มีการเรียกร้องให้ประเทศออสเตรเลียนำวิธีการของประเทศโปรตุเกสมาพิจารณาโดยละเอียด เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน ในระหว่างการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
ประเทศดังกล่าวในทวีปยุโรปได้ตัดสินใจใ จนกระทั่งถึงวันที่ 1 กรกฎาคมเป็นอย่างน้อย เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขานั้นสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ ได้
เจ้าหน้าที่บริหารสูงสุดของสภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลีย (Refugee Council of Australia) นายพอล พาวเวอร์ กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่ารูปแบบปฏิบัติดังกล่าวนั้น ถือเป็นการเล็งเห็นความสำคัญของความต้องการอันเร่งด่วนด้านต่างๆ ของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานชั่วคราว ท่ามกลางวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพ
โดยเขากล่าวว่า “ในช่วงเวลาของการระบาดใหญ่ที่เกิดขึ้นนี้ สถานการณ์ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว”
“เราทุกคนทราบดีว่าเชื้อไวรัสนั้นไม่ได้เลือกปฏิบัติจากบรรทัดฐานของคนเราว่าจะถือสัญชาติอะไรหรือว่าเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรหรือไม่ หรือว่าวีซ่าของพวกเขาจะเป็นแบบใด”
โดยตามรูปแบบของประเทศโปรตุเกสนั้น ผู้ยื่นคำร้องซึ่งก็รวมไปถึงผู้ขอลี้ภัย จำเป็นจะต้องแสดงพยานหลักฐานเพียงแค่ว่าพวกเขานั้นยังมีคำร้องคาอยู่ในระบบ ก็จะมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะใช้บริการสาธารณะต่างๆ ได้
นั่นก็หมายความว่าพวกเขาจะได้รับอนุญาตให้เข้าใช้บริการสาธารณสุขแห่งชาติ (National Health Service) ได้รับผลประโยชน์ด้านสวัสดิการต่างๆ ตลอดจนมีบัญชีธนาคาร และสามารถทำสัญญาการว่าจ้างงานและเช่าอสังหาริมทรัพย์ได้ด้วย
โฆษกกระทรวงมหาดไทยของประเทศโปรตุเกส นางคลอเดีย เวโลซา กล่าวกับรอยเตอร์ว่าผู้อพยพย้ายถิ่นฐานนั้นไม่ควรจะถูกลิดรอนสิทธิต่างๆ ของพวกเขาในระหว่างการระบาดใหญ่นี้
เธอกล่าวว่า “ในเวลาอันไม่ปรกติเช่นนี้ ก็จำเป็นจะต้องมีการรับประกันสิทธิต่างๆ ของผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน”
แต่ทว่าที่ประเทศออสเตรเลีย กลับมีความวิตกกังวลว่าลูกจ้างชั่วคราวจำนวนกว่า 1.1 ล้านคนนั้นอาจไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะได้รับมาตรการความช่วยเหลือด้านสวัสดิการใดๆ เลย
กลุ่มคนเหล่านี้รวมไปถึงนักเรียนนานาชาติ ผู้ทำงานระหว่างท่องเที่ยว(เวิร์กกิงฮอลิเดย์) เช่นเดียวกันกับผู้ที่ถือวีซ่าบริดจิง วีซ่าความคุ้มครองชั่วคราว(เทมโพรารีโพรเทคชัน) และวีซ่าความคุ้มครองเซฟเฮเวน
นอกจากพลเมืองของประเทศนิวซีแลนด์เพียงบางราย ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานชั่วคราวนั้นไม่เข้าข่ายที่จะได้รับความช่วยเหลือด้านสวัสดิการเพื่อรับมือกับไวรัสโคโรนาแต่อย่างใด
ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการนี้รวมไปถึงเงินจ่ายให้ผู้หางาน(จ็อบซีกเกอร์) รายปักษ์จำนวน $1,100 ดอลลาร์ โดยในนั้นจะเป็นเงินช่วยเหลือเนื่องจากไวรัสโคโรนา (coronavirus supplement) จำนวน $550 ดอลลาร์
