สมดุลเป็นสิ่งสำคัญ
จากผลสำรวจโดยโพลสุขภาพเด็กแห่งออสเตรเลีย () ผู้ปกครองร้อยละ 58 กังวลว่าลูกใช้เวลากับหน้าจอมากเกินไป
กลวิธีสร้างสมดุลทำได้หลายรูปแบบ ผู้ปกครองและเด็กอาจตั้งข้อตกลงร่วมกันว่าจะจำกัดเวลาอย่างไร รวมถึงกำหนดขอบเขตการใช้หน้าจอ เช่น ไม่ใช้สมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ตในห้องนอนหรือในเวลาอาหาร “เหล่านี้เป็นวิธีง่าย ๆ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อพฤติกรรมความเคยชินของครอบครัว” พญ.แอนเทีย โรดส์ (Dr Anthea Rhodes) ผู้อำนวยการฝ่ายงานวิจัยของสำนักโพลสุขภาพเด็กแห่งออสเตรเลีย แนะนำ
อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองต้องหมั่นเอาใจใส่ทั้งเด็กและครอบครัว “บริหารเวลาหน้าจอคือการอบรมเลี้ยงดูประจำวันอย่างหนึ่ง” พญ.โรดส์กล่าว “เช่นเดียวกับประเด็นอื่น ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร เรื่องนี้เป็นส่วนผสมที่ซับซ้อนระหว่างวัฒนธรรม ประสบการณ์ และบุคลิกส่วนตัว”
หน้าจอต่างประเภทมีผลต่างกัน
หน่วยงานด้านสุขภาพของออสเตรเลียออกไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ อันที่จริงแล้วเรื่องนี้ประกอบด้วยปัจจัยซับซ้อนกว่านั้น
การพิจารณาเนื้อหาที่ลูกรับจากสื่อผ่านหน้าจอก็สำคัญไม่ด้อยไปกว่ากัน งานวิจัยโดยองค์กรซีโรทูทรี () ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรในสหรัฐอเมริกา เสนอแนะว่า การรับชมเนื้อหาสร้างสรรค์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เทียบกับดูรายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมแล้วมีผลต่างกันมาก
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
คุณติดสมาร์ทโฟนหรือเปล่า
ข้อควรพิจารณาอีกประการหนึ่งคือเทคโนโลยีนั้นเอื้อต่อการใช้ร่างกายเพียงใด ดร.เอริน โฮวีย์ (Dr Erin Howie) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคอร์ทิน (Curtin University) กล่าวว่า “ในแง่กายภาพ อุปกรณ์หน้าจอสัมผัสกับโทรทัศน์มีความแตกต่างกันมาก อุปกรณ์หน้าจอสัมผัสดีกว่าโทรทัศน์ แต่ไม่ดีไปกว่ากิจกรรมการเล่นที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย”
ดร.โฮวีย์ยังแนะนำให้สร้างนิสัยหยุดพักเป็นระยะเมื่อใช้เวลาอยู่หน้าจอ “อย่าลืมปรับท่าทางเป็นระยะ หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน”
ดังนั้น ถึงแม้การบริหารระยะเวลาที่ลูกอยู่หน้าจอจะสำคัญ แต่ก็ไม่ควรละเลยเนื้อหาและท่าทางระหว่างนั้นด้วย
เวลาหน้าจอก็มีข้อดี
ถ้าลูกของคุณอยู่หน้าจอเป็นประจำหรือชอบใช้เทคโนโลยี ก็มีข้อดีมากมายให้พิจารณา
“การใช้เทคโนโลยีอาจเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น แต่งเพลง สร้างภาพยนตร์ ถ่ายภาพ ทำแอนิเมชัน เรียนภาษาเขียนโปรแกรม ซึ่งช่วยเปิดโลกให้เด็ก ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ได้” คุณมาร์ทีน โอเกิลทอร์ป (Martine Oglethorpe) นักจิตวิทยาเด็กเจ้าของเว็บไซต์ กล่าว “ผู้ปกครองต้องใส่ใจกับประเภทของกิจกรรมหน้าจอ และส่งเสริมกิจกรรมที่สนับสนุนการเรียนรู้ของลูก”
