ไนดอค (NAIDOC) เป็นตัวย่อของ National Aboriginal and Islanders Day Observance Committee วันแห่งคณะกรรมธิการชาวอะบอริจินและชาวเกาะแห่งชาติ โดยเริ่มต้นจากวันแห่งการไว้ทุกข์ ก่อนที่จะพัฒนาเป็นการเฉลิมฉลองเป็นเวลา 1 สัปดาห์ของชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส เสตรท
คุณสเตซี่ ไพเพอร์ (Stacie Piper) เป็นหญิงชาววูรุนด์เจรี (Wurrundjeri) และ จา จา (Dja Dja) และเป็นประธานคณะกรรมการไนดอคแห่งรัฐวิกตอเรีย เธอกล่าวว่า
เราควรระลึกเสมอว่า ต้นกำเนิดนั้นไม่ใช่การเฉลิมฉลอง แต่เป็นการระลึกถึงความอยุติธรรมที่เกิดกับชุมชนของเรา
สัปดาห์ไนดอคปี 2021 มีในระหว่างวันที่ 4 – 11 กรกฎาคม โดยธีมในปีนี้คือ รักษาประเทศ! (Heal Country!) ซึ่งเรียกร้องให้มีการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งผสมผสานกับมรดกทางวัฒนธรรมของเจ้าของดั้งเดิมอย่างเหนียวแน่น
เราเชื่อว่าประเทศที่สมบูรณ์หมายถึงประชาชนที่สมบูรณ์แข็งแรง นี่ไม่ได้หมายถึงชาวพื้นเมืองอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสเท่านั้น สิ่งนี้รวมถึงทุกคนที่เกี่ยวข้อง และเรียกสถานที่แห่งนี้ว่าบ้าน
การรักษาประเทศนั้นหมายถึงความรับผิดชอบต่อแผ่นดิน และการแสดงความเคารพต่อทุกสิ่งที่เชื่อมโยงกับมัน ทุกสิ่งมีชีวิต จิตวิญญาณ อัตลักษณ์ เรื่องราว และความเชื่อ มันหมายถึงการให้ความสำคัญต่อการจัดการกับผืนแผ่นดินดั้งเดิมที่มีมากว่าพันปี มันหมายถึงการดูแลรักษาประเทศ
การดูแลรักษาประเทศนั้นยังหมายถึง การคุ้มครองสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยการจำกัดจำนวนผู้เยี่ยมชมสถานที่สำคัญเหล่านั้น คุณสเตซี่อธิบาย
“ดิฉันคิดว่าหลายชุมชนในประเทศคงจะไม่สนับสนุนให้คนทั่วไปสามารถเยี่ยมชมสถานที่บางแห่งได้ เพราะว่าบางสถานที่มีข้อห้ามบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสถานที่เฉพาะสำหรับผู้ชาย หรือสถานที่เฉพาะสำหรับผู้หญิง หรือที่นั่นอาจเป็นสถานที่สำหรับการไว้ทุกข์”คุณวอลลี่ เบลล์ (Wally Bell) ชายชาวนันนาวัล ผู้ทำงานเพื่ออนุรักษ์และปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคของกรุงแคนเบอร์รา ในฐานะผู้ดูแลดั้งเดิม เขาให้ความสำคัญกับการปฏิบัติทางวัฒนธรรมกับสถานที่สำคัญในบางแห่ง
โขดหินบนจุดชมวิว ไซเปรส ไพน์ (Cypress Pine Lookout) แห่งอุทยานแห่งชาติ นามัดจี Source: Getty Images/Jonathan Steinbeck
“ในฐานะที่ผมเป็นคนนันนาวัล ผมไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นไปบนภูเขา เอนสลี (Mount Ainslie) เด็ดขาด ผมสามารถเยี่ยมชมบริเวณรอบๆ ด้านล่างได้ แต่ผมจะไม่ขึ้นไปบนภูเขา เพราะว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของผู้หญิงที่เป็นความลับ และผมไม่ได้รับอนุญาตที่จะล่วงรู้ถึงสิ่งเหล่านั้นได้”
ดินแดนภูมิภาคแคนเบอร์รานั้นเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญหลายพันแห่ง โดยหลายแห่งเปิดให้เยี่ยมชมได้
“ตัวอย่างเช่น สถานที่หินศักดิ์สิทธิ์ของเราที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติ นามัดจี ผมคิดว่าเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบเดินป่า หากคุณชอบเดินสำรวจเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือสถานที่ประเภทนั้น ที่นั่นจะเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การไปเยี่ยมชม”
อุทยานแห่งชาติคู-ริง-ไก เชส (Ku-ring-gai Chase National Park) ที่อยู่นอกตัวเมืองซิดนีย์ไปทางเหนือ 25 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่มีสถานที่สำคัญของชนพื้นเมืองอยู่ 350 แห่ง นับเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีสถานที่สำคัญของชาวอะบอริจินมากที่สุดในออสเตรเลีย ที่นี่คุณสามารถเดินชมมรดกของชาวอะบอริจิน จากศิลปะและการแกะสลักบนโขดหินที่สร้างโดยเจ้าของแผ่นดินดั้งเดิมสถานที่สำคัญบางแห่งยังสามารถพบได้ในใจกลางเมืองของเราอีกด้วย
