ผลการวิจัยล่าสุดพบว่าเด็กที่มาจากครอบครัวผู้ย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัยเข้าถึงการศึกษาปฐมวัยล่าช้ากว่าเด็กส่วนใหญ๋
จากการศึกษาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลียและบริการด้านการอยู่อาศัยนานาชาติ ( Settlement Services International) ชี้ให้เห็นว่าพัฒนาการของเด็กเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงมากขึ้น
ศาสตราจารย์ด้าน การศึกษาเพื่ออนาคต (Education Futures) จาก มหาวิทยาลัย South Australia Sally Brinkman กล่าวว่า
"เราใช้การสำรวจสำมะโนประชากร ด้านพัฒนาการปฐมวัย ซึ่งเป็นการสำรวจการพัฒนาเด็กทุกๆ สามปีทั่วทั้งออสเตรเลีย นี่จึงเป็นการเห็นถึงแนวโน้มพัฒนาการของเด็กอายุประมาณ 5 ปีครึ่งทุกคนซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 96 ถึง 98 ของเด็กทั่วประเทศ"
"ผลการวิจัยพบว่าต้องได้รับการช่วยเหลือเรื่องเด็กที่มีภูมิหลังมาจากครอบครัวหลากภาษาและวัฒนธรรม (CALD) ต้องได้รับการช่วยเหลือด้านพัฒนาการ ข้อกังวลคือ และมีสิ่งที่น่ากังวลคือ จะมีช่องว่างระหว่างเด็กกลุ่มดังกล่าวกับเด็กออสเตรเลียทั่วไปหรือไม่"
ในออสเตรเลียมีจำนวนเด็กร้อยละ 27 ที่สามารถพูดได้มากกว่าหนึ่งภาษา Credit: Pexels/Naomi Shi
และจากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรด้าน พัฒนาการปฐมวัยของออสเตรเลีย แสดงให้เห็นว่าในปี 2021 ร้อยละ 82 ของเด็กที่มีภูมิหลังมาจากครอบครัวหลากภาษาและวัฒนธรรม และผู้ลี้ภัย ได้รับการศึกษาปฐมวัย (ในหลายรูปแบบที่ต่างกันไป)
แต่รายงานที่ชื่อว่า 'Stronger Starts, Brighter Futures' ชี้ว่า เมื่อเทียบกับเด็กอื่นๆ ซึ่งมีอัตราการเข้ารับการศึกษาปฐมวัยอยู่ที่ร้อยละ 90
ศาสตราจารย์บริงก์แมนกล่าวว่าการไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาปฐมวัยอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลตอนโต
"ประมาณร้อยละ 46 มีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้า หากคุณไม่เข้าร่วมกลุ่มต่างๆ เช่น playgroups หรือการศึกษาปฐมวัยอื่นๆ"
หากคุณให้ลูกเข้าร่วมกลุ่มหรือเรียนในระดับอนุบาลในช่วงปีแรกๆ ของชีวิต คุณมีแนวโน้มที่จะได้รับการสนับสนุนในด้านพัฒนาการเด็กมากขึ้นศาสตราจารย์ แซลลี บริงก์แมน
ผลการวิจัยยังพบว่า เด็กที่มีภูมิหลังมาจากครอบครัวผู้อพยพและผู้ลี้ภัยกว่าครึ่งหนึ่ง มีแนวโน้มที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านพัฒนาการปฐมวัย เช่น การบำบัดการพูด (speech therapy) กิจกรรมบำบัด (occupational therapy) กิจกรรมบำบัด หรือการสนับสนุนด้านทุพลภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กทั่วไป
หัวหน้าฝ่ายวิจัยและนโยบายของ Settlement Services International ดร. ทาดจ์ มิค มาฮิน ซึ่งเป็นผู้เขียนร่วมของการวิจัยครั้งนี้
การวิจัยล่าสุดพบว่าเด็กที่มีภูมิหลังมาจากครอบครัวผู้อพยพและผู้ลี้ภัยกว่าครึ่งหนึ่ง มีแนวโน้มที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านพัฒนาการ Source: AAP
กล่าวว่าเด็กที่มีภูมิหลังมาจากครอบครัวผู้ย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัย จำเป็นต้องมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาปฐมวัยที่เหมาะสมและมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือด้านพัฒนาการที่ปรับให้เหมาะกับความต้องการของพวกเขา ดร. มิค มาฮิน อธิบายว่า
