูเนียร์ (Carls Jr.) หรือ ร้าน ไวท์คาสเซิล (White Castle) และล่าสุดก็คือร้าน เบอร์เกอร์คิง (Burger King) ต่างมีเมนูเบอร์เกอร์เจเพิ่มขึ้นมานอกเหนือจากเมนูเนื้อซึ่งเป็นเมนูหลักของพวกเขาในสนนราคาเท่าๆ กัน
ขณะที่เมนูโปรตีนที่ปราศจากเนื้อได้รับความนิยมมากขึ้นจนมีการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า สถานการณ์นี้ทำให้ ร้าน เค เอฟ ซี (KFC) ได้ออกมาแจ้งว่าพวกเขาจะลองขายผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดของบริษัท บียอนด์ มีท (Beyond Meat) ที่มีชื่อว่า บียอนด์ ฟราย ชิกเก้น (Beyond Fried Chicken) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้เนื้อเป็นส่วนประกอบ และจะทดลองจำหน่าย ที่ร้านในนครแอตแลนตา (Atlanta) เป็นร้านแรกและร้านเดียวก่อน
ในขณะที่ในเดือนตุลาคมนี้ ร้าน ฮังกรี แจ็กส์ (Hungry Jacks) ได้ออกเมนู รีเบล วอปเปอร์ (Rebel Whopper) ซึ่งเป็นแฮมเบอร์เกอร์ที่นำโปรตีนจากพืชมาใช้แทนเนื้อมาให้ลูกค้าลิ้มลองในออสเตรเลียพบว่า มีผู้คนที่หันมารับประทานอาหารที่ปราศจากเนื้อและถือมังสวิรัติมากขึ้น (ในปี 2018 ประชากรชาวออสเตรเลียที่ไม่รับประทานเนื้อมีจำนวนกว่า 2 ล้านคน) ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เนื้อเจที่มีรสชาติใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์เป็นที่ต้องการมากขึ้นด้วย
ร้านอาหารฟาสต์ฟูดชื่อดังเริ่มเอาเมนูเจมาขายควบคู่กับเมนูเนื้อต่างๆ Source: Pixabay
ผลิตภัณฑ์เนื้อเจที่ว่านี้ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เช่น อิมพอสสิเบิล เบอร์เกอร์ (Impossible Burger) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจาก แป้งสาลี โปรตีนจากมันฝรั่ง หัวบีทรูท และโปรตีนจากถั่วเหลืองที่ตัดแต่งพันธุกรรม ผลิตภัณฑ์เนื้อเจนี้เป็นที่ฮือฮาไปทั่วโลกเพราะว่าเวลานำไปปรุงอาหารโดยผ่านความร้อนแล้วจะมีสีคล้ายกับเลือดซึมออกมาเหมือนกับเนื้อจริงๆ
จากการวิจัยของสถาบัน ดีลอยต์ แอคแซส อีโคโนมิกส์) เปิดเผยว่า ภายในปี 2030 คาดว่าตลาดของผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืชในออสเตรเลียจะมีมูลค่าราวสามพันล้านดอลลาร์ และมีแนวโน้มที่จะมีการสร้างงานในอุตสาหกรรมนี้กว่า 6,000 ตำแหน่ง
ผลิตภัณฑ์เนื้อเจกับตลาดอาหารของออสเตรเลีย
ในขณะที่ ผลิตภัณฑ์ อิมพอสสิเบิล เบอร์เกอร์ (Impossible Burger) ที่ดูเหมือนเนื้อจริงๆ เวลาปรุงอาหาร ยังไม่มีจำหน่ายในออสเตรเลีย แต่บริษัทในเครือฟาสต์ฟูดเจที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย อย่างร้าน ลอร์ด ออฟ เดอะ ฟรายส์ (Lord Of The Fries) ก็ได้นำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อเจ ที่มีชื่อว่า บียอนด์ มีทส์ (Beyond Meats) ซึ่งทำมาจากโปรตีนถั่วฝักเมล็ดกลมมาจำหน่ายในออสเตรเลียแล้ว คุณ มาร์ค โครอนสกี (Mark Koronczyk) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ลอร์ด ออฟ เดอะ ฟรายส์ (Lord Of The Fries) กล่าวว่า
“เราพยายามเป็นผู้นำของผู้จัดจำหน่ายอาหารเจ และใส้แฮมเบอร์เกอร์เนื้อเจนี้ก็ได้รับความนิยมมาก” คุณ มาร์ค โครอนสกี ชี้ เขากล่าวต่อไปอีกว่า
“มันมีรสชาติคล้ายกับเนื้อมาก และมันดีกับสำหรับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเนื้อด้วย พวกเขาสามารถคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้ถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ เพราะคนค่อนข้างเป็นกังวลกับเรื่องนี้” คุณ มาร์ค โครอนสกี อธิบาย ปัจจุบันผู้บริโภคที่มีความตื่นตัวในเรื่องของสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเกิดความกังวลกับเรื่องถั่วเหลืองที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมมากขึ้นขณะที่ผลิตภัณฑ์ของ บียอนด์ เบอร์เกอร์ (Beyond Burger) ได้ดึงดูดผู้บริโภคที่นิยมรับประทานเนื้อรวมถึงคนที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ แต่อีกด้านหนึ่งคุณสมบัติที่เหมือนเนื้อเกินไปนี้ทำให้คนที่รับประทานมังสวิรัติไม่ชอบ ตัวอย่างเช่น คุณ มาร์ค โครอนสกี ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่รับประทานมังสวิรัติ เขาให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า
