ชาวออสฯ 82% สนับสนุนการย้ายถิ่นเข้าประเทศ แต่วิตกเรื่องจำนวนประชากร

NEWS: รายงานโดยมูลนิธิสแกนลอน (Scanlon Foundation) พบว่า กว่าสี่ในห้าของชาวออสเตรเลียเล็งเห็นประโยชน์ของการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศ

Image via SBS News

สี่สิบสามเปอร์เซ็นต์มีความเห็นว่าระดับการรับผู้อพยพย้ายถิ่น ‘สูงเกินไป’ Source: Image via SBS News

You can read the full version of this story in English on SBS News .

การทำสำรวจระดับชาติซึ่งติดตามความคิดเห็นสาธารณะเรื่องการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศและปัญหาต่างๆ ในเรื่องจำนวนประชากรได้พบว่า ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่โดยท่วมท้นยังคงเล็งเห็นประโยชน์ของการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีความวิตกกังวลที่พุ่งสูงขึ้นเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของประชากร

การสำรวจเพื่อวางผังด้านความเป็นปึกแผ่นทางสังคม ปี 2018 (The 2018 Mapping Social Cohesion survey) ซึ่งดำเนินการโดยมูลนิธิเพื่อการกุศลสแกนลอน (Scanlon Foundation) พบว่ากว่าสี่ในห้าของชาวออสเตรเลียเล็งเห็นประโยชน์ของการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศ

การสำรวจดังกล่าว ที่ได้รวบรวมความคิดเห็นของชาวออสเตรเลียซึ่งได้รับการคัดเลือกโดยวิธีสุ่ม ยังพบว่า 52 เปอร์เซ็นต์ของชาวออสเตรเลียคิดว่า ระดับการรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศในขณะนี้นั้น ‘กำลังดี’ (about right) หรือ ต่ำเกินไป (‘too low’) โดยสี่สิบสามเปอร์เซ็นต์มีความเห็นว่าระดับการรับเข้าดังกล่าวนั้น ‘สูงเกินไป’ (too high)

ผลดังกล่าวนั้นท้าทายวาทะกรรมทางสื่อมวลชนและทางการเมืองในช่วงไม่นานมานี้ เกี่ยวกับความวิตกกังวลที่เพิ่มสูงขึ้นในเรื่องของการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศและผลกระทบที่ตามมาต่อสังคมของประเทศออสเตรเลีย
Researcher Andrew Markus, from Melbourne's Monash University
Researcher Andrew Markus, from Melbourne's Monash University Source: SBS News
คุณแอนดรูว์ มาร์คุส นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโมแนชในนครเมลเบิร์นกล่าวว่า ถึงแม้จะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการประชากรก็ตาม 82 เปอร์เซ็นต์ของผุ้ถูกสำรวจเชื่อว่า การอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศนั้นพัฒนาสังคมของประเทศออสเตรเลีย ‘ด้วยการนำแนวคิดและวัฒนธรรมใหม่ๆ เข้ามา’ โดยที่แปดสิบเปอร์เซ็นต์ยังเห็นด้วยว่า ‘ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานโดยทั่วๆ ไปนั้นดีต่อเศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลีย’

“ระดับของความวิตกกังวลนั้นสูงที่สุดเกี่ยวกับความรู้สึกที่ว่ารัฐบาลนั้นขาดการวางแผน เกี่ยวกับความรู้สึกได้ถึงความแออัดยัดเยียด และเรื่องราคาบ้าน” เขากล่าว

“แต่มีระดับความวิตกกังวลที่หากเทียบกันแล้วถือว่าต่ำ เกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาจากหลายๆ ประเทศ และเกี่ยวกับว่า การอพยพย้ายถิ่นฐานนั้นจะดีต่อประเทศ สร้างตำแหน่งงาน และทำให้เรามีแนวคิดใหม่ๆ หรือไม่ ซึ่งข้อบ่งชี้ต่างๆ เหล่านี้ยังคงเป็นบวกอย่างมาก ด้วยสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูง”