" โดยรวมแล้วความแตกต่างระหว่าง เด็กที่มีภูมิหลังมาจากครอบครัวผู้ย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัยที่ได้รับการศึกษาปฐวัยกับเด็กทั่วไปมีน้อยลง แต่ยังมีช่องว่างที่แตกต่างกันมากในหมู่เด็กที่ต้องการการสนับสนุนด้านพัฒนาการ ไม่ว่าจะเป็นด้าน การบำบัดการพูด กิจกรรมบำบัด หรือการสนับสนุนด้านทุพลภาพ"
การศึกษาดังกล่าวเผยแพร่ ในวารสารการศึกษาปฐมวัย ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่าพนักงงานดูแลเด็กและนักการศึกษาปฐมวัยต้องได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือเด็กกลุ่มที่ภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นภาษาแม่มากขึ้น
นักวิจัยกล่าวว่าการเพิ่มอัตรา การเข้าเรียนในระดับปฐมวัย สามารถปรับปรุงได้ด้วยการผสมผสานมาตรการที่เป็นสากล การกำหนดเป้าหมาย และปรับให้เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อจัดการกับอุปสรรคในการไม่เข้าเรียนอนุบาลตั้งแต่เนิ่นๆ
ดร. มิค มาฮินกล่าวว่าแนวทางเหล่านี้ จำเป็นต้องได้รับการประสานงานระหว่าง รัฐบาล ผู้ให้บริการการศึกษาปฐมวัย และผู้ให้บริการด้านการอยู่อาศัยในออสเตรเลีย
"การวิจัยนี้มองว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงภาคส่วนนี้ ส่วนมากครอบครัวผู้ย้ายถิ่นจะไม่ทราบถึงประโยชน์ของการเรียนรู้จากการเล่น ซึ่งแนวความคิดการเรียนรู้จากการเล่นอาจไม่ได้แพร่หลายในประเทศแม่ของพวกเขา"
ผู้ให้บริการด้านการศึกษาปฐมวัยและนักการศึกษาปฐมวัยจึงต้องเข้าใจและวางแผนการสอนให้เหมาะสมต่อวัฒนธรรมของครอบครัวเหล่านั้นดร. ทาดจ์ มิค มาฮิน
แม้ว่าการเข้าถึงการศึกษาปฐมวัยของเด็กชาวพื้นเมืองจะไม่ได้รวมอยู่ในรายงานนี้ แต่ถือว่าเป็นประเด็นที่ควรได้รับความสนใจเช่นกัน
งบประมาณของรัฐบาลกลางล่าสุดได้รวมโครงการต่างๆ ที่มุ่งเป้าไปยังชุมชนคนพื้นเมืองดั้งเดิม ซึ่งรวมถึงมีการจัดสรรงบประมาณจำนวน 29.1 ล้านดอลลาร์เพื่อปรับปรุงการศึกษาปฐมวัย
หัวหน้าผู้บริหารของกลุ่มระดับชาติเพื่อเด็กและครอบครัวชนพื้นเมือง หรือSNAICC แคทเธอรีน ลิดเดิ้ล กล่าวว่า เด็กและครอบครัวชนพื้นเมืองจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมในเรื่องการศึกษา
"มันเป็นสัญญาณที่ดีเกี่ยวกับงบประมาณในการสนับสนุนเด็กๆ นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ที่เราได้รับงบประมาณจำนวน 29.1 ล้านดอลลาร์ ที่ช่วยสนับสนุนหลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นทั้ง SNAICC และ NATSIAC (สภาแองกลิกันของชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส) และองค์กรระดับชาติต่างๆ ที่เป็นผู้นำในการกำหนดนโยบายสำหรับเด็ก”
“ เรายังคงต้องพยายามอย่างเต็มที่ และเราต้องวางแผนไปในทางเดี่ยวกัน เราจำเป็นต้องหายุทธวิธีที่ส่งเสริมให้เด็กได้เข้ารับการศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษามากขึ้น ซึ่งงบประมาณมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินการดังกล่าว"
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวที่น่าสนใจ
จ่ายเพิ่มอีก 100 ดอลลาร์ หากต้องการทำหนังสือเดินทางออสเตรเลียแบบเร่งด่วน