เนื้อเจที่มีรสชาติและหน้าตาใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น Source: Pixabay
“ในฐานะที่เป็นคนรับประทานมังสวิรัติคนหนึ่ง ผมชอบผลิตภัณฑ์ตัวเดิมของเรามากกว่า เพราะผมรู้สึกว่าผลิตภัณฑ์ของบียอนด์ (Beyond Meats) มีรสชาติคล้ายเนื้อมากเกินไป” คุณ มาร์ค โครอนสกี เปิดเผยในขณะที่อาหารมังสวิรัติถูกมองว่าเป็นอาหารทางเลือกที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ แต่ผลิตภัณฑ์เนื้อเจเหล่านี้ กลับมีปริมาณ แคลอรี ไขมัน และ โซเดียม มากกว่าผลิตภัณฑ์อาหารเจแบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ บียอนด์ เบอร์เกอร์ (Beyond Burger) ต้นตำหรับที่ร้าน ลอร์ด ออฟ เดอะ ฟรายส์ (Lord Of The Fries) นำมาจำหน่าย มีปริมาณแคลอรี มากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากโปรตีนพืชแบบเดิมถึง 800 กิโลจูล ในขณะที่มีปริมาณไขมันมากขึ้นถึง 2 เท่าด้วย
คนเริ่มกังวลกับผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำมาจากถั่วเหลืองที่ตัดแต่งพันธุกรรม Source: Pixabay
คุณ มาร์ค โครอนสกี เปิดเผยว่า การตัดสินใจนำเข้าผลิตภัณฑ์ บียอนด์ มีทส์ (Beyond Meats) ก็เพราะว่าบริษัทต้องการรักษาระดับของผลิตภัณฑ์อาหารเอาไว้ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวไกลขึ้นเรื่อยๆ เขากล่าวว่าทางบริษัทกำลังพิจารณาว่าจะนำผลิตภัณฑ์ อิมพอสสิเบิล เบอร์เกอร์ (Impossible Burger) มาจำหน่ายด้วย
อนาคตของการบริโภคเนื้อ
ขณะที่โลกกำลังชื่นชมกับผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมที่ดูเสมือนจริง แต่ ศาสตราจารย์ โรบิน วาร์นเนอร์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์อาหารที่เกี่ยวกับเนื้อ จากมหาวิทยาลัย เมลเบิร์น ได้คาดการณ์เกี่ยวกับอุปสรรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงการที่ออสเตรเลียไม่ควรพึ่งพาการนำเข้าโปรตีนจากพืชที่ส่วนมากมาจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว เราควรจะหาทางลดขยะและนำเอาผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้มาใช้ เขาชี้ว่า
“ในการผลิต น้ำมันแฟลกซีด (flaxseed oil) เราจะได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้ ซึ่งมีปริมาณโปรตีนสูง ซึ่งอาจนำมาผสมในไส้กรอก หรือ เบอร์เกอร์ได้" ศาสตราจารย์ โรบิน วาร์นเนอร์ ยกตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่งที่เพิ่มความกังวลใจก็คือการนำเอาเซลล์จากสัตว์มาใช้ในการผลิตอาหาร ศาสตราจารย์ โรบิน วาร์นเนอร์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
ในอนาคตอันใกล้จะมีการนำเอาผลิตภัณฑ์อาหารเจที่ทำมาจากเซลล์สัตว์มาจำหน่าย Source: Pixabay
“อ้างอิงจากบริษัทผู้ผลิตเนื้อเทียมต่างๆ พบว่าผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำมาจากสกัดเอาเซลล์ของสัตว์จะออกมาสู่ท้องตลาดภายในปีหรือสองปีนี้ ซึ่งมันก็จะมีอุปสรรคมากมายตามมาด้วย เช่น การตรวจสอบว่าเซลล์นั้นเติบโตอย่างถูกต้องหรือไม่ ยกระดับการผลิตให้ทำเป็นการค้าได้ ปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับของผู้บริโภคซึ่งจะเปรียบเทียบว่ารสชาติและผิวสัมผัสจะเหมือนกับเนื้อแค่ไหนด้วย” ศาสตราจารย์ โรบิน วาร์นเนอร์ สรุป
หากคุณกำลังตั้งตารอแฮมเบอร์เกอร์ที่เป็นผลผลิตจากห้องทดลองของแมคโดนัลด์แล้วล่ะก็... เราอยากบอกคุณว่าอย่าไปหวังกับเรื่องนี้เลย
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ชอยส์ชี้ระบบดาวบนฉลากอาหารบิดเบือนเรื่องน้ำตาล
เรื่องราวที่น่าสนใจ
ล้างมืออย่างไรให้สะอาดปราศจากโรค