โปรดกดปุ่ม (▶) ด้านบน เพื่อรับฟังพอดคาสต์เป็นภาษาไทยเรื่อง “ทำงานได้แต่ไม่ให้อยู่?” (All Work, No Stay?) ซึ่งมีเนื้อหาน่าสนใจเพิ่มเติมขึ้นจากบทความต่อไปนี้
ต่อไปในอนาคต การย้ายถิ่นฐานชั่วคราวก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยสังเกตได้อย่างชัดเจนว่า มีความพยายามโดยรัฐบาลออสเตรเลีย ที่จะลดจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศอย่างถาวร และพยายามให้ผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวนั้นได้เป็นผู้อยู่อาศัยถาวรและท้ายที่สุดก็เป็นพลเมืองผู้ถือสัญชาตินั้นยากลำบากขึ้นเรื่อยๆ และก็เช่นเดียวกันในเรื่องของการที่จะเข้าใช้สิทธิต่างๆ เฉกเช่นประชากรชาวออสเตรเลียคนอื่นๆ
ในระหว่างปี 2016-17 รัฐบาลออสเตรเลียมีระดับการอพยพย้ายถิ่นฐานซึ่งต่ำกว่าที่ได้วางแผนไว้โดยไม่มีคำอธิบายใดๆ ทั้งๆ ที่ในช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ จำนวนที่ประกาศว่าจะรับเข้ามาในงบประมาณของสหพันธรัฐนั้นเกือบจะพอดิบพอดีกับจำนวนวีซ่าถาวรที่ออกให้ แต่ทว่าในช่วงปี 2016-17 จำนวนวีซ่านั้นลดลงต่ำกว่าเป้าเป็นจำนวน 6,400 ราย ซึ่งในระหว่างที่รายงานอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับโครงการอพยพย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลียปี 2017-18 ยังไม่ได้รับการเผยแพร่ รัฐบาลก็ได้ว่าความแตกต่างระหว่างระดับที่วางแผนไว้กับจำนวนวีซ่าที่ออกให้นั้นอยู่ที่ 28,000 ราย ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่ได้มีสาเหตุมาจากการมีผู้ขอเป็นจำนวนน้อย แต่ว่ามีผู้สมัครซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนรอคอยการประเมินอยู่เป็นจำนวนมาก และหลายๆ คนนั้นก็เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวที่อาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียอยู่แล้ว
โดยอ้างอิงจากรายงานต่างๆ ของสื่อมวลชน การลดต่ำลงดังกล่าวนั้นมีสาเหตุมาจากการคัดกรองผู้สมัครซึ่งเข้มงวดขึ้น แต่อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านการตรวจคนเข้าเมือง คุณอาบูล ริซวี ได้ปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าว โดยเขาว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเช่นนั้น ไม่น่าจะเกิดจากขั้นตอนใหม่ในด้านความมั่นคง แต่ว่าน่าจะเกิดจากการตัดสินใจจากเพียงฝ่ายเดียวของอดีตรัฐมนตรีมหาดไทย นายปีเตอร์ ดัตตัน ที่จะลดขนาดของโครงการลง โดยมีการยกคำพูดอย่างเป็นทางการมาสนับสนุนความคิดเห็นนี้: รัฐมนตรีของรัฐบาลได้ยกเลิกการอ้างอิงถึงตัวเลขผู้อพยพย้ายถิ่นฐานถาวรเป็นจำนวน 190,000 ราย ซึ่งประกาศไว้ในงบประมาณสหพันธรัฐว่าเป็น “เป้า” หรือ “ระดับที่วางแผนไว้” แต่ใช้คำว่า “เพดาน” แทน ซึ่งคุณริซวี ก็ว่าเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นการลดจำนวนการอพยพย้ายถิ่นฐานลงอย่างเงียบๆ
และเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลก็ได้ว่าจะทำให้อุปสรรคในการที่จะก้าวขึ้นไปเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานถาวรนั้นมีมากขึ้น โดยเพิ่มแต้มการทดสอบเพื่อการย้ายถิ่นฐานด้วยทักษะขึ้นจาก 60 แต้มเป็น 65 แต้ม
