สัปดาห์แห่งความปรองดองแห่งชาติ หรือ National Reconciliation Week เป็นช่วงเวลาที่ชาวออสเตรเลียทุกคนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกัน วัฒนธรรม และความสำเร็จ และมีส่วนร่วมในการปรองดอง โดยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส
แนวคิดหลักสำหรับกิจกรรมในปีนี้คือ “More than a word. Reconciliation takes action.” หรือ มากกว่าคำพูด การปรองดองต้องใช้การกระทำ
สารคดี Settlement Guide ในตอนนี้ เราจะไปดูกันว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในออสเตรเลีย สามารถทำสิ่งใดได้บ้างเพื่อนำไปสู่การปรองดอง
ฟังสารคดีนี้
LISTEN TO
Settlement Guide: สัปดาห์เพื่อการปรองดองแห่งชาติ
SBS Thai
27/05/202110:08
สัปดาห์การปรองดองแห่งชาติ หรือ National Reconciliation Week มีขึ้นระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม ถึง 3 มิถุนายน เพื่อระลึกถึงการลงประชามติในปี 1967 และการตัดสินของศาลสูงในกรณีมาโบ (Mabo)
“More than a word. Reconciliation takes action.” หรือ มากกว่าคำพูด การปรองดองต้องใช้การกระทำ เป็นแนวคิดหลักสำหรับกิจกรรมในปี 2021 นี้ โดยปีนี้ครบรอบ 20 ปีของ รีคอนซิลิเอชัน ออสเตรเลีย (Reconciliation Australia) องค์กรแห่งชาติเพื่อการปรองดอง
คุณ คาเรน มันดีน (Karen Mundine) เป็นหญิงเชื้อสายชาวบันด์จาลัง (Bundjalung) จากทางเหนือของรัฐนิวเซาท์เวลส์ เธอเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร รีคอนซิลิเอชัน ออสเตรเลีย (Reconciliation Australia)
“การปรองดองเป็นการเดินทางสำหรับชาวออสเตรเลียทุกคน เรามีความคิดอย่างไรเรื่องความสัมพันธ์กับชนกลุ่มแรกของออสเตรเลีย (First Australians) ที่เป็นชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส เป็นประเด็นสำหรับชาวออสเตรเลียทุกคน ไม่ว่าคุณจะเพิ่งมาอยู่ใหม่ หรืออยู่ที่นี่มานานแล้ว” คุณ มันดีน กล่าว
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Thai: The Uluru Statement from the Heart
การปรองดองเป็นประสบการณ์ที่มาจากความกระตือรือร้น และมีหลายวิธีง่ายๆ ที่เราจะมีส่วนร่วมกับสัปดาห์แห่งการปรองดองแห่งชาติได้
“เมื่อพูดถึงสัปดาห์การปรองดองแห่งชาติ มันเป็นโอกาสสำหรับเราทุกคนที่จะได้คิดถึงความสัมพันธ์เหล่านั้น พุ่งความสนใจไปที่เรื่องนี้ และเริ่มการพูดคุยและส่งเสริมให้ชุมชนทั้งหมดของเราได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ” คุณ มันดีน อธิบาย
ในฐานะประธานกรรมการบริหารของ สหพันธ์สภาชุมชนชาติพันธุ์แห่งออสเตรเลีย (Federation of Ethnic Communities’ Councils of Australia) หรือเฟกกา (FECCA) คุณ โมฮัมเมด อัล ฟาคาจี ขอให้ผู้ย้ายถิ่นทุกคนมีส่วนร่วมกับกระบวนการปรองดอง
“พวกเรามีเสียงที่แข็งแกร่งหากเราร่วมกันกับเสียงของชนกลุ่มแรกของชาติ เรารู้ว่าพวกเขาให้การต้อนรับพวกเราสู่ประเทศนี้ มันเป็นหน้าที่และภาระผูกพันของพวกเราที่จะต้องรู้ประวัติศาสตร์ ต้องรู้ว่าชุมชนเหล่านั้นผ่านอะไรมาบ้าง เพราะพวกเรามีประสบการณ์เช่นเดียวกันและมีสิ่งผลักดันเช่นเดียวกันสำหรับการเปลี่ยนแปลง พวกเราทั้งสองเผชิญกับความอยุติธรรม และพวกเราทั้งสองต้องการความเสมอภาคในประเทศนี้” คุณ อัล คาฟาจี ประธานเฟกกา กล่าว
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สัปดาห์สมานฉันท์แห่งชาติมุ่งเน้นการเล่าความจริง
อย่างไรก็ตาม คุณ คาเรน มันดีน กล่าวว่า อาจมีเหตุผลที่ทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานหลายคนไม่สนใจกระบวนการปรองดองนี้ แต่เธอแนะนำอย่างจริงจังให้พวกเขาร่วมกิจกรรมในสัปดาห์การปรองดองแห่งชาติในปีนี้
“สิ่งกีดขวางที่ใหญ่ที่สุดอาจมาจากความที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหน และรู้สึกประหม่า หรือรู้สึกว่ามันช่างแตกต่างเหลือเกิน แต่พวกเรามีหลายอย่างที่เหมือนกัน และมีหนทางที่พวกเราจะชื่นชมวัฒนธรรมและความหลากหลายของกันและกันได้ และฉันคิดว่านี่จะทำให้พวกเราแข็งแกร่งยิ่งขึ้น” คุณ มันดีน กล่าว