คนขี่จักรยานมองจากคิงส์ พาร์ค ลงไปที่แม่น้ำสวอน ริเวอร์ (Swan River) ในเพิร์ธ Source: AFP
คิงส์ พาร์ค (Kings Park) ที่เพิร์ธ นับเป็นพื้นที่ประกอบพิธีและวัฒนธรรมที่สำคัญ โดยคุณสามารถใช้เส้นทางบูดจา นานนิ่ง (Boodja Gnarning) เส้นทางนี้จะแบ่งออกเป็นเส้นทางเดินของผู้ชายและผู้หญิง เพื่อเรียนรู้และระลึกถึงบทบาทที่แตกต่างกันโดยจารีตประเพณี
ในเมลเบิร์น มีแอปมือถือใหม่ที่จะมอบประสบการณ์เสมือนจริงให้แก่ผู้ฟัง แอปลิเคชัน ยาลิงกูท จะเชื่อมโยงคุณกับประวัติศาสตร์อะบอริจินในฟิซรอย (Fitzroy) ด้วยการใช้เสียงที่สมจริง ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ และหูฟังหนึ่งคู่ คุณจะถูกนำทางไปตามถนนเกอร์ทรูด (Gertrude) ที่มีชื่อเสียง
“หลังเปิดตัวแอป ผมคิดว่าผู้ที่อยากจะใช้แอปเพื่อเชื่อมโยง พวกเขาจะได้ฟังเรื่องราวที่มีค่าของผู้คนที่หลากหลาย”
คุณบ๊อบบี้ นิโคลส์ ชาวยอตา ยอตา เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ร่วมผลิตนี้
“ถนนเกอร์ทรูดเปรียบเสมือนเครื่องมือหรือไฟนำทางเพื่อให้ผู้คนพบปะกัน เพราะนั่นเป็นที่ที่ชาวอะบอริจินส่วนใหญ่อาศัยอยู่ ในพื้นที่เหล่านั้นในปีทศวรรษที่ 50 60 และ 70”
ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ร้านชาร์โคล เลน บนถนนเกอร์ทรูดในเมลเบิร์น โดยโรเบิร์ต ยัง (Robert Young) ศิลปินชนเผ่ากันไน วารัดเจอรี (Gunnai Waradgerie) Source: ืNITV
แอปลิเคชัน ยาลิงกุท จะเปิดตัวในเดือนนี้ที่เมลเบิร์น
ในปีนี้ธีมของสัปดาห์ไนดอคเป็นสิ่งเตือนใจว่า การดูแลรักษาแผ่นดินและมรดกทางวัฒนธรรมของชาวอะบอริจินนั้น เป็นความรับผิดชอบของคนออสเตรเลียทุกคน คุณสเตซี่กล่าว
“การศึกษาด้วยตนเองนั้น มีแหล่งข้อมูลออนไลน์อยู่หลายแห่ง และนั่นนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางของคุณเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศที่คุณอาศัยอยู่ตอนนี้ การรู้ว่าประเทศนี้เป็นของใคร รู้ประวัติศาสตร์ของพื้นที่ การค้นหาข้อมูล และการเดินตามหาสถานที่จากแหล่งข้อมูลนั้น”
แหล่งข้อมูลออนไลน์มีอยู่ทั่วไป มองหาที่ที่มีเส้นทางให้เดินแกะรอยตาม ใครเป็นเจ้าของดั้งเดิมในภูมิภาคต่าง ๆ หรือปฏิทินของชนพื้นเมืองอธิบายสิ่งแวดล้อมไว้อย่างไร
CSIRO ร่วมกับกลุ่มภาษาพื้นเมืองจากมณฑลนอร์เทิร์นแทริทอรี (Northern Territory) และเวสเทิร์น ออสเตรเลีย (Western Australia) ในการผลิตชุดปฏิทินที่แสดงถึงความรู้ของชนพื้นเมืองที่ผสมผสานกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศไว้อย่างลึกซึ้ง สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของ CSIRO
คุณบ๊อบบี้กล่าวว่า ความรับผิดชอบในการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น ไม่เพียงตกอยู่กับชาวอะบอริจินเท่านั้น
“เราได้รับการสนับสนุนจากทั้งคนที่ไม่ใช่คนอะบอริจิน แต่รวมถึงคนที่มาจากชาติอื่นด้วย เพราะพวกเขาอยากเรียนรู้เกี่ยวกับชนชาติแรก (First Nations People) หรือเจ้าของแผ่นดินดั้งเดิมที่พวกเขาอาศัยอยู่ และเรายินดีที่จะให้พวกเขาเฉลิมฉลองกับเรา”
สัปดาห์ไนดอคนับเป็นเวลาของการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดื่มด่ำกับธรรมชาติ และเปลี่ยนวิธีที่เรามองสิ่งแวดล้อมรอบตัวและมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติแรกของเรา
การรักษาประเทศนั้น มีความหมายกับเราในแง่ที่ว่า เราต้องเข้าใจว่าทุกคนที่อาศัยอยู่ที่นี่ต้องดูแลมันเหมือนที่เราทำมาโดยตลอด มองผืนดินแห่งนี้ในแบบที่เรามอง คุณรู้ไหม ไปเยี่ยมชม ดูแลมัน เคารพมัน เราเต้นรำเพื่อประเทศ เราร้องเพลงเพื่อประเทศ นั่นเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลรักษา และในทางกลับกัน มันก็รักษาเราเช่นกัน
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
READ MORE
มารู้จักสัปดาห์ NAIDOC