และในปี 2017 รัฐบาลสหพันธรัฐยังได้ทำให้การได้สัญชาติออสเตรเลียนั้นยากลำบากขึ้น โดยเพิ่มระยะเวลาที่ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานจำเป็นต้องอยู่อาศัยในออสเตรเลียในฐานะผู้อยู่อาศัยถาวรขึ้นสี่เท่าตัวก่อนที่จะสามารถยื่นขอสัญชาติได้ ซึ่งรัฐสภานั้นลงคะแนนเสียงไม่อนุมัติร่างกฎหมายดังกล่าว แต่รัฐบาลก็ได้พยายามที่จะผ่านร่างกฎหมายนี้อีกครั้ง และก็เป็นไปในแนวทางเดียวกันว่าการรอคอยสัญชาติในทางปฏิบัตินั้นก็จะกินเวลาไม่ต่างกันเท่าใดนัก ซึ่งอาจเนื่องมาจากว่ามี โดยมีจำนวนผู้รอคอยสัญชาติเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 210,000 รายแล้วเมื่อเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2018
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงเรื่องสัญชาติที่ถูกเสนอขึ้น รัฐบาลยังได้พยายามที่จะเพิ่มขีดวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษขึ้นอย่างมากอีกด้วย ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่ความพยายามดังกล่าวล้มเหลว แต่ดูแล้วมันก็อาจจะหวนกลับมาอีกรอบในรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป โดยรัฐมนตรีด้านสัญชาติและพหุวัฒนธรรม นายอลัน ทัดจ์ ได้เสนอแนวคิดว่าการผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานนั้นควรจะเป็นหนึ่งในข้อบังคับของการได้เป็นพลเมืองถาวรด้วย ซึ่งเรื่องนี้แม้ว่าอาจจะมีผลกระทบไม่มากนักต่อผู้ย้ายถิ่นฐานด้วยทักษะเพราะพวกเขานั้นจำเป็นจะต้องพูดภาษาอังกฤษได้ดีอยู่แล้วถ้าจะขอวีซ่าได้ แต่ข้อบังคับดังกล่าวก็อาจเป็นการกีดขวางคู่ครองของพวกเขา หรือคู่ครองของชาวออสเตรเลียในการที่จะย้ายถิ่นฐานเข้ามาจากต่างประเทศได้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลสหพันธรัฐได้เคลื่อนไหวถึงสองครั้งเพื่อระยะเวลาที่ผู้อยู่อาศัยถาวรรายใหม่นั้นจำเป็นต้องรอคอยก่อนที่จะสามารถเข้าใช้บริการความช่วยเหลือต่างๆ ของรัฐบาล อาทิเช่น เงินผลประโยชน์หากว่างงาน เงินสำหรับบิดามารดาเมื่อลาหยุดงานเพื่อดูแลบุตร และผลประโยชน์ทางภาษีสำหรับครอบครัว ซึ่งในการทบทวนงบประมาณช่วงกลางปีเมื่อปี 2017 ระยะเวลารอคอยดังกล่าวได้รับการเพิ่มขยายขึ้นจากสองปีเป็นสามปี และในปีงบประมาณ 2018 ก็ถูกเพิ่มขยายอีกครั้งจากสามปีเป็นสี่ปี ทั้งๆ ที่นั้นยังรอการอนุมัติจากรัฐสภา ก่อนที่จะถูกนำไปบังคับใช้ได้ และอีกกระบวนการหนึ่งที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมการก็คือข้อเสนอที่จะให้มีระยะเวลาการเป็นผู้อยู่อาศัยชั่วคราวระยะหนึ่งไปก่อน โดยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่รัฐบาลเรียกว่า “” ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวอาจยิ่งยืดระยะเวลาในการที่จะก้าวไปเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรหรือเป็นประชากรให้ยาวนานยิ่งขึ้นไปอีก และเป็นการยืดระยะเวลาที่ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานนั้นจำเป็นต้องรอคอยก่อนที่จะเข้าใช้บริการความช่วยเหลือต่างๆ ของรัฐบาล ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการอพยพย้ายถิ่นฐาน คุณแอนนา บูเชอร์ จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่า เรื่องนี้ อาจนำไปสู่ “ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศออสเตรเลีย จากประเทศซึ่งมีผู้มาตั้งรกรากเป็นการถาวร กลายเป็นประเทศซึ่งการย้ายถิ่นฐานมาอยู่ชั่วคราวนั้น เป็นสถานะภาพที่อยู่ๆ กันไป เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ”
All Work, No Stay? is a new data feature which investigates how evolving immigration policies are influencing Australia’s multicultural identity. Source: SBS
