เซมอนที (Semonti) ยังอยู่ในวัยรุ่น เมื่อเธอไปขอรับความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต จากที่ปรึกษาภายในโรงเรียน หญิงจากนครเมลเบิร์นคนนี้ ซึ่งในตอนนี้อยู่ในวัยประมาณ 20 ปี เล่าว่า เธอต้องพบเจอกับความกดดันจากความคาดหวังเกี่ยวกับการศึกษาและอนาคตของเธอ
“ฉันรู้สึกโดดเดี่ยว และเผชิญกับความยากลำบากของการปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมของออสเตรเลีย และวัฒนธรรมชาวฮินดูในบังคลาเทศที่ฉันเดิบโตขึ้นมา” เธอกล่าวกับเอสบีเอส นิวส์
แต่เมื่อเธอไปพบกับนักจิตวิทยาในเวลาต่อมา ซึ่งมีภูมิหลังวัฒนธรรมที่แตกต่างจากเธอ จึงพบว่าพวกเขาไม่เข้าใจในตัวเธอ และกับสถานการณ์ที่เธอพบเจออยู่
“มันคงจะดีกว่านี้ ถ้ามีใครสักคนที่ภูมิหลังมาจากเอเชียใต้ และเป็นชาวฮินดู เพื่อที่จะสามารถช่วยให้ฉันจัดการกับความท้าทายนี้ได้” คุณเซมอนทีกล่าว
ฮาร์ท์แชต (HeartChat) บริการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตรูปแบบใหม่ ที่เปิดตัวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (3 ต.ค.) มุ่งเป้าไปยังการแก้ปัญหาเช่นเดียวกับที่คุณเซมอนทีพบเจอ โดยจะทำการจับคู่ผู้คนที่มาจากภูมิหลังทางวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่างภายในออสเตรเลีย กับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านั้นโครงการดังกล่าวมุ่งเน้นที่จะเป็นบริการแบบครบวงจร ซึ่งจะให้บริการรายชื่อผู้ให้คำปรึกษาและนักจิตวิทยาทางออนไลน์ที่พูดภาษาเดียวกัน รวมถึงมีวัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนาที่เหมือนกัน เช่นเดียวกับบริการนัดหมายและค่าใช้จ่าย รวมถึงทางเลือกในการนัดหมายเพื่อรับบริการทางสุขภาพจิตผ่านช่องทางเทเลเฮลธ์ (telehealth)
هارتچت حاوی معلوماتی چون زبان و باورهای مذهبی متخصصان نیز میباشد. Source: HeartChat.com.au
จุดเริ่มต้นของโครงการดังกล่าว มาจากแนวคิดของ พญ.จูดี ถัง (Dr Judy Tang) นักประสาทวิทยา และกรรมการในคณะกรรมาธิการด้านพหุวัฒนธรรมรัฐวิกตอเรีย (Victorian Multicultural Commission) ซึ่งได้สนับสนุนเงินทุนในโครงการดังกล่าว
โครงการดังกล่าว เป็นผลลัพธ์จากประสบการณ์ของเธอระหว่างการทำงานในฐานะผู้ที่มีภูมิหลังจากทวีปเอเชีย
“มีผู้ต้องการรับคำปรึกษามาหาดิฉัน และบอกว่า มันเป็นเรื่องยากมากที่จะหาใครสักคนที่เหมือนคุณ ใครสักคนที่พูดภาษาเดียวกัน และเข้าใจวัฒนธรรมของฉัน มันใช้เวลานานมากกว่าจะสามารถจองนัดหมายนี้ได้” พญ.ถังกล่าว ซึ่งเธอพูดภาษาจีน
“ดิฉันต้องการทำให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตนั้น สามารถเข้าถึงได้ในชุมชนของเรา”
การสนับสนุนที่เหมาะสมทางวัฒนธรรม
ในบางครั้ง การได้พูดคุยกับคนที่ไม่ต้องอธิบายคำจำกัดความเรื่องศาสนา ความแตกต่างทางวัฒนธรรม หรือความชอบทางเพศและการเมือง อาจเป็นประสบการณ์ที่แตกต่าง และอาจช่วยชีวิตคุณได้