ในระหว่างการสำรวจหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา ประชากรของออสเตรเลียได้เพิ่มสูงขึ้นประมาณห้าล้านคน จาก 19.9 ล้านคนในปี ค.ศ. 2006 เป็น 25 ล้านคนเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2018 และคาดว่าจะถึง 30 ล้านคนในช่วงระหว่างปี 2029 และ 2033หากอ้างอิงจากสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความแออัดจนเกินไปและราคาบ้าน

อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์มาร์คุสกล่าวว่า การสำรวจยังได้พบความวิตกกังวลของชุมชนเกี่ยวกับ “ความรู้สึกว่ารัฐบาลนั้นขาดแคลนการวางแผน เกี่ยวกับความรู้สึกได้ถึงความแออัดยัดเยียด และเรื่องราคาบ้าน”

ห้าสิบสี่เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจระบุความวิตกกังวลต่อ ‘ผลกระทบของการอพยพย้ายถิ่นฐานต่อความแออัดของเมืองต่างๆ ของออสเตรเลีย’, 49 เปอร์เซ็นต์ต่อ ‘ผลกระทบของการอพยพย้ายถิ่นฐานต่อราคาบ้าน’ และ 48 เปอร์เซ็นต์ต่อ ‘การบริหารจัดการของรัฐบาลต่อการเพิ่มขึ้นของประชากร’

ซึ่งเรื่องนี้มีขึ้นในขณะที่รัฐบาลอ้างว่า การจำกัดการอพยพย้ายถิ่นฐานให้รัดกุมขึ้น อาจช่วยลดแรงกดดันต่อเมืองต่างๆ ของออสเตรเลีย

นายกรัฐมนตรีสก็อตต์ มอร์ริสันกล่าวเมื่อเดือนืที่แล้วว่า เขาตั้งใจที่จะลดการย้ายถิ่นฐานถาวรสู่ประเทศออสเตรเลียลงเป็นจำนวนประมาณ 30,000 คน

“พวกเขาบอกว่า: พอแล้ว พอแล้ว พอแล้ว” นายมอร์ริสันกล่าว
“ถนนต่างๆ นั้นติดขัด รถประจำทางและรถไฟก็เต็ม โรงเรียนต่างๆ ไม่รับลงทะเบียนเพิ่มอีก ผมได้ยินว่าพวกคุณกำลังพูดอะไร ผมได้ยินคุณอย่างเสียงดังและชัดเจน”

จำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่รับเข้าประเทศได้รับการตั้งไว้ที่ 190,000 คน ตั้งแต่ปี 2012-13 สำหรับเกือบทั้งหมดของช่วงปีเหล่านั้น ระดับที่รับเข้ามาจริงนั้นเกือบจะเท่ากับที่กำหนดไว้ แต่ในช่วงปี 2017-17 ระดับที่รับเข้ามาได้ร่วงลงสู่ระดับต่ำที่สุดในสิบปี โดยมีผู้เข้าเมืองเป็นการถาวรเพียง 163,000 คน ซึ่งนับรวมกันจากทั้งวีซ่าทักษะและวีซ่าครอบครัวต่างๆ

พหุวัฒนธรรม (ความหลากหลายทางวัฒนธรรม) ในสังคมที่ขยายตัวขึ้น

แต่ศาสตราจารย์มาร์คุสกล่าวถึงคำถามที่ว่า พหุวัฒนธรรม (multiculturalism) นั้นได้เป็นผลดีต่อประเทศออสเตรเลียมาหรือไม่ โดยกล่าวว่าเสียงสนับสนุนนั้นยังอยู่คงที่เมื่อเทียบกับปีก่อนๆ

“ในช่วงเวลา 11 ปีของการทำสำรวจ เราเห็นถึงความคงที่ มากกว่าเรื่องอื่นๆ” เขากล่าว

“เรามีคำถามหนึ่งซึ่งถามผู้คนว่า ‘ท่านคิดว่าพหุวัฒนธรรมได้เป็นผลดีต่อประเทศออสเตรเลียมาหรือไม่’ และก็มีผู้คนข้างนอกเป็นจำนวนมากที่บอกกับคุณว่า ความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นเป็นภัยพิบัติ มันกำลังบ่อนทำลายประเทศ แล้วเราก็มีผู้คนเป็นจำนวน 85 เปอร์เซ็นต์ที่กล่าวว่า ‘ใช่ ที่ผ่านมานั้นพหุวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ดี’”