เรื่องดังกล่าวเป็นความขัดแย้งต่อรูปแบบพหุวัฒนธรรมอันมีสัญชาติเป็นพื้นฐาน ซึ่งได้เป็นรากฐานของความสำเร็จของออสเตรเลียในฐานะประเทศแห่งผู้อพยพย้ายถิ่นฐานมาเป็นเวลายาวนาน โดยที่ผ่านมานั้นมีการให้ความแน่นอนต่อผู้อพยพย้ายถิ่นฐานว่าจะมีโอกาสเป็นสมาชิกสังคมอย่างเต็มตัวและเท่าเทียมกัน โดยใช้ระยะเวลาไม่ยาวนานนักเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ซึ่งต่อไปนี้เรื่องนี้ก็จะผลักดันให้ประเทศออสเตรเลียนั้นไปคล้ายคลึงกับรูปแบบของการที่มีแขกรับเชิญเข้ามาทำงาน โดยมีผู้ที่อยู่ภายใต้รูปแบบนี้จำนวนหนึ่งเป็นผู้ย้ายถิ่นฐานแบบชั่วคราวตลอดไป ซึ่งก็จะถูกสับเปลี่ยนและทดแทนตัว ก่อนที่พวกเขาจะได้รับสิทธิ์ต่างๆ อันจะได้มาก็ต่อเมื่อเป็นสมาชิกทางการเมืองอย่างเต็มตัวกับชุมชนเท่านั้น
เรื่องนี้เป็นมากกว่าเรื่องสิทธิของคนทำงานและเรื่องการเอารัดเอาเปรียบ โดยที่เดิมพันของเรื่องนี้นั้นเป็นคำถามที่ยิ่งใหญ่มากกว่านั้น ว่าประเทศออสเตรเลียกำลังจะกลายเป็นประเทศในลักษณะใด นายกรัฐมนตรีมัลคอล์ม เทิรน์บูลล์ ได้ย้ำว่า ที่ว่าประเทศออสเตรเลียนั้น “เป็นประเทศพหุวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก” มีโอกาสที่จะถูกท้าทายได้ แต่ว่าโดยทั่วๆ แล้วก็ยังเป็นที่ยอมรับกันอยู่ว่า ความสำเร็จต่างๆ ของประเทศออสเตรเลียนั้น มาจากอัตราการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศที่สูงรวมกับระดับความปรองดองทางสังคมที่เทียบแล้วก็จัดว่าสูง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ส่วนหนึ่งเลยก็เนื่องจากประเด็นสำคัญคือหลักการที่จะให้ผู้คนนั้นมีส่วนร่วมได้อย่างเต็มตัว ตามที่นายกรัฐมนตรีมัลคอล์ม เฟรเซอร์ ได้เคยกล่าวไว้เมื่อปี 1981 ว่าพหุวัฒนธรรมนั้น “คือความเท่าเทียมกันในเรื่องของโอกาส ระหว่างสมาชิกจากทุกๆ กลุ่ม ในการที่จะมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากชีวิตในออสเตรเลียทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง” เพื่อตอบในเรื่องของ “ความเป็นจริงเกี่ยวกับความหลากหลายของออสเตรเลีย” เขายังกล่าวต่อว่า “เราไม่ได้สร้าง และจะไม่สร้าง สถานการณ์ที่มีชุมชนชาติพันธุ์ใดๆ ก็ตาม กลายเป็นกลุ่มที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกกีดกันว่าเป็นคนนอก ถูกแบ่งแยก ในประเทศของเรา”
แต่ทว่า นโยบายการอพยพย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลียนั้น กำลังเคลื่อนห่างออกจากรูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างเต็มตัวของช่วงศตวรรษที่ 20 ไปเป็นการจัดให้มีรูปแบบที่แขกรับเชิญนั้นเข้ามาทำงาน และมีระดับความชั่วครั้งชั่วคราวที่สูง ซึ่งผู้คนนั้นอาจไม่ถูก “เอารัดเอาเปรียบ กีดกันว่าเป็นคนนอก หรือแบ่งแยก” โดยมีสาเหตุหลักๆ มากจากพื้นเพทางชาติพันธุ์ของพวกเขาอย่างที่นายเฟรเซอร์เคยวิตกกังวล แต่ว่าจะเป็นผลมาจากสถานะภาพทางวีซ่าที่สูงค่าเลิศเลอ จนทำให้พวกเขานั้นไม่มั่นคงและเปราะบาง
ท่านสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มของเอสบีเอสเรื่อง “ทำงานได้แต่ไม่ให้อยู่?” (All Work, No Stay?) โดยปีเตอร์ แมส์ เป็นภาษาอังกฤษได้
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอสไทย
ปีเตอร์ ดัตตัน: ประวัติย่อของชายผู้ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรี (ภาษาไทย)