พญ.ถัง ได้แบ่งปันประสบการณ์ของเธอ เมื่อนักจิตวิทยาคนหนึ่งกล่าวกับผู้รับคำปรึกษาชาวเอเชียว่า “ให้ทำเพื่อตนเอง” ในการสนับสนุนให้พวกเขาเปลี่ยนแปลงตนเองในทางบวก
"ผู้รับบริการคนนั้นบอกว่า เนื่องจากเธอมีภูมิหลังจากทวีปเอเชีย อันที่จริงแล้วถ้าเขาบอกกับเธอให้เปลี่ยนตัวเองเพื่อครอบครัว มันจะได้ผลที่ดีกว่านี้" พญ.ถังเล่านอกจากนี้ เธอยังได้ชี้ให้เห็นถึงคำแนะนำที่ปล่อยปละละเลยมากขึ้น หากผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาขาดความเข้าใจทางวัฒนธรรม
Some of the professionals listed on HeartChat. Source: HeartChat.com.au
"มีผู้เข้ารับคำปรึกษาที่มีภูมิหลังเป็นชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย ที่ได้รับคำแนะนำว่า ‘ให้กลับเข้าป่าและไปอยู่กับผู้คนในชุมชน’ ซึ่งนั่นไม่จำเป็นต้องเป็นอัตลักษณ์ของชาวพื้นเมืองออสเตรเลียเสมอไป" พญ.ถัง กล่าว
"มันเป็นเรื่องโชคไม่ดีที่ในบางครั้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตมีข้อสรุปด้วยตนเองที่ผิดพลาด เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมและความเชื่อต่าง ๆ"
พญ.ถัง กล่าวว่า บ่อยครั้งที่ข้อจำกัดด้านภาษาและวัฒนธรรม อาจทำให้ผู้คนเลือกที่จะไม่ขอรับความช่วยเหลือ
"เมื่อพวกเขาได้รับสิ่งที่ผิดพลาด ในบางกรณีอาจทำให้หมดความสนใจ และแรงจูงในในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่อง และประสบการณ์ในแง่ลบเหล่านี้คือสิ่งที่เราไม่ต้องการหยิบยื่นให้ผู้คนในชุมชนหลากวัฒนธรรม" พญ.ถัง กล่าว
‘ฉันรู้ว่าพวกเขามาจากไหน’
ชาวออสเตรเลียที่มีภูมิหลังจากหลากวัฒนธรรมเผชิญกับความยากลำบากในการเข้าถึงบริการสนับสนุนต่าง ๆ ทั้งเนื่องจากข้อจำกัดทางภาษา ความอับอายในชุมชนเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพจิต หรือเพียงเพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มตนการรักษาอย่างไร
ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายโทรศัพท์โทรมาขอรับคำปรึกษาด้านสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ขณะที่เวลาในการรอพบกับผู้เชี่ยวชาญนั้นเพิ่มขึ้น การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตนั้นไม่เคยมีความสำคัญมากเท่านี้มาก่อน
“มันเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบกับทุกคน และโดยเฉพาะชุมชนพหุวัฒนธรรมของเรา จากการถูกจำกัดในการไปเยี่ยมสมาชิกในครอบครัว ซึ่งในหลาย ๆ วัฒนธรรมนั้น ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญในชีวิต” พญ.ถัง กล่าว
หนึ่งในนักจิตวิทยาที่ได้เข้าร่วมกับโครงการฮาร์ทแชต (HeartChat) นั้น คือ พญ.เจเลนา เซเลสคอฟ ดอริก (Jelena Zeleskov Doric) ซึ่งมีภูมิหลังมาจากประเทศเซอร์เบียพญ.ดอริก ซึ่งสามารถพูดได้ 5 ภาษาในคาบสมุทรบอลข่าน เช่นเดียวกับภาษาบัลแกเรีย มักจะได้รับโทรศัพท์จากผู้เข้ารับคำปรึกษา ซึ่งต้องการคนที่พูดภาษาเดียวกันอยู่บ่อยครั้ง