และพวกเขาก็ยังถูกละเว้น ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือค่าจ้างที่จ่ายชดเชยเพื่อรักษาการว่าจ้างงาน(จ็อบคีปเปอร์) ปักษ์ละ $1,500 ซี่งมีมูลค่ารวมถึง $130 พันล้านดอลลาร์ภาพ: รัฐบาลโปรตุเกสประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศเนื่องจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19
The Portuguese government has declared a state of emergency across the country due to the COVID-19 pandemic. Source: Sipa USA Henrique Casinhas / SOPA Images/
ด้านรัฐบาลสหพันธรัฐของออสเตรเลียก็กล่าวว่า ได้มีเงินผลประโยชน์ที่จ่ายให้เป็นกรณีพิเศษ (Special Benefit payment) ไว้ให้กับผู้ถือวีซ่าชั่วคราวบางประเภทซึ่งประสบกับภาวะความยากลำบากทางการเงิน
ซึ่งเงินดังกล่าวจะรวมถึงเงินช่วยเหลือเนื่องจากไวรัสโคโรนาจำนวน $550 ดอลลาร์ โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของมาตราการความช่วยเหลือใหม่ ที่ได้มีการตั้งระดับการให้ความคุ้มครอง (safety net) เอาไว้
นายพาวเวอร์กล่าวว่า ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวจำนวนมากในประเทศออสเตรเลียนั้นเป็นกลุ่มแรกๆ ซึ่งว่างงานลง โดยเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงที่สุดจากมาตรการเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
“ในขณะนี้ คนเหล่านี้จำนวนมากส่วนใหญ่จะไม่สามารถเข้าถึงการให้ความคุ้มครองได้เลยไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ ก็ตาม”
“เรามีคนจำนวนหลายพันคนซึ่งอยู่ในชุมชนของเราผู้ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้วนั้นสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ... ขณะนี้พวกเขาไม่มีรายได้ใดๆ เลย”ภาพ: ประเทศโปรตุเกสได้รับการยกย่องจากวิธีการให้ความช่วยเหลือต่อผู้อพยพย้ายถิ่นฐานซึ่งล้ำหน้าชาติอื่นๆ ในโลก ในระหว่างการระบาดใหญ่ของโควิด-19
Último relatório europeu aponta Portugal e Suécia como os mais bem sucedidos países europeus no controle do COVID-19 nas últimas semanas. Source: LUSA
ความวิตกกังวลอีกเรื่องหนึ่งก็คือผลกระทบจากการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ ที่ทำให้ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานบางรายนั้นเสี่ยงต่อการติดเกาะเพราะวีซ่าหมดอายุลง
กระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลียกล่าวว่า ทางกระทรวงฯ จะรับพิจารณาคำร้องขอต่อวีซ่าแต่ละรายตราบใดที่คำร้องนั้นยื่นเข้ามาก่อนวันที่วีซ่าจะหมดอายุ
ที่ประเทศอังกฤษ ชาวต่างชาติทุกคนซึ่งติดอยู่ในประเทศได้รับการบอกกล่าวว่าพวกเขาสามารถที่จะยื่นขอต่อวีซ่าเป็นกรณีพิเศษได้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม
นายพาวเวอร์กล่าวว่าใน “ช่วงเวลาอันไม่ปรกติ” เนื่องจากการระบาดใหญ่ดังกล่าว ก็ย่อมจำเป็นจะต้องมีมาตรการต่างๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังเช่นมาตรการที่ประเทศโปรตุเกสได้นำมาใช้
โดยเขากล่าวว่า “ตามความเป็นจริงนั้นการเดินทางระหว่างประเทศก็แทบจะหยุดชะงักลงโดยทั้งหมด”
“มันจึงจำเป็นที่จะต้องมาคิดกันใหม่ว่าประเทศออสเตรเลียและประเทศต่างๆ นั้นจะให้ความช่วยเหลือระดับพื้นฐานอย่างไรให้กับพลเมืองของตน และจะปฏิบัติต่อพลเมืองชาวต่างชาติอย่างไร”
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
บริการดูแลลูกฟรีให้ชาวออสเตรเลียที่ทำงานซึ่งจำเป็น