'ห่วงใย' หรือ 'บงการ': มองต่างมุมกับกฎหมายแบนเด็กออสซีเล่นโซเชียล

Sri Lanka Blocked Social Media

Source: Flickr

รัฐสภาออสเตรเลียผ่านร่างกฎหมายห้ามผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี ใช้โซเชียลมีเดีย ฉบับแรกของโลก ฝ่ายที่เห็นด้วยคิดอย่างไร และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยคิดอย่างไร เด็กๆ คิดอย่างไร ฟังเสียงความคิดเห็นเรื่องนี้


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐบาลออสเตรเลียผ่านร่างกฎหมายห้ามผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีใช้โซเชียลมีเดีย นับเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลก

โดยกฎหมายนี้จะบังคับใช้กับแพลตฟอร์ม Facebook, Snapchat, Reddit, Instagram และ X (ทวิตเตอร์)

แต่ไม่บังคับใช้กับแพลตฟอร์ม Messenger Kids, WhatsApp, Kids Helpline, Google Classroom และ YouTube

ซึ่งบริษัทที่ละเมิดข้อกำหนดนี้จะถูกปรับสูงสุด 49.5 ล้านดอลลาร์

นายแอนโทนี อัลบานีซี นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียกล่าวถึงกฎหมายนี้ว่า

“เป็นมาตรการริเริ่มระดับโลก เพื่อให้บริษัทโซเชียลมีเดียรับผิดชอบต่อสังคม โซเชียลมีเดียทำร้ายเด็กๆ ของเรา และวันนี้ ร่างกฎหมายนี้ผ่านรัฐสภา พ่อแม่จะสามารถพูดคุยกับลูกๆ ในมุมมองใหม่ได้”
คุณวีว่า อายุ 12 ปี ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ เธอมองว่ารัฐบาลไม่ฟังเสียงของเยาวชน

“เขาไม่ได้ฟังเด็กเลยค่ะ ทำไมเราคุยกับเพื่อนไม่ได้ แต่ทำไมผู้ใหญ่คุยกับเพื่อนได้”
Photo Viva  (1).jpg
คุณวีว่าไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ Credit: SBS Thai
พร้อมตั้งคำถามถึงการทำงานของรัฐบาลกับปัญหา Catfish (การสร้างตัวตนปลอมในอินเทอร์เน็ตเพื่อหลอกผู้อื่น) ที่เล็งทำร้ายเด็ก

คุณอาชี่มองว่าจริงๆ แล้วเด็กถูกจำกัดสิทธิอยู่แล้ว และคิดว่ากฎหมายนี้จะมีส่วนทำให้เด็กวัยรุ่นปลอดภัยมากขึ้น แม้อาจจะไม่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้เด็กได้ทั้งหมด
Photo Archie (8).jfif
คุณอาชี่มองว่าโซเชียลมีเดียมีเนื้อหาหมิ่นเหม่ ที่เด็กอาจลอกเลียนแบบได้ Credit: Supplied
“กฎหมายแบนนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนของโลก เพราะจะมีกฎหมายมาควบคุมเทคโนโลยีมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับเด็ก อยากรอติดตามว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป”

คุณศิริเห็นด้วยกับกฎหมายนี้ เธอมองว่าการให้เด็กที่ยังมีวุฒิภาวะน้อยใช้โซเชียลมีเดียมีแนวโน้มทำให้เด็กไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ได้
Photo Siri.jfif
คุณศิริมองว่าโซเชียลมีเดียทำให้เกิดปัญหาการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ส่งผลให้เด็กมีภาวะซึมเศร้าหรือเสี่ยงต่อการนำไปสู่การทำร้ายตนเองได้ Credit: Supplied
“ตั้งคำถามต่ออีกว่า ถ้าเราห้ามไม่ให้เด็กมีบัญชีโซเชียลมีเด็ก แต่ถ้าพ่อแม่มีล่ะคะ ถ้าพ่อแม่ลงรูปหรือคลิปของลูก ซึ่งพ่อแม่บางคนมีพฤติกรรม sharenting มันอาจจะทำให้เด็กถูกกลั่นแกล้งในอนาคตได้หรือเปล่า”

(หมายเหตุ: Sharenting คือพฤติกรรมที่พ่อแม่โพสต์รูปภาพลูกลงสื่อสังคม ซึ่งอาจนำไปสู่การเผยข้อมูลส่วนตัวหรือรายละเอียดกิจกรรมที่เด็กๆ ทำจนอาจส่งผลกระทบได้ในอนาคต/ข้อมูลจาก )

คุณลิน (นามสมมติ) มองว่าการผ่านกฎหมายนี้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว เธอทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
Photo-anonymous female-pexels-monica-turlui.jpg
คุณลินรู้สึกว่าการผ่านกฎหมายนี้รวดเร็วเกินไป Credit: Pexels/Monica Turlui
“การไปห้ามเขาใช้บางอย่าง บางทีก็ไม่ได้ช่วย เพราะส่วนตัวแล้วคิดว่าสิ่งที่จะช่วยคือการให้ความรู้แก่เด็ก สุดท้ายมันก็จะมีช่องโหว่ของกฎหมาย แต่จะมองว่ากฎหมายไม่มีประโยชน์เลยก็ไม่เชิง”

สำหรับประเด็นที่หลายคนมองว่ากฎหมายนี้เป็นเรื่องการเมือง คุณลินมองว่ามีส่วน เพราะรัฐบาลพยายามผลักดันนโยบายใหม่ๆ ในช่วงนี้
สำหรับกฎหมายแบนผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีใช้โซเชียลมีเดียจะมีผลบังคับใช้ในอีก 12 เดือน ที่ออสเตรเลีย แต่ยังมีคำถามเรื่องการบังคับใช้

มีการคาดการณ์ว่าจะใช้เอกสารแสดงตัวตนและการยืนยันใบหน้า เพื่อยืนยันอายุ แม้กระทั่งสำหรับผู้ใหญ่

จีนนี แพตเตอร์สัน จากคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นกล่าวว่ามีหลายประเด็นที่ทำให้เธอสงสัย
คำถามสำหรับฉันคือกลไกที่จะทำงานนี้จะมีประสิทธิภาพแค่ไหน มันจะยุ่งยากแค่ไหน และสิ่งนี้จะแก้ปัญหาเลวร้ายในโลกดิจิทัลได้จริงหรือไม่
แพตเตอร์สันกล่าว
ล่าสุด เมตา บริษัทโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ที่เป็นเจ้าของเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมออกแถลงการณ์ว่าทางบริษัท “เคารพกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาโดยรัฐสภาของออสเตรเลีย” แต่ “กังวลกับกระบวนการที่เร่งรีบในการผลักดันกฎหมายนี้ โดยไม่ได้พิจารณาหลักฐานอย่างเหมาะสมถึงสิ่งที่อุตสาหกรรมโซเชียลมีเดียทำเพื่อคัดกรองสิ่งที่เหมาะสมกับอายุของผู้ใช้และเสียงของเยาวชน”

ในมุมมองของประเทศอื่น เช่น หนังสือพิมพ์อินดิเพนเดนท์ของอังกฤษกล่าวว่า “ออสเตรเลียเป็นกรณีศึกษาสำหรับรัฐบาลประเทศอื่น ในการออกกฎหมายจำกัดอายุผู้ใช้โซเชียลมีเดีย”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share