یکی از روانشناسانی که نامش را درج هارتچت کرده، جِلِنا زلسکوف دوریک است. Source: Supplied
“บางคนไม่รู้ภาษาอังกฤษเลย และพวกเขาก็ไม่สามารถแสดงความคิดของพวกเขาออกมาได้ โดยในแง่มุมของนักจิตวิทยา หากคุณต้องการที่จะพูดถึงความรู้สึก ความสัมพันธ์ รวมถึงเรื่องอารมณ์ บางครั้งมันอาจเป็นเรื่องยาก” พญ.ดอริก กล่าว
พญ.ดอริก กล่าวอีกว่า เธอสามารถที่จะพูดคุยกับผู้รับคำปรึกษา โดยที่พวกเขาไม่ต้องอธิบายถึงเรื่องวัฒนธรรมหรือประเพณี หรือรู้สึกถูกตัดสิน เนื่องจากความแตกต่างของพวกเขาเอง
“สำหรับฉันมันง่ายกว่าที่จะเข้าใจ เนื่องจากฉันรู้ว่าพวกเขามาจากไหน คุณสามารถรับรู้ถึงวัฒนธรรมที่แตกต่าง แต่ถ้าคุณไม่ได้มาจากวัฒนธรรมเหล่านั้น คุณจะไม่มีทางเข้าใจว่าพวกเขาประสบพบเจอกับอะไรมา ” พญ.ดอริก กล่าว
นอกจากนี้ พญ.ดอริก ยังให้การสนับสนุนสำหรับผู้เข้ารับคำปรึกษาที่มีภูมิหลังวัฒนธรรมจากทวีปเอเชีย ซึ่งพวกเขากล่าวว่า การได้พูดคุยกับผู้ที่มีภูมิหลังเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นนั้นสามารถช่วยพวกเขาได้
“พวกเขามาพบฉัน เพราะต้องการที่จะพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เนื่องจากดิฉันมาจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง และฉันอาศัยและได้รับการเลี้ยงดูจากที่นี่ ดังนั้นมันจึงมีความแตกต่าง” พญ.ดอริก กล่าว
หากคุณต้องการรับคำปรึกษาด้านสุขภาพจิต ความสัมพันธ์ และความรุนแรงในครอบครัวกับผู้เชี่ยวชาญคนไทย สามารถติดต่อ คุณสุ ซัลลิแวน (Su Sullivan) ผ่านทางบริการฮาร์ทแชต คลิกที่นี่
หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ สำหรับรายชื่อทั้งหมดของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่พูดภาษาต่าง ๆ หากคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต สามารถลงทะเบียนเพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาได้ที่นี่
เอสบีเอส เรดิโอ มีแหล่งข้อมูลการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตในออสเตรเลียในรัฐและมณฑลต่าง ๆ เป็นภาษาของคุณ
หากท่านประสบกับเหตุวิกฤตและต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อไลฟ์ไลน์ (Lifeline) ที่หมายเลข 13 11 14 หรือบริการโทรกลับของ Suicide Call Back Service ที่หมายเลข 1300 659 467 และคิดส์ เฮล์ปไลน์ (Kids Helpline) ที่หมายเลข 1800 55 1800 (สำหรับเด็กและเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 5 – 25 ปี) คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ และ
ยังเป็นอีกองค์กรที่สนับสนุนผู้คนจากภูมิหลังหลากภาษาและวัฒนธรรมในออสเตรเลีย
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
รัฐบาลออสเตรเลียกำหนดวีซ่าคู่ครองต้องสอบภาษาอังกฤษ