ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองของออสเตรเลียเชื่อว่า การปฏิรูปวีซ่าที่จะให้ผู้อพยพย้ายถิ่นใหม่บางส่วนต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปีในพื้นที่ชนบทของออสเตรเลียนั้น สามารถแก้ปัญความหนาแน่นของประชากรในเมืองใหญ่ได้เพียงน้อยนิด
ก่อนหน้านี้ นายอลัน ทัดจ์ รัฐมนตรีด้านเมืองและประชากรของออสเตรเลียได้กล่าวว่า การอพยพย้ายถิ่นฐานจากต่างประเทศเป็นส่วนสำคัญของการเติบโตของประชากรในออสเตรเลีย โดยการชักจูงให้ผู้คนเหล่านั้นบางส่วยไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทนั้นจะสามารถลดความหนาแน่นของประชากรในเมืองใหญ่ อย่างนครซิดนีย์ และเมลเบิร์นได้
“อัตราการอพยพย้ายถิ่นฐานทั้งหมดจากต่างประเทศนั้น คิดเป็นร้อยละ 60 ของการเติบโตของประชากรทั้งหมด และราวร้อยละ 75 ของการเติบโตของประชากรทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นในเมืองใหญ่ๆ” นายทัดจ์กล่าว เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (9 ต.ค.)
แต่ทว่า ศาสตราจารย์ไมเคิล บักซ์ตัน ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านสิ่งแวดล้อมและการผังเมืองจากมหาวิทยาลัย RMIT ผู้เชี่ยวชาญด้านการผังเมืองจากนครเมลเบิร์นกล่าวว่า ความกดดันของประชากรนั้นมีความโดดเด่นในออสเตรเลีย การชักจูงให้ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทนั้น “จะสร้างผลกระทบได้เพียงน้อยนิด” โดยปัญหาในเรื่องประชากรนั้นมาจากการที่รัฐบาลไม่สามารถวางแผนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค เพื่อรองรับกับการขยายตัวของประชากรอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในนครซิดนีย์ และเมลเบิร์นเมื่อพูดถึงสถานการณ์เรื่องสาธารณูปโภคในนครซิดนีย์ นายทัดจ์ รัฐมนตรีด้านเมืองและประชากรกล่าวว่า เป็นกรณีที่ปัญหานั้นตามโครงสร้างมาติดๆ
Migrants will be directed away from these cities under the government's plan. Source: SBS News
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์บักซ์ตันยังกล่าวอีกว่า ความผิดพลาดของระบบสาธารณูปโภคนั้น เกิดจากการที่รัฐบาลนั้นพึ่งภาคเอกชนมากเกินไป
“พวกเขาผ่อนปรนกฎระเบียบมากจนเกินไป และเปิดช่องว่างให้กับภาคเอกชน ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดในรัฐบาลออสเตรเลียที่ว่า รัฐบาลไม่จำเป็นจะต้องทำอะไรมากเกินไปในเรื่องนี้ พวกเขาผลักความรับผิดชอบไปให้ภาคเอกชนเป็นฝ่ายตัดสินใจมากขึ้น และเมื่อถึงเรื่องของปัญหาในระบบสาธารณูปโภคแล้ว ทัศนะคติดเหล่านี้ทำให้พวกเขาไม่มีทางแก้ และนำไปสูวิกฤตในที่สุด” ศาสตราจารย์บักซ์ตันกล่าว
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์บักซ์ตันได้กล่าวอีกว่า ทุกๆ 8 ปี นครเมลเบิร์นจะมีประชากรเพิ่ม 1 ล้านคน และยังมีการคาดการณ์บางส่วนที่กล่าวว่า ประชากรในนครเมลเบิร์นอาจเพิ่มขึ้นถึง 10 ล้านคนภายในปี 2050 ถึงแม้ว่ารัฐบาลสหพันธรัฐจะพยายามคลายความหนาแน่นของประชากร โดยชักจูงให้ผู้อพยพย้ายถิ่นนับล้านคนไปตั้งรกรากในพื้นที่ชนบทของออสเตรเลีย นครเมลเบิร์นและซิดนีย์ก็จะยังคงเผชิญปัญหาประชากรหนาแน่นอยู่เหมือนเดิม
“ขนาดของการขยายตัวของประชากรนั้น ยังคงมีความเข้มข้นในหัวเมืองใหญ่ๆ แม้ว่าจะมีความพยายามมหาศาลจากรัฐบาลในการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ชนบท ควบคู่กับการลงทุนด้านสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่มีราคามหาศาล อย่างเช่น การเสนอแผนลงทุนรถไฟความเร็วสูงในรัฐวิกตอเรียราคาเกือบ 2 หมื่นล้านดอลลาร์” ศาสตราจารย์บักซ์ตันกล่าว
ศาสตราจารย์บักซ์ตันยังกล่าวอีกว่า เมืองที่หนาแน่นติดอันดับโลก อย่างเช่น นครลอสแองเจลิส ได้รับมือกับความท้าทายด้านระบบสาธารณูปโภคอย่างจริงจัง โดยการลงทุนที่โดดเด่นด้านระบบขนส่งมวลชน
“ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก และเมืองทางชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ มีโครงการใหม่ๆ ขนาดมหาศาลเกี่ยวกับระบบขนส่งสาธารณะมากมาย ซึ่งรวมถึงการสร้างระบบขนส่งใหม่ทั้งเมือง” ศาสตราจารย์บักซ์ตันกล่าว
“ในเมืองอื่นๆ ทั่วโลก รัฐบาลของพวกเขาดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องนี้ ซึ่งรวมถึงเมืองขนาดใหญ่ในเอเชีย ดังนั้น รัฐบาล (ออสเตรเลีย) จึงจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเข้ากับความรับผิดชอบในการวางแผน และคาดการณ์ถึงความต้องการในระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในอนาคต ใส่ใจที่จะทำให้การก่อสร้างให้เกิดขึ้นจริง และหยุดโทษสิ่งรอบตัว และหยุดวิ่งไล่ตามแก้ปัญหาแบบที่นายทัดจ์เคยได้กล่าวไว้” ศาสตราจารย์บักซ์ตันกล่าว
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
SBS National Languages Competition 2018 –ไขข้อสงสัยการประกวด