“เราได้ทำมามากว่าห้าครั้งแล้ว โดยแต่ละครั้ง เราได้รับผลที่เหมือนๆ กัน มันมักจะอยู่ที่ระดับระหว่าง 83 ถึง 86 เปอร์เซ็นต์”
"เราได้มีผู้คน [เป็นส่วนใหญ่] ที่กล่าวว่า ‘ใช่ ที่ผ่านมานั้นพหุวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ดี’”—แอนดรูว์ มาร์คุส, นักวิจัย
ผู้ตอบสำรวจเกือบทั้งหมดเห็นว่า พหุวัฒนธรรมนั้นเป็นกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงทั้งสองทาง ของการปรับตัวโดยทั้งผู้ที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียอยู่แล้ว และผู้ซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศ จากการสำรวจ 54 เปอร์เซ็นต์รู้สึกว่าผู้อพยพย้ายถิ่นฐานควรจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เหมือนกับผู้คนที่อยู่อาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียอยู่แล้วให้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน 37 เปอร์เซ็นต์บอกว่า ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ควรจะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อให้รักษาประเพณีและสภาพความเป็นอยู่เอาไว้

ประธานกรรมการชุมชนชาติพันธุ์แห่งรัฐวิกตอเรีย คุณคริส พาฟลิดิซิส กล่าวว่า โดยทั่วๆ ไปผลลัพธ์นั้นแสดงให้เห็นถึงภาพอันเป็นบวกเกี่ยวกับความเข้าใจของสังคมออสเตรเลียต่อพหุวัฒนธรรม:

“นั่นก็ดูจะเป็นความรู้สึกทั่วๆ ในชุมชน เราพบเห็นได้ในย่านที่เราพักอาศัยอยู่ ที่โรงเรียนในท้องถิ่นของพวกเรา ในศูนย์การค้าต่างๆ กับเพื่อนบ้างของเรา พวกเรานั้นอยู่กันท่ามกลางผู้คน โดยความเป็นจริงแล้วพวกเราทุกคนล้วนเป็นผู้ย้ายถิ่นฐานมาสู่ประเทศนี้ทั้งนั้น”

ยังคงมีการเลือกปฏิบัติอยู่

มีจำนวนผู้ถูกสำรวจต่ำกว่าหนึ่งในห้าเพียงเล็กน้อย ที่กล่าวว่าพวกเขาเคยประสบกับการเลือกปฏิบัติเนื่องจากศาสนา ชาติพันธุ์ หรือสีผิวของพวกเขา โดยตัวเลขดังกล่าวนั้นไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2016

คุณเอมมานูเอล มากอร์ ชายอายุ 18 ปี เกิดที่ประเทศอียิปต์ และกล่าวว่า แม้เขาจะเคยประสบกับการเลือกปฏิบัติในประเทศออสเตรเลีย เขารู้สึกได้อย่างรุนแรงถึงความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่ง(ของที่นี่)
Emmanuel Makor
Emmanuel Makor Source: SBS
“ผมถือว่าผมนั้นเป็นชาวออสเตรเลีย ผมรู้สึกว่าได้รับพรที่ได้อยู่ที่นี่ ผมอยู่ที่นี่มาแล้วเป็นเวลา 15 ปี ผมอายุ 18 และที่นี่ก็เป็นที่เดียวที่ผมรู้จัก ผมเป็นคนออสเตรเลีย” เขากล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“คุณเคยได้ยินถึงคำว่า ชาว ‘อเมริกันเชื้อสายอาฟริกัน’ (African American) แต่คุณไม่ได้ยินคำว่า ชาวออสเตรเลียเชื้อสายอาฟริกัน (African Australian) คุณมีเยาวชนซึ่งเกิดที่นี่ แต่สื่อมวลชนก็จะไม่เรียกว่า ‘ชาวออสเตรเลียเชื้อสายอาฟริกัน’ พวกเขาจะเรียกว่า ‘ชาวอาฟริกัน’ (Africans) ซึ่งเหมือนกับว่าเราเป็นคนนอกที่(ได้แต่)คอยมองเข้าไป”
"สื่อมวลชนจะไม่เรียกว่า ‘ชาวออสเตรเลียเชื้อสายอาฟริกัน’ พวกเขาจะเรียกว่า ‘ชาวอาฟริกัน’ (Africans) ซึ่งเหมือนกับว่าเราเป็นคนนอกที่(ได้แต่)คอยมองเข้าไป”—เอมมานูเอล มากอร์, อายุ 18 ปี
เขาได้รับความช่วยเหลือจาก เยาวชนกระตุ้นเยาวชน (Youth Activating Youth) ซึ่งเป็นองค์กรไม่มุ่งหวังผลกำไรที่สนับสนุน “ให้เยาวชนด้อยโอกาสชาวออสเตรเลียจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย กลับเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนของพวกเขา”