หากแต่ไม่มีสูตรสำเร็จเสียทีเดียว สิ่งที่ส่งผลดีต่อลูกของคุณหน้าจอ อาจไม่เกิดประโยชน์สำหรับเด็กอีกคน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องหมั่นสื่อสารกับลูก “คุยกับลูกอยู่เสมอว่าลูกได้อะไรจากเทคโนโลยีนั้น อะไรดีสำหรับเขา และอะไรไม่มีประโยชน์สำหรับเรา” คุณโอเกิลทอร์ปแนะนำ “จากนั้นก็ให้ความสำคัญกับจุดที่ดี”
เวลาหน้าจอมีประโยชน์ได้เมื่อใช้อย่างสมดุลกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การเล่นรูปแบบอื่น ๆ และกิจกรรมทางกาย
Source: Shutterstock: Bluedog Studio
กุญแจอยู่ที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
หน้าจอไม่ใช่พี่เลี้ยงเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็กหรือวัยรุ่นต่างต้องการให้คุณชี้แนะแนวทาง “เทคโนโลยีให้ผลดีที่สุดเมื่อประกอบด้วยปฏิสัมพันธ์ หมายถึงคุยกับลูกของคุณเรื่องนี้ เล่นเกมด้วยกัน หรือช่วยสอนเขาใช้งาน” คุณโอเกิลทอร์ปอธิบาย “การที่คุณเข้าไปมีส่วนร่วมช่วยให้คุณติดตามได้ว่า ลูกใช้เวลากับอุปกรณ์มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของการเล่นและเรียนรู้ของลูก”
นี่ยังหมายความว่า ลูกจะรู้ว่าเขาสามารถหันมาหาคุณได้เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยี “หากลูกรู้ว่าคุณเข้าใจว่าสิ่งนี้ทำงานยังไง เขาจะรู้สึกว่าสามารถมาหาคุณได้เมื่อเกิดปัญหา” คุณโอเกิลทอร์ปกล่าว
กระนั้น การมีส่วนร่วมไม่ได้หมายถึงตามจับจ้องลูกตลอดเวลาที่ใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยี วิธีมีส่วนร่วมที่ดีที่สุดคือสร้างความเข้าใจร่วมกันตั้งแต่ตอนที่ลูกเริ่มใช้อุปกรณ์เหล่านี้
เวลาเป็นสิ่งสำคัญ
อุปกรณ์หน้าจอเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของชีวิตปัจจุบัน แต่การดูแลว่าช่วงเวลาใดควรไม่ควรอยู่หน้าจอนั้นส่งผลชัดเจนต่อสุขภาพของลูก
ช่วงเวลาผ่อนคลายก่อนเข้านอนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพักผ่อน สรุปสาระสำคัญจากงานวิจัย 67 ฉบับชี้ว่า ไม่ควรใช้อุปกรณ์หน้าจอช่วงก่อนเข้านอน เพราะแสงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่เพียงส่งผลต่อสายตาเท่านั้น แต่ยังกระทบวงจรการนอนหลับด้วย เพราะอาจส่งผลที่ช่วยเรื่องการนอนหลับ
ชมสารคดี Are You Addicted To Technology?ได้ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายนทาง SBS On Demand บนระบบ iOS และ tvOS โปรดอัปเดตหรือดาวน์โหลดเวอร์ชันล่าสุดรองรับระบบปฏิบัติการเวอร์ชัน OS 13.5 ขึ้นไป
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
วิดิโอเกมนั้น ‘เสพติดเท่ากับโคเคนหรือการพนัน’
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
รัฐวิกตอเรียกับแผนนำนักศึกษาต่างชาติกลับมาเหมือนครั้งออสเตรเลียน โอเพ่น