กระแสยาจีนรักษาโควิดแรงแม้ถูกสั่งแบนในออสฯ

การสืบสวนของเอสบีเอส พบประชาชนบางส่วนในชุมชนจีนกำลังนำเข้ายาแผนโบราณที่มีการกล่าวอ้างว่าใช้รักษาโรคโควิด-19 ได้ แม้จะผิดกฎหมายในออสเตรเลีย

Traditional Chinese medicine Lianhua Qingwen

Traditional Chinese medicine Lianhua Qingwen. Source: Zhao Yadan/VCG via Getty Images

ประเด็นสำคัญ

  • ประชาชนบางส่วนในชุมชนจีนกำลังกักตุนยาแผนโบราณจีนที่ผิดกฎหมาย เพื่อ ‘ใช้รักษา’ โรคโควิด-19
  • ยา ‘เหลียนฮัวชิงเหวิน’ ถูกแบนในออสเตรเลียเนื่องจากมีส่วนผสมของอีเฟรดา (ต้นมาฮวง) ซึ่งใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อผลิตสารเสพติดเมทแอมเฟตามีน
  • เมื่อปีที่ผ่านมา กองกำลังพิทักษ์พรมแดนออสเตรเลีย (ABF) ตรวจยึดยาเม็ดแคปซูลที่มีส่วนผสมของอีเฟรดาได้เป็นจำนวนเกือบ 150,000 เม็ด


เหลียนฮัวชิงเหวิน เป็นยาแผนโบราณที่มีการใช้กันกันเป็นเวลานานในจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อรักษาอากาคล้ายหวัดหรือไข้หวัดทั่วไป โดยยาแผนโบราณจีนนี้มักถูกเปรียบเทียวว่าเหมือนกับยาพาราเซตามอล

นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ทางการจีนและนักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่า ตัวยาดังกล่าวยังมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการของโรคดังกล่าวได้ จากคำกล่าวนี้ได้ทำให้มีผู้คนในชุมชนจีนของออสเตรเลียบางส่วนเริ่มกักตุนยานี้ ที่มีอยู่ในประเทศจีนทั้งในรูปแบบการซื้อหน้าเคาท์เตอร์ และการซื้อโดยใช้ใบสั่งยา

เอมี (ไม่ใช่ชื่อจริง) ผู้ใช้งานเว็บไซต์ขายของออนไลน์สัญชาติจีนรายหนึ่ง กล่าวหลังจากที่ได้ซื้อยาที่ระบุว่า “เป็นยารักษาการต้านโรคระบาดใหญ่ (anti-pandemic treatment)” ว่า เหลียนฮัวชิงเหวิน มีประสิทธิภาพสูงมากกับอาการอย่างเช่นหวัด”
记者在维州某亚超看到连花清瘟胶囊以30澳元一盒的价格在售
เอสบีเอส ภาคภาษาจีน พบยาเหลียนหัวซิงเหวินกล่องละ $30 ดอลลาร์ ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตเอเชียในรัฐวิกตอเรีย Source: SBS Mandarin
แต่ยาแผนโบราณชนิดบรรจุแคปซูลนี้ผิดกฎหมายในออสเตรเลีย เนื่องจากมีส่วนผสมของต้นมาฮวง (อีเฟรดา) ซึ่งใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเมทแอมเฟตามีนได้ โดยเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา กองกำลังพิทักษ์พรมแดนออสเตรเลีย (ABF) ระบุว่าได้ยึดของกลางเป็นยาเม็ดบรรจุแคปซูลที่มีส่วนประกอบดังกล่าวจำนวน 1.3 ล้านเม็ด และมีการตรวจพบเป็นจำนวน 3,000 ครั้ง

แต่อย่างไรก็ตาม กลับมีการตรวจพบน้อยลงเหลือเพียง 262 ครั้ง และยึดของกลางได้เพียง 150,000 เม็ดเมื่อปีที่แล้ว

จากการตรวจพบที่ลดลงอย่างมากในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา โฆษกกองกำลังพิทักษ์พรมแดนออสเตรเลีย กล่าวกับเอสบีเอส ภาคภาษาจีนกลางว่า “อาจเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่เชื้อโควิด-19 แพร่ระบาด เช่นเดียวกับผลจากการตรวจยึดการนำเข้าอีเฟรดาแบบผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก”