คุณ โมฮัมเมด อัล ฟาคาจี ประธานกรรมการบริหารของเฟกกา เห็นด้วยว่า คนจำนวนมากอาจไม่รู้ว่าพวกเขาจะมีการพูดคุยในเรื่องนี้ได้อย่างไร หรือแม้แต่ไม่รู้ว่าจะเหมาะสมหรือไม่ที่ผู้อพยพย้ายถิ่นจะเข้าร่วมในการพูดคุยเรื่องนี้ นอกจากนี้ ผู้คนที่ไม่ได้ผ่านการศึกษาในระบบของออสเตรเลียอาจพบอุปสรรคเพิ่มขึ้นอีกด้วย
“ผมคิดว่าปัญหาคือคนจำนวนมากไม่เข้าใจว่า การปรองดองคืออะไร หรือทำเพื่ออะไร และนั่นก็ยากขึ้นไปอีกสำหรับชุมชนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่"
"ผมคิดว่าเราจำเป็นต้องทำการศึกษาหาความรู้ให้ตนเอง และทำให้แน่ใจได้ว่า เราสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับชนกลุ่มแรกของออสเตรเลีย เพราะว่าหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เราก็ไม่สามารถเรียกตนเองว่าเป็นชาวออสเตรเลียอย่างแท้จริงได้” คุณ อัล ฟาคาจี ประธานเฟกกา กล่าว
เราจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ให้ตนเอง และทำให้แน่ใจว่าเราได้สร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับชนกลุ่มแรกของออสเตรเลีย เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้น เราก็ไม่สามารถเรียกตนเองว่าเป็นชาวออสเตรเลียอย่างแท้จริงได้
การมีส่วนร่วมในสัปดาห์การปรองดองแห่งชาติ หรือ National Reconciliation Week เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและมิตรภาพ สามารถทำได้ด้วยกิจกรรมง่ายๆ เช่น การใช้ภาพกราฟฟิกในโพสต์ทางโซเชียลมีเดียของคุณ การส่งอีเมลแสดงความเห็นของคุณต่อกระบวนการปรองดอง และแม้แต่การพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของชาวพื้นเมือง คุณ คาเรน มันดีน อธิบายว่า
“มีหลากหลายวิธีที่ชาวออสเตรเลียที่เป็นผู้อพยพย้ายถิ่นจะสามารถมีส่วนร่วมได้ ไม่ว่าจะเป็นการไปอ่านข้อมูลที่เว็บไซต์ต่างๆ ของเราและดูว่ามีกิจกรรมใดที่เกิดขึ้นบ้างในท้องถิ่น หรือหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยมที่เอสบีเอสมี ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ รายการวิทยุ และจากนั้นให้พูดคุยกับครอบครัวของคุณเองและชุมชนของคุณ” คุณ มันดีน กล่าวทิ้งท้าย
คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมในสัปดาห์การปรองดองแห่งชาติ หรือ National Reconciliation Week ที่เว็บไซต์ของ Reconciliation Australia website:
เฟกกา มีคู่มือส่งเสริมการมีส่วนร่วมในสัปดาห์ปรองดองแห่งชาติ ที่เรียกว่า Encouraging Engagement guide ที่เว็บไซต์ของเฟกกา ที่
NITV สถานีโทรทัศน์ช่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวพื้นเมืองของออสเตรเลียโดยเฉพาะ ซึ่งอยู่ในเครือของเอสบีเอส จะมีภาพยนตร์พิเศษหลากหลายเรื่องให้ได้ชมกันในช่วงสัปดาห์การปรองดองแห่งชาติ เรื่องที่เราอยากแนะนำ คือ เรื่องราวของเด็กหญิงชาวอะบอริจินสามคนที่ถูกพรากไปจากแม่และบ้านของพวกเธอ เนื่องจากนโยบายทางรัฐบาลออสเตรเลียในขณะนั้น เรื่องนี้จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้นถึงความรู้สึกของชาวอะบอริจินรุ่นที่ถูกพราก หรือ Stolen Generation
ภาพยนตร์แนะนำอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่อง Mabo: Life Of An Island Man เรื่องราวของนาย Eddie Koiki Mabo ชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส ที่ชนะคดีในศาลสูงของออสเตรเลีย และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในออสเตรเลียของชาวพื้นเมือง โดยค้านความคิด terra nullius หรือ ดินแดนไร้ผู้ครอบครอง
ติดตามชมกันได้ทาง NITV หรือ SBS on Demand และพูดคุยถึงสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากภาพยนตร์กับครอบครัวและเพื่อนฝูงในชุมชนของเรา ไปที่ และ
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เปิดโลกอาหารป่าสารพันของชาวพื้นเมืองออสซี