ประมาณ 23 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบการสำรวจเพื่อวางผังด้านความเป็นปึกแผ่นทางสังคม แสดงทัศนะคติในแง่ลบต่อชาวมุสลิม โดยเป็นตัวเลขซึ่งคงที่ อยู่ที่ระหว่าง 22 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี 2010

คุณเฮเลน กาปาลอส ประธานคณะกรรมการพหุวัฒนธรรมแห่งรัฐวิกตอเรีย (Victorian Multicultural Commission) กล่าวว่า ทัศนคติที่เป็นลบอันมีพื้นฐานจากศาสนาและเชื้อชาตินั้น เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก

เธอกล่าวว่า “เราทราบว่ามีเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้โดยมีพื้นฐานมาจากประเด็นเหล่านี้ แต่ดิฉันคิดว่าตอนนี้เชื้อชาติและศาสนา ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาในระดับโลกมากกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต และก็เป็นอีกครั้งที่มีความหวาดกลัวเกิดขึ้น และในขณะที่เรานั้นมีความเข้าใจเพียงน้อยนิดต่อเรื่องของศรัทธาในบริบทของสังคมร่วมสมัย”

“เรามักจะเชื่อมโยงความเลื่อมใสในศาสนา หรือความรู้สึกของเราว่าใครคนใดคนหนึ่งนั้นเลื่อมใสในศาสนา ว่าแล้วมันจะหมายถึงอะไร หรือเป็นตัวแทนของอะไร ซึ่งการเป็นตัวแทนดังกล่าวนั้นมันจะเป็นบางสิ่งบางอย่างซึ่งเป็นความจริงหรือว่ามันเป็นแค่ความรู้สึก?”

ทัศนคติต่อรัฐสภา

ศาสตราจารย์มาร์คุสกล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงของทัศนคติของผู้ตอบสำรวจต่อสมาชิกรัฐสภาระดับสหพันธรัฐนั้น เกิดขึ้นอย่างมากจนเกินกว่าที่จะจิตนการไปได้ และก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนเป็นพิเศษ

เขากล่าวว่า มีการลดลงอย่างเห็นได้ชัดของการสนับสนุนสมาชิกรัฐสภาระดับสหพันธรัฐ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
Prime Minister Scott Morrison and Leader of the Opposition Bill Shorten pass each other in a division during Question Time in the House of Representatives at Parliament House in Canberra, Thursday, November 29, 2018. (AAP Image/Mick Tsikas) NO ARCHIVING
Prime Minister Scott Morrison and Leader of the Opposition Bill ShortenNovember 29, 2018. (AAP Image/Mick Tsikas) Source: AAP
“เราถามคำถามเกี่ยวกับว่า ‘คุณไว้ใจนักการเมืองที่แคนเบร์ราว่าจะทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อชาวออสเตรเลียหรือไม่?’ และผลลัพธ์ที่น่าสนใจก็คือ ณ เวลาหนึ่ง มีจำนวนผู้คน 48 เปอร์เซ็นต์ซึ่งกล่าวว่า ‘ใช่ ฉันไว้ใจ’ ... ในปี 2009” 

“แต่ตัวเลขดังกล่าวก็ร่วงดิ่งลง และไม่กระเตื้องขึ้นอีกเลย ดังนั้น ซึ่งมันลงจาก 48 เปอร์เซ็นต์เหลือประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ และก็อยู่ที่ระดับนั้นมาตลอด”

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 4 December 2018 1:14pm
Updated 12 August 2022 3:41pm
By Peggy Giakoumelos, Abby Dinham
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News, AAP


Share this with family and friends