ชุน กวง ลี (Chun Guang Li) อาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นซิดนีย์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่สารสกัดจากต้นอีเฟรดาในยาเหลียนฮัวชิงเหวิน จะถูกนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเมทแอมเฟตามีน อย่างไรก็ตาม เขากล่าวอีกว่า การผลิตเมทแอมเฟตามีนจากอีเฟรดาที่อยู่ในยาดังกล่าวต้องใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากตัวยาดังกล่าวมีสารประกอบอยู่นับร้อยชนิด

“ปกติแล้ว มันง่ายกว่าถ้าใช้ยาแก้ไอแผนปัจจุบันที่ซื้อได้จากหน้าเคาท์เตอร์ ซึ่งมีแอลคาลอยด์บริสุทธิ์ของอีเฟรดา เพื่อใช้ในการผลิตยาเมทแอมเฟตามีน” ศาสตราจารย์ลี กล่าว

เอสบีเอส ภาคภาษาจีน ได้พูดคุยกับ “โอดา (ไม่ใช่ชื่อจริง)” ซึ่งขายยาเม็ดแคปซูลแผนโบราณนี้ไปหลายกล่องให้ลูกค้าหลายรายในออสเตรเลีย เธอบอกว่าส่วนหนึ่งที่เธอสั่งมาขายถูกตรวจยึดไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

“ฉันมีอีก 400 กล่องที่เพิ่งส่งมาถึง และ (หลังจากนั้น) ก็จัดส่งไปให้ลูกค้าในซิดนีย์แล้วอย่างปลอดภัย” โอดา กล่าว
Chinese travellers have been bringing Lianhua Qingwen into the country without declaring it.
ผู้เดินทางจากจีนได้นำยาเหลียนหัวซิงเหวินเข้าออสเตรเลียโดยไม่สำแดงกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร Source: AAP
บรรดาผู้ค้าออนไลน์ตั้งราคายาเหลียนฮัวชิงเหวิน ไว้ที่ $22 ดอลลาร์ ต่อกล่อง 24 แคปซูล ซึ่งแพงกว่าราคาขายปลีกในจีนแผ่นดินใหญ่ถึง 6 เท่า

เอสบีเอส ภาคภาษาจีน ยังพบอีกว่า ซูเปอร์มาเก็ตเอเชียบางแห่งได้ลักลอบขายยานี้อย่างผิดกฎหมายในราคาถึงกล่องละ $30 ดอลลาร์

โอดา บอกอีกว่า ราคาที่เพิ่มสูงขึ้น คือเหตุผลที่เธอและผู้ค้าคนอื่น ๆ พบว่าออสเตรเลียเป็นตลาดที่น่าสนใจ

“ฉันพบว่ามันไม่สำคัญเลยหากของสักชิ้นจะถูกยึดที่ ตม. เพราะฉันก็จะได้ทุนคืนจากของที่สั่งมาขายครั้งต่อไป” โอดา กล่าว

ทั้งนี้ องค์กรกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพของออสเตรเลีย (ทีจีเอ) ได้แนะนำให้ผู้บริโภคใช้ความระมัดระวังอย่างมากเมื่อคิดจะซื้อยาบนอินเทอร์เน็ต

“ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการกำกับดูแลโดยทีจีเอ อาจประกอบด้วยส่วนผสมอันตรายที่ไม่ได้เปิดเผย หรือปนเปื้อนจากสารพิษที่อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างรุนแรง” โฆษกทีจีเอ ระบุ

การใช้อีเฟรดาในตำรับยาจีนมีประวัติอย่างยาวนาน และเกี่ยวข้องกับการใช้เพื่อรักษาโรคหอบหืด ส่วนยาเหลียนฮัวชิงเหวิน ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย อี้หลิง ฟาร์มาซูติคอล เพื่อต่อสู่กับการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส (SARS) ในจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อ 18 ปีก่อน

“อีเฟรดา ไม่ใช่ยารักษาโรคโควิด-19 ที่ได้รับการรับรอง (ในออสเตรเลีย) และไม่ควรได้รับการกำหนดให้เป็นเช่นนั้น”

ทีจีเอ ระบุว่า อีเฟรดาอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่รุนแรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ซึ่งรวมถึงการทำให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อระบบหัวใจ (อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน) สร้างความเสียหายต่อดวงตาโดยไม่อาจรักษาได้ และทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะโคมา

