แม้ผ่านมาแล้วกว่า 1 ปี นายฮาคีม อัล อาไรบี ยังคงกังวลถึงความปลอดภัยของบุคคลอันเป็นที่รักของในประเทศบาห์เรน และได้ขอการสนับสนุนจากรัฐบาลของนายสกอตต์ มอร์ริสัน
เรื่องราวของ นายอัล อาไรบี เป็นข่าวดังในสื่อทั่วโลกเมื่อปีก่อน หลังถูกทางการไทยควบคุมตัวระหว่างเดินทางไปใช้เวลาฮันนีมูนกับภรรยาจากนครเมลเบิร์น และถูกข่มขู่ว่าจะได้รับการส่งตัวกลับไปยังประเทศบาห์เรน
“พี่ชายของผม เขามีแนวคิดเห็นต่างกับรัฐบาล (บาห์เรน) และถูกจำคุก 7 ปี” นายอัล อาไรบี กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (8 ต.ค.) นอกจากนี้ยังกล่าวอีกว่า พี่ชายของเขายังไม่มีกำหนดที่จะได้รับการปล่อยตัว
“มีผู้คนจำนวนมากในบาห์เรน ซาอุดิอาระเบีย และประเทศอื่นๆ ที่ไม่มีสิทธิ์พูดในเชิงเห็นต่างจากรัฐบาลของพวกเขา ผู้คนเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือจากออสเตรเลีย” นายอัล อาไรบี กล่าว
นอกจากนี้ นายอัล อาไรบี ได้เล่าเรื่องราวของเขา โดยหยิบยกการเคลื่อนไหวของผู้สนับสนุนระหว่างที่เขาถูกควบคุมตัวในประเทศไทยว่า เป็นตัวอย่างของพลังมวลชน
“เมื่อผู้คนรวมตัวกัน อย่างกรณีของผมในประเทศไทย หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน ฟีฟ่า ซอคเกอร์รูส์ พวกเขาผนึกกำลังกันเพื่อให้ผมได้รับการปล่อยตัวในประเทศไทย และนี่เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับกรณีอื่นๆ ” นายอัล อาไรบี กล่าว“ผมได้รับข้อความมากมายจากผู้ลี้ภัยในต่างประเทศ พวกเขาต้องการที่จะเข้ามายังออสเตรเลีย”
Hakeem Al Araibi (C) has been fighting extradition to Bahrain. Source: AAP
“คำแนะนำของผมคือ เลือกออสเตรเลีย ชาวออสเตรเลียต้อนรับผู้ลี้ภัย”
นายอัล อาไรบี ได้แสดงความคิดเห็นของเขากับเอสบีเอส นิวส์ ก่อนที่การประชุมอิสรภาพและความเท่าเทียม โดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษย์ชนแห่งออสเตรเลีย จะมีขึ้นที่นครซิดนีย์เมื่อไม่นานมานี้
ในการพูดคุยของนายอัล อาไรบี กับผู้สนับสนุน และนายเครก ฟอสเตอร์ อดีตโค้ชฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย “ซอคเกอร์รูส์” เขาได้เล่าประสบการณ์ระหว่างที่อยู่ในประเทศเทศไทย โดยบอกว่า หากเขาถูกส่งตัวกลับไปบาห์เรน เขาคงจะถูกสังหาร
“มีตำรวจมากกว่า 20 คน จับกุมตัวผมบนสะพานเทียบเครื่องบิน (ที่กรุงเทพฯ) ภรรยาของผมเริ่มร้องไห้ มันคือวันฮันนีมูนของเรา ทำไมเราต้องติดคุก” นายอัล อาไรบี เล่า
นายอัล อาไรบี เล่าว่า เขายังคงมีความหวาดกลัวที่จะเดินทางออกไปนอกออสเตรเลีย โดยกังวลว่า “ถ้าตำรวจสหพันธรัฐออสเตรเลียทำอะไรผิดพลาดขึ้นมาอีกครั้งล่ะ”
“ตอนนี้ผมต้องการเปลี่ยนชื่อ เพื่อให้เดินทางได้อย่างปลอดภัย” นายอัล อาไรบีเล่า
“ส่วนภรรยาของผม ตอนนี้เธอก็หวาดกลัวเช่นกัน”
มีการตั้งคำถามถึงการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสหพันธรัฐออสเตรเลีย จากการที่นายอัล อาไรบีถูกจับกุม ถึงการไม่ระบุสถานะของเขาในฐานะผู้ลี้ภัยก่อนหน้านี้นายอัล อาไรบี หลบหนีออกจากประเทศบาห์เรนในปี 2014 หลังถูกตั้งข้อหาทำลายทรัพย์สินของสถานีตำรวจ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่เขาปฏิเสธอย่างสุดตัว และระบุว่าเป็นการกล่าวหาที่มีแรงจูงใจจากการเมือง
Hakeem Al-Araibi (L) as he arrives at Melbourne International Airport in Melbourne Source: AAP
เขาลี้ภัยมายังออสเตรเลีย และได้รับสถานะผู้ลี้ภัยในปี 2017 แต่ในเดือนพฤศจิกายน 2018 เขาถูกจับกุมตัวที่สนามบินในกรุงเทพฯ ตามหมายแดงของอินเตอร์โพล ที่ออกตามคำขอจากทางการบาห์เรน
ผู้สนับสนุนนายอัล อาไรบี กล่าวว่า ในเวลานั้น เขามีความเสี่ยงสูงที่จะถูก “กักขังและทรมาน” หากถูกส่งตัวไปยังบาห์เรน เนื่องจากการแสดงความเห็นต่างกับรัฐบาลของเขาก่อนหน้านี้หลังจากถูกควบคุมตัวที่ประเทศไทยเป็นเวลา 76 วัน และแรงกดดันจำนวนมากจากนานาประเทศ นายอัล อาไรบีจึงได้รับการปล่อยตัว และเดินทางกลับมายังออสเตรเลีย
Minister for Foreign Affairs Marise Payne and refugee footballer Hakeem Al-Araibi at his Australian citizenship ceremony. Source: AAP/David Crosling
ต่อมา นายอัล อาไรบี ได้รับสัญชาติออสเตรเลีย โดยเป็นช่วงเวลาที่เขาอธิบายว่า “เป็นความรู้สึกที่มหัศจรรย์และดีเลิศ”
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
แออัดยิ่งกว่าปลากระป๋อง: ปัญหาห้องเช่านักเรียนไทยในออสเตรเลีย