มีผู้อพยพย้ายถิ่นนับแสนคนที่ต้องใช้เวลารอมากกว่า 16 เดือน ก่อนที่จะได้เป็นพลเมืองออสเตรเลีย แม้จำนวนคำร้องขอสัญชาติจะลดลงเมื่อปีก่อน
ในจำนวนผู้รออนุมัติสัญชาติ 221,000 ราย มีผู้อพยพยกลุ่มใหญ่ซึ่งเป็นชาวอินเดียราว 30,000 ราย ตามมาด้วยชาวสหราชอาณาจักร 27,000 ราย และชาวจีน 17,000 ราย โดยผู้รอการอนุมัติสัญชาติเหล่านี้ จะต้องใช้เวลารอราว 493 วัน ก่อนที่จะได้เข้าปฏิญาณตนเพื่อเป็นพลเมืองออสเตรเลีย ซึ่งเพิ่มจากเวลารอเดิมที่ 167 วัน ในปีงบประมาณ 2012-2013
ในเวลารอเฉลี่ยดังกล่าว ประกอบด้วยเวลาของขั้นตอนทางเอกสาร ตั้งแต่เมื่อแบบคำร้องถูกส่งไปยังกระทรวงมหาดไทยออสเตรเลีย ไปจนถึงการพิจารณาเพื่ออนุมัติหรือปฏิเสธคำร้อง โดยเวลาเฉลี่ยในส่วนนี้อยู่ที่ 410 วัน ซึ่งเพิ่มจากเวลาเฉลี่ย 63 วัน ในปีงบประมาณ 2012-13 และในขั้นตอนต่อไป ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย นั้นคือการเข้าพิธีรับมอบสัญชาติออสเตรเลีย ซึ่งจัดขึ้นโดยสภาเมืองท้องถิ่นที่ท่านอาศัยโดยตัวเลขดังกล่าวมาจากกระทรวงมหาดไทยออสเตรเลีย เพื่อตอบคำถามของ นายจูเลียน ฮิลล์ (Julian Hill) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคแรงงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม้ตัวเลขของแบบคำรองขออนุมัติสัญชาติจะลดลงไปกว่า 100,000 ราย เมื่อปีก่อน แต่คิวรอกล่าวคำปฏิญาณตนเพื่อเป็นประชากรออสเตรเลียนั้น ลดลงไปได้เพียง 23,350 รายในช่วงเวลาเดียวกัน
จำนวนวันเฉลี่ยในการรอ ตั้งแต่การยื่นแบบคำร้องจนถึงการได้รับสัญชาติออสเตรเลีย (Source: Department of Home Affairs) Source: SBS Punjabi
นางคริสตินา คีเนียลี (Kristina Keneally) รัฐมนตรีเงาแห่งกระทรวงมหาดไทยออสเตรเลีย กล่าวว่า จำนวนผู้ที่ต้องอยู่ในคิวรอนั้นเกือบจะเทียบเท่ากับจำนวนผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสหพันธรัฐถึงสองเขต
“นายสกอตต์ มอร์ริสัน กล่าวว่า ‘หากคุณต้องการ คุณก็จะได้รับ’ แต่จากการเปิดโปงขั้นตอนประมวลเอกสารเพื่ออนุมัติสัญชาตินั้นได้ยืนยันว่า นายมอร์ริสันไม่สนใจผู้คนที่ต้องรอเหล่านั้น” นางคีเนียลีกล่าว
“การประมวลแบบคำร้องขออนุมัติสัญชาติในระดับความสำคัญที่ต่ำ ภายใต้คณะทำงานของรัฐบาลนายมอร์ริสันนั้นเป็นเรื่องอำมหิต ไร้น้ำใจ และปิดกั้นไม่ให้ผู้คนได้กล่าวคำปฏิญาณตนเพื่อเป็นพลเมืองออสเตรเลีย” นางคีเนียลีกล่าวเสริม
“มีผู้คนมากมายขนาดไหนที่ทำงานและอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย มีคุณสมบัติพร้อม และส่งแบบคำร้องขออนุมัติสัญชาติ ที่ถูกปฏิเสธโอกาสในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในปีนี้” นางคีเนียลีกล่าว
แบบคำร้องขออนุมัติสัญชาติที่ยังคงค้างเพิ่มจำนวนไปเป็นประวัติการณ์ที่ 245,000 ราย ในปลายปีงบประมาณ 2017-18 ช่วงเวลาเดียวกับการเสนอร่างกฎหมายเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการขอสัญชาติออสเตรเลีย เมื่อเดือนเมษายน ปี 2017 ซึ่งรัฐบาลได้ล้มเลิกไปในเวลาต่อมา โดยกระทรวงมหาดไทยออสเตรเลียเชื่อว่า ผลของจำนวนแบบคำร้องที่คงค้างจำนวนมากมาจากแบบคำร้องที่มีความซับซ้อน ซึ่งรวมกับปัจจัยในส่วนอื่นๆ ด้วยเช่นกันอย่างไรก็ตาม หน่วยงานตรวจสอบงบประมาณแผ่นดินแห่งชาติ ได้พบในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า การเพิ่มจำนวนของแบบคำร้องมาจากกรณีที่มีความซับซ้อนน้อยกว่า โดยมาจากผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะ (skilled migrants) นอกจากนี้ยังระบุอีกว่า แบบคำร้องขออนุมัติสัญชาติโดยการรับมอบ (conferral) นั้นไม่ได้รับการประมวล “อย่างมีประสิทธิภาพโดยทรัพยากรที่มีอยู่” และพบว่า มีช่วงเวลาที่ “ไม่มีการทำกิจกรรมใดๆ” อย่างมีนัยยะ ในช่วงตั้งแต่การยื่นแบบคำร้องไปจนถึงการตัดสินใจ
จำนวนแบบคำร้องขอสัญชาติออสเตรเลียในช่วงท้ายของแต่ละปีงบประมาณ (Source: Department of Home Affairs) Source: SBS Punjabi
ทั้งนี้ การอนุมัติสัญชาติออสเตรเลียนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 145,000 ราย ในปีงบประมาณ 2018-2019 หลังจากยอดอนุมัติหล่นลงต่ำสุดในรอบ 15 ปี ในปีงบประมาณก่อนหน้านี้นายเดวิด โคลแมน (David Coleman) รัฐมนตรีตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติกล่าวว่า ตัวเลขที่ได้รับการปรับปรุงดังกล่าวนั้นมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และทรัพยากรในการประมวลแบบคำร้อง
จำนวนผู้รออนุมัติสัญชาติจากประเทศต่างๆ 10 อันดับแรก (Source: Department of Home Affairs) Source: Department of Home Affairs
“เราได้ลงทุนเป็นจำนวน $9 ล้านดอลลาร์กับระบบและพนักงานของเรา สร้างคณะทำงานเพื่อมุ่งเน้นไปที่กรณีที่มีความซับซ้อน และเพิ่มจำนวนการนัดหมายให้มากขึ้น สำหรับผู้ยื่นแบบคำร้องในการเข้ารับการสัมภาษณ์ และทำแบบทดสอบ” นายโคลแมนกล่าว
จากข้อมูลล่าสุดของกระทรวงมหาดไทยออสเตรเลียในส่วนของเวลาในการรอประมวลเอกสาร แบบคำร้องขออนุมัติสัญชาติส่วนมากจะใช้เวลาในการประมวลผลประมาณ 22 เดือน
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
มีเกือบ 1 แสนคนมาออสเตรเลียทางเครื่องบินแล้วขอลี้ภัยใน 5 ปีที่ผ่านมา