ข้อมูลจากทีจีเอยังระบุอีกว่า การใช้อีเฟรดาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ภาวะความดันในเลือดสูง หัวใจล้มเหลว ความผิดปกติต่อกล้ามเนื้อ อาการชัก เส้นเลือดในสมองแตก ความผิดปกติทางจิต หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหมดสติ ไปจนถึงทำให้เกิดการเสียชีวิตได้

ศาสตราจารย์ลี กล่าวว่า มีที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของยาเหลียนฮัวชิงเหวิน ในการรักษาอาการของโรคโควิด-19 ให้ดีขึ้น เขากล่าวอีกว่า เขาทราบดีถึงการใช้ยาดังกล่าวเป็นจำนวนมากในจีนแผ่นดินใหญ่

“แต่สิ่งเดียวที่คุณต้องการก็คือใบสั่งยาจาแพทย์ แม้ว่าคุณจะเข้าถึงตัวยานี้ได้ คุณไม่ควรที่จะใช้ยานี้ด้วยตนเอง” ศาสตราจารย์ลี กล่าว

ออสเตรเลียอนุญาตให้นำเข้ายาที่ไม่ได้รับการรับรองจากทีจีเอได้ในจำนวนน้อย โดยนำเข้ามาเพื่อใช้สำหรับตนเองไม่เกิน 3 เดือน ในจำนวนโดสสูงสุดที่ผู้ผลิตยาแนะนำ โดยผู้ใช้ยาจะต้องแสดงหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจ เช่น ใบสั่งยาจากแพทย์ออสเตรเลียที่มีทะเบียน

แต่ถ้าหากนอกเหนือจากกรณีดังกล่าว ผู้นำเข้าอีเฟรดาเพื่อการค้าอย่างผิดกฎหมายจะระวางโทษจำคุกสูงสุด 25 ปี หรือโทษปรับสูงสุด $1.1 ล้านดอลลาร์ ตามประมวลกฎหมายอาญาของออสเตรเลีย

สำหรับบุคคลธรรมดา จะต้องระวางโทษจำคุก 7 ปี และปรับไม่เกิน $250,000 ดอลลาร์
连花清瘟颗粒
ยาเหลียนหัวซิงเหวินชนิดผง Source: ABF
แม้จะมีการสั่งห้ามนำเข้า แต่ยาเหลียนฮัวชิงเหวินก็ยังคงเล็ดลอดผ่านด่านศุลกากร เข้าสู่ตลาดมืด และไปอยู่ในตู้ยาสามัญประจำบ้านในออสเตรเลียได้

เอมี บอกกับเอสบีเอส ภาคภาษาจีนว่า เธอเดินทางเข้ามายังออสเตรเลียพร้อมกับยาที่ถูกสั่งห้ามนำเข้ากระเป๋าโดยไม่สำแดงกับด่านศุลกากร ขณะที่เธอเข้าใจดีถึงความเสี่ยงที่ยาจะถูกยึด และถูกระวางโทษปรับ

“มันอยู่ปน ๆ กับของใช้อย่างอื่นของฉัน เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่ศุลกากรก็คงจะหามันได้ไม่ง่ายนัก”

ลิลลี (ไม่ใช่ชื่อจริง) ชาวจีนคนหนึ่ง กล่าวกับเอสบีเอส ภาคภาษาจีนว่า ทุกคนในจีนใช้ยาเหลียนฮัวชิงเหวิน โดยเธอเล่าอีกว่า ก่อนที่เธอจะย้ายมาอยู่ออสเตรเลียเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา มีคนบอกว่าเธอไม่สามารถนำยานี้เข้าประเทศได้อย่างถูกกฎหมาย

แต่ในที่สุดแล้ว เธอก็สามารถส่งยาบรรจุแคปซูลนี้มาให้ตัวเองได้ทางเครื่องบิน และยานี้ก็ถูกส่งมาที่หน้าประตูห้องเธอที่นครเมลเบิร์นในอีก 2 อาทิตย์ต่อมา

“ฉันได้ยินว่าสถานการณ์โควิด-19 ในออสเตรเลียแย่ขนาดไหน ฉันเลยต้องการป้องกันไว้ก่อนล่วงหน้าทุกทางเพื่อดูแลตัวเองและครอบครัวของฉันในเมลเบิร์น”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

เบื้องลึกของช่างยนต์คนไทยในออสเตรเลีย


Share
Published 16 February 2022 3:47pm
Updated 12 August 2022 2:54pm
By Lorien Chen, Olivia Yuan, Tania Lee
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS Mandarin

